ผักกาดขาว

ผักกาดขาว

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 12,750

[16.4258401, 99.2157273, ผักกาดขาว]

ผักกาดขาว ชื่อสามัญ Chinese Cabbage
ผักกาดขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. cylindrica Tsen & S.H.Lee) (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica chinensis var. pekinensis (Lour.) V.G. Sun) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ผักกาดขาว มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดขาวปลี, แปะฉ่าย, แปะฉ่ายลุ้ย เป็นต้น
         สายพันธุ์ผักกาดขาวที่นิยมปลูกมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์เข้าปลียาว (ลักษณะสูง เป็นรูปไข่), พันธุ์เข้าปลีกลมแน่น (ลักษณะสั้น อ้วนกลม) และพันธุ์เข้าปลีหลวมหรือไม่ห่อปลี (ปลูกได้ทั่วไป เช่น ผักกาดขาวธรรมดา ผักกาดขาวใหญ่)
         คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว 100 กรัม มีน้ำ 91.7 กรัม, กรดอะมิโน, โปรตีน 0.6 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม, เส้นใย 0.8 กรัม, แคโรทีน 0.02 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม, วิตามินซี 30 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 49 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม, ธาตุโพแทสเซียม 196 มิลลิกรัม, ธาตุซิลิกอน 0.024 มิลลิกรัม, ธาตุแมงกานีส 1.26 มิลลิกรัม, ธาตุทองแดง 0.21 มิลลิกรัม, ธาตุสังกะสี 3.21 มิลลิกรัม, ธาตุโมลิบดีนัม 0.125 มิลลิกรัม, ธาตุโบรอน 2.07 มิลลิกรัม, กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มิลลิกรัม
         ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นใยสูงมาก โดยเส้นใยที่ว่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งการอุ้มน้ำได้ดีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้กากอาหารอ่อนนุ่ม ขับถ่ายสะดวก และยังช่วยแก้อาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้ไม่ถูกย่อยได้ง่าย ช่วยดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุ จึงช่วยป้องกันและกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยดึงเอาสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความหมักหมมของลำไส้ จึงมีผลทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี
         สำหรับสรรพคุณช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้นั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบขนาดของเส้นใยอาหารที่ต้องรับประทานอย่างแน่นอน แต่ในสหรัฐฯ ได้กำหนดให้เพศชายวัยสูงอายุ ควรบริโภคเส้นใยอาหารประมาณ 18 กรัมต่อวัน และสำหรับวัยหนุ่มสาวควรรับประทาน 20-25 กรัมต่อวัน และการรับประทานที่มากกว่าปริมาณที่กำหนดก็ไม่ได้ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใด แต่จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีมากขึ้น อย่างเช่นในเรื่องของการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก เป็นต้น

สรรพคุณของผักกาดขาว
1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
2. มีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
3. ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
4. ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
5. ช่วยแก้กระหาย
6. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
7. แคลเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง
8. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด
9. ช่วยขับน้ำนม (ใบ)
10. ผักกาดขาวมีออร์กาโนซัลไฟด์ (Organosulffide) และฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ
11. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้
12. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
13. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน
14. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
15. มีส่วนช่วยกำจัดสารพิษ ของเสีย และโลหะหนักออกจากร่างกาย
16. ผักกาดอุดมไปด้วยโฟเลตซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
17. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงมากขึ้น
18. ช่วยแก้หืด (เมล็ด)
19. ช่วยแก้อาการหวัด ด้วยการต้มหัวผักกาดดื่มเป็นน้ำ
20. ช่วยแก้อาการไอและเสมหะ ด้วยการใช้หัวผักกาดพอประมาณ ใส่ขิงและน้ำผึ้งเล็กน้อยแล้วต้มกับน้ำดื่ม (หัวผักกาด, เมล็ด)
21. ช่วยแก้อาการเสียงแห้ง ไม่มีเสียง ด้วยการคั้นน้ำหัวผักกาดขาว เติมน้ำขิงเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม
22. ช่วยแก้เลือดกำเดาออก
23. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด
24. ช่วยรักษาแผลในปาก ด้วยการคั้นน้ำจากหัวผักกาดขาวแล้วนำมาใช้บ้วนปากเป็นประจำ
25. ช่วยแก้อาการเรอเปรี้ยว ด้วยการนำหัวผักกาดขาวดิบมาหั่นประมาณ 3-4 แว่นแล้วนำมาเคี้ยวกินแก้อาการ
26. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ใบ)
27. ช่วยในการย่อยอาหาร (หัวผักกาด, ใบ)
28. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
29. ช่วยแก้ท้องเสีย (หัวผักกาด, เมล็ด, ใบ)
30. ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
31. ช่วยขับปัสสาวะ
32. ช่วยแก้พิษสุรา
33. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
34. ช่วยรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
35. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเหน็บชา
36. ช่วยแก้อาการอักเสบ
37. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือแผลโดนสะเก็ดไฟ ด้วยการใช้หัวผักกาดนำมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้เมล็ดนำมาตำให้แหลกแล้ว
      พอกก็ใช้ได้เช่นกัน (หัวผักกาด, เมล็ด)
38. ช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้หัวผักกาดหรือใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 60 กรัมนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาคลุก
      กับเหล้า (อุ่นให้ร้อน) แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (หัวผักกาด, ใบ, เมล็ด)

ประโยชน์ของผักกาดขาว
       ใช้ประกอบอาหาร เมนูผักกาดขาว ได้แก่ ผัดผักกาดขาว, แกงจืดผักกาดขาว, ต้มจืดผักกาดขาวยัดไส้ ฯลฯ

คำแนะนำในการรับประทานผักกาดขาว
       1. สำหรับผู้ที่มีอาการม้ามพร่อง คือ มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้องเป็นประจำ อาหารไม่ค่อยย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ ไม่ควรรับประทานผักกาดขาวในปริมาณมากเกินไป แต่ถ้าเป็นแค่ชั่วคราวก็ไม่เป็นอะไร
       2. สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์หรือของมันแนะนำให้รับประทานหัวผักกาดสักเล็กน้อย เพราะหัวผักกาดขาวมีน้ำมันมัสตาร์ด (Mustard oil) ซึ่งมีรสเผ็ด เมื่อรวมกับเอนไซม์ในหัวผักกาดจึงมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้ให้เคลื่อนไหว จึงช่วยทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้นและยังช่วยย่อยได้อีกด้วย
       3. การรับประทานหัวผักกาดขาวดิบจะมีประโยชน์มากกว่ารับประทานแบบปรุงสุกหรือผ่านความร้อน เนื่องจากวิตามินซีและเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ในหัวผักกาดขาวจะไม่ทนต่อความร้อนมากนัก และจะถูกทำลายที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส
       4. สำหรับการรับประทานผักกาดขาว ในการเลือกซื้อผักกาดขาวควรระวังในเรื่องของสารปนเปื้อนหรือยาฆ่าแมลงให้ดี เพราะการรับประทานเข้าไปในปริมาณมากอาจจะไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก ชัก และหมดสติได้

คำสำคัญ : ผักกาดขาว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกาดขาว. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1666&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1666&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว หรือต้นมะระหวาน จัดเป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นฟักแม้วมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีความยาวประมาณ 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มีมือเกาะเจริญที่ข้อ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,868

เพกา

เพกา

ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,712

ลำดวน

ลำดวน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางแตกกิ่งก้านสาขาตามข้อต้นลำต้น  เรียบเกลี้ยงไม่มีขน สูงประมาณ 3 – 8 เมตร  ใบเป็นไม้ใบเดียว ออกเรียงสลับกันไปตามลำดับต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี หรือรูปแหลม โคนใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเกลี้ยง ด้านบนเป็นมันสีเขียวข้น ส่วนด้านล่างนั่นมีสีอ่อนกว่า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว ดอกเป็นไม้ดอกเดี่ยว ออกตามส่วนยอดและตามง่ามใบ ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แต่กลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่า ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกกว้างก้านดอกยาว 1 นิ้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,723

เขยตาย

เขยตาย

เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,606

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,283

พันงูน้อย

พันงูน้อย

พันงูน้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีรากอยู่ใต้ดินยาวเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะคล้ายกับหญ้าพันงูขาว แต่ก้านค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมและมีสีน้ำตาลเหลือง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้าง ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-10 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 5-20 มิลลิเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,644

จอก

จอก

ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,504

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,196

ต้นแดง

ต้นแดง

ต้นแดง (Iron wood) หรือที่รู้จักกันว่า ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ แดง จะลาน จาลาน ตะกร้อม ผ้าน คว้าย ไคว เพร่ เพ้ย เป็นต้น จัดเป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับกระถิน ชะเอมไทย สะตอ ไมยราบ ฯลฯ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,794

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,503