รางจืด

รางจืด

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 4,658

[16.5055083, 99.509574, รางจืด]

ชื่อวิทยาศาสตร์      THunbergia  lauriforia  Linn
ชื่อวงศ์                       THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่น ๆ                      กำลังช้างเผือก  ยาเขียว  เครือเถาเขียว  ขอบชะนาง  ดุเหว่า  ปังกะล่ะ  ย้ำแย้  หนามแน่

ลักษณะทั่วไป 
            เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ
           ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ
             ดอกรางจืด ลักษณะของดอกออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกมีสีม่วงอมฟ้า มีใบประดับสีเขียวประแดง มีกลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกเป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด และมักมีน้ำหวานบรรจุอยู่ภายในหลอด กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน
             ผลรางจืด ลักษณะเป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก
             สมุนไพรรางจืด “ราชาแห่งการถอนพิษ” เป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ให้เกษตรกรหรือบุคคลทั่วไปเลือกใช้เพื่อใช้แก้พิษต่าง ๆ เช่น พิษจากยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ สารตะกั่ว ฯลฯ ยิ่งเมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล การจะนำส่งแพทย์เพื่อรับการรักษาอาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน จนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่แถวบ้าน เราก็สามารถใช้ใบรางจืดที่ไม่แก่หรืออ่อนมากเกินไป หรือใช้รากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป ในขนาดปริมาณเท่านิ้วชี้มาใช้เพื่อรักษาบรรเทาอาการของพิษเฉพาะหน้าไปก่อน ก่อนที่จะนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยานั้นก็ได้แก่ ใบ ราก และเถาสด
              ในปัจจุบันผู้คนได้รับสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกายเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 45% โดยสารพิษเหล่านี้ร่างกายต่างก็ไม่ต้องการ เพราะเมื่อเกิดการสะสมเข้าไปในร่างกายในปริมาณมากและต่อเนื่อง ก็อาจจะทำให้เป็นโรคต่าง ๆ ขึ้นมาได้ในอนาคต อย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งแน่นอนว่าอัตราการเกิดโรคของคนในยุคปัจจุบันนี้ก็ได้เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ วัน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองด้วยแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง ซึ่งสมุนไพรรางจืดนี้อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณในการช่วยขับสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ในอนาคตนั่นเอง

สรรพคุณของรางจืด
              1. รากและเถาของรางจืดสามารถใช้รับประทานเป็นยาแก้ร้อนใน (ราก, เถา)
              2.  รางจืดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เถา)
              3. ใบและรากของรางจืดมีสรรพคุณใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ได้ (ใบ, ราก)
              4.  ใบรางจืดมีสรรพคุณใช้เป็นยาพอกบาดแผล (ใบ, ราก)
              5. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ, ราก)
              6. ว่านรางจืดมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ต่าง ๆ (ใบ, ราก)
              7. ช่วยทำลายพิษจากยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซึ่งจัดเป็นสารพิษที่ร้ายกาจที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ก็สามารถทำให้คนเสียชีวิตได้เลย เพราะสารพิษชนิดนี้จะไปทำให้เกิดการสร้างออกซิเจนที่ไม่เสถียรขึ้นมา ซึ่งออกซิเจนเหล่านี้จะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์และทำให้เซลล์ตาย โดยสารพิษพาราควอตนั้นจะอันตรายที่สุด เพราะจะไปทำให้เนื้อเยื่อในปอดถูกทำลายจนไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งจากรายงานของโรงพยาบาลศิริราชพบว่าผู้ที่ได้รับสารพิษพาราควอตจะเสียชีวิตทุกราย (อันตราการเสียชีวิตประมาณ 80%) ซึ่งแน่นอนว่ารางจืดสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ แต่ต้องรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ร่วมด้วย ส่วนงานศึกษาวิจัยของอาจารย์พาณี เตชะเสน และคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้น้ำคั้นจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่กินยาฆ่าแมลง “โฟลิดอล” พบว่ามันสามารถช่วยแก้พิษได้ โดยช่วยลดอัตราการตายลงเยอะมากจาก 56% เหลือเพียง 5% เท่านั้น และจากงานวิจัยของคุณสุชาสินี คงกระพันธ์ ที่ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดแห้งจากใบรางจืดป้อนให้หนูทดลองที่รับยาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตที่มีชื่อว่า “มาลาไธออน” พบว่ามันสามารถช่วยชีวิตหนูทดลองได้มากถึง 30% (ใบ, ราก)
                8. ช่วยแก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชที่เป็นพิษ เช่น แก้พิษจากแมงดาทะเล ปลาปักเป้า ซึ่งเป็นพิษที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยง่ายหากได้รับในปริมาณมาก ๆ โดยสารพิษที่ว่านี้คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสารแก้พิษนี้โดยเฉพาะ การรักษาต้องรักษาแบบประคับประคองอาการ แต่การใช้รางจืดเพื่อรักษาพบว่าเมื่อผ่านไปประมาณ 40 นาทีผู้ป่วยกลับมีอาการดีขึ้นจนน่าประหลาดใจ (ใบ, ราก)
                9. รางจืดช่วยต่อต้านพิษจากสารตะกั่วต่อสมอง ซึ่งสารตะกั่วนี้ก็มาจากมลพิษจากเครื่องยนต์ และแน่นอนว่าคนที่อาศัยอยู่ในเมืองจะมีโอกาสได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนทั่วไป โดยพิษจากสารตะกั่วนี้ก็มีผลต่อระบบภายในร่างกายหลายระบบด้วยกัน แต่ที่สำคัญเลยก็คือระบบสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ มีงานวิจัยระบุออกมาว่า แม้รางจืดจะไม่ได้ช่วยลดระดับของสารตะกั่วในเลือดของหนูทดลอง แต่มันก็สามารถช่วยลดพิษของสารตะกั่วต่อระบบความจำและการเรียนรู้ในหนูทดลองได้ สรุปก็คือมันทำให้เซลล์ประสาทตายน้อยลงนั่นเอง (ใบ, ราก)
                10. ช่วยถอนพิษจากยาเบื่อชนิดต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม (เช่น พิษจากผลไม้ที่ติดอยู่ในฝักที่รับประทาน เป็นต้น) รวมไปถึงพิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง ซึ่งจากการทดลองของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าถ้าหากใช้ผงจากรากรางจืดผสมกับน้ำยาสตริกนินก่อนป้อนให้หนูทดลอง ปรากฏว่าหนูทดลองไม่เป็นอะไร แสดงให้เห็นว่าผงจากรากรางจืดสามารถช่วยดูดซับสารพิษชนิดนี้ไว้ได้ (ใบ, ราก)
                11. ช่วยในการลดเลิกยาบ้า ซึ่งงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพบว่ารางจืดมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้าย ๆกับฤทธิ์ของสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีนและโคเคน ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนโดพามีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมามากในขณะที่ผู้ป่วยใช้สารแอมเฟตามีน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารสกัดจากรางจืดนั้นเกิดความพึงพอใจ เช่นเดียวกับการใช้สารเสพติด และหากนำไปใช้ในการรักษากับผู้ป่วยก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทุรนทุรายมากนัก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยลดและเลิกการใช้เสพติดได้ (ใบ,ราก)
                12. รางจืด แก้เมา สรรพคุณช่วยแก้อาการเมาค้าง แก้พิษจากแอลกอฮอล์ พิษจากการดื่มเหล้าในปริมาณมากเกินไป โดยคณะเภสัชศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยฤทธิ์ของรางจืดในการต่อต้านพิษจากแอลกอฮอล์ต่อตับ และพบว่าสารสกัดด้วยน้ำของรางจืดนั้นสามารถช่วยป้องกันการตายของเซลล์ตับซึ่งเกิดจากพิษของแอลกอฮอล์และช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ และมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ได้มีการศึกษาฤทธิ์ของรางจืดต่ออาการขาดเหล้า และพบว่าสารสกัดจากรางจืดช่วยทำให้ลดภาวะซึมเศร้า ทำให้พฤติกรรมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในหนูทดลองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และยังช่วยลดการถูกทำลายเซลล์ประสาทของหนูเนื่องจากการขาดเหล้าได้ แต่ไม่มีผลต่อการช่วยลดความวิตกกังวล (ใบ, ราก)
                 13. รางจืด เบาหวาน รางจืดช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมเบาหวานและความดันได้ จากงานศึกษาวิจัยของหมอชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ได้ทำการทดลองในหนูเบาหวานที่ได้รับน้ำต้มจากใบรางจืด ได้ผลว่ามันสามารถช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังช่วยทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ และพบว่าสารสกัดจากน้ำของใบรางจืดนั้นมีผลทำให้ความดันโลหิตของหนูลดลง และช่วยทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว (การใช้สมุนไพรรางจืดในการรักษาโรคเบาหวานและความดันนั้น ควรรักษาร่วมไปกับแผนปัจจุบัน รวมทั้งมีการวัดระดับน้ำตาลและระดับความดันอย่างใกล้ชิด เพราะการศึกษาวิจัยดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการทดลองกับสัตว์เท่านั้น รวมไปถึงต้องระวังการเกิดการเสริมฤทธิ์กันเองของตัวยาดังกล่าวด้วย)
                  14. รางจืดมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง โดยสารใด ๆ ก็ตามที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ศักยภาพสูงสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่สำหรับข้อดีของรางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านไม่ให้สารชนิดดังกล่าวออกฤทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากกวาวเครือ ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการแบ่งตัวและสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ขึ้น
                  15. สารสกัดน้ำจากใบรางจืดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
                  16. ช่วยต่อต้านและแก้อาการอักเสบต่าง ๆ เช่น อาการผดผื่นคัน แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด อีสุกอีใส โดยจากการศึกษาพบว่ารางจืดนั้นมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบสูงกว่ามังคุด ถึง 2 เท่า ! และยังมีความปลอดภัยสูงกว่าอีกด้วย นอกจากนี้สารสกัดจากรางจืดในรูปแบบครีมก็สามารถช่วยลดอาการอักเสบได้ดีเทียบเท่ากับครีมสเตียรอยด์ (ใบ, ราก)

ประโยชน์ของรางจืด
             1. สมุนไพรรางจืด สมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเราสามารถกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน ก็ทำได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บ้านได้อีกด้วย โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดในปริมาณติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้นต่อไปด้วย
             2. ชารางจืด ใบรางจืดสามารถนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ ส่วนรสชาติที่ได้ก็ดีไม่แพ้กับใบชาเลยที่เดียว แถมยังมีกลิ่นหอมอีก และยังช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
             3. ในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรรางจืดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แคปซูลรางจืดหรือรางจืดแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้ประโยชน์
             4. การปลูกรางจืดนอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพรแล้ว ก็ยังนิยมปลูกไว้เพื่อชมดอก แล้วก็ยังสามารถช่วยบังแสงแดดทำให้เกิดร่มเงาได้อีกด้วย (แต่อย่าลืมว่ารางจืดเป็นไม้เลื้อย เลื้อยแหลก เลื้อยจนรก เลื้อยแบบไร้การควบคุม)

ภาพโดย :  https://medthai.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B7%E0%B8%94/

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). รางจืด. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=113&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=113&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,362

กระทุ่ม

กระทุ่ม

ต้นกระทุ่มเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น เปลือกรากมีสีดำอ่อนๆ ใบกระทุ่มเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 7-17 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนหรือบางครั้งเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร มีหูใบรูปสามเหลี่ยม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 11,201

ฟักข้าว

ฟักข้าว

ฟักข้าว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อย อายุยิ่งมากเถายิ่งใหญ่ มีมือเกาะคล้ายกับตำลึง ชอบแสงแดด เลื้อยได้ทั้งบนพื้น บนต้นไม้ บนรั้ว บนหลังคา (ขอให้มีที่เกาะ) ใบเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ คล้ายกับใบโพธิ์ ความกว้างและความยาวของใบมีขนาดเท่ากัน ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ดอกจะออกตรงบริเวณข้อต่อระหว่างใบหรือตามซอกใบ โดยจะออกดอกข้อละหนึ่งดอก ลักษณะของดอกฟักข้าวจะคล้ายกับดอกตำลึง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,430

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ "เถาเพสลาก" เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,138

ผักเบี้ยหิน

ผักเบี้ยหิน

ลักษณะทั่วไป เป็นพืชล้มลุกลำต้นอวบน้ำ สีเขียวอมม่วง แตกกิ่งก้านโปร่งแผ่ราบไปตามพื้นดิน ตามลำต้นมีขนละเอียด  ใบเป็นใบเดียวออกจากลำต้นแบบตรงข้ามเป็นคู่ รูปร่างใบค่อนข้างกลม รูปไข่กลับปลายใบมนหรือหยักเว้าอีกใบหนึ่ง    ก้านใบยาว โคนก้าน ใบแผ่ออกเป็นกาบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ไม่มีก้านดอก ดอกมีสีขาว อมชมพูมี กลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบ ปลายกลีบดอกโค้งมนออกดอกตลอดปี ผลมีลักษณะเป็นฝักติดอยู่ตามซอกใบ ส่วนล่างของผักจะฝังจม อยู่ในง่ามใบภายในฝักมีเมล็ดสีดำรูปไตขนาดเล็กอยู่ภายใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 5,003

กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งตัวเมีย

ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,385

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,662

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,250

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,060

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,042