รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้ชม 2,252

[1616.4266, 98.9354386, รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์]

          นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นบุตรของนายตงเหลียน แซ่ลี้กับนางซุ้ย สุขสกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2501 ณ บ้านเลขที่ 25/33 หมู่ 4 ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 7 คน เป็นผู้ชาย 2 คน และเป็นผู้หญิง 5 คน 
          ชีวิตในวัยเด็กของเด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เจริญเติบโตขึ้นในสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้ของครอบครัว ได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนในท้องถิ่น คือ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ขณะพอเริ่มจำความได้เด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ก็ได้คุ้นเคยกับบ้านเรือนไทยที่ทำด้วยไม้ทั้งหลังที่ตั้งบอยู่ทั่วไปในชุมชน เกิดความรู้สึกพอใจในเอกลักษณ์และสถาปัตยกรรมแบบไทยพื้นบ้าน เมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดปรกสุธรรมาราม ก็ได้พบเห็นงานใบตอง ของครูสุวรรณี คล้ายประยงค์ เกิดความประทับใจในความสวยงามอย่างยิ่ง 
         จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 ได้เรียนงานใบตองกับอาจารย์เยื้อง ภูมิทัต เมื่อได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานใบตองแล้วก็ได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ประสบความสำเร็จด้านงานใบตอง จนได้รับรางวัลโล่พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการประกวดกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยใบตองหลายครั้ง 
         ในขณะที่เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษา ได้มีโอกาสเห็นการทำลายไทย ลายฉลุไม้ ลายฉลุกระดาษ และเห็นการใช้ขี้เลื่อยขึ้นรูปพานพุ่มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แปลกมหัศจรรย์ จึงมีความใฝ่ฝันที่จะฝึกหัดทำให้ได้ ความใฝ่ฝันนี้สะสมกับตัวมาโดยตลอด 
         จนในปัจจุบันนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ได้ฝึกฝนจนสามารถทำได้ และยังคิดใช้วัสดุอื่น ๆ ทดแทนขี้เลื่อยได้อีกหลายแบบ หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสพบจ่าทหารเรือ ชื่ออำนวย น้อยสกุล ซึ่งชำนาญในการทำขนมไทย เด็กชายรุ่งธรรมได้ลิ้มรสขนมทองหยิบทองหยอดรสมือของจ่าอำนวย น้อยสกุล รู้สึกพึงพอใจและประทับใจในรสชาติของขนมไทยมาก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องหัดทำขนม และได้ฝึกฝนจนกระทั่งในปัจจุบันนี้สามารถทำขนมไทยจำหน่ายในเทศกาลประจำปี และยังได้คิดประดิษฐ์ขนมไทยจำลองโดยประดิษฐ์จากแป้งข้าวเหนียวเป็นชุดเล็ก ๆ เพื่อใช้เป็นของชำร่วยที่สวยงามมีคุณค่าในงานศิลปะและการอนุรักษ์อีกด้วย 
        เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว เด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ก็ได้เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย การเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้นี่เองที่ทำให้ได้รับการถ่ายทอดวิชาศิลปะประดิษฐ์ จากอาจารย์ธนู ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการประดิษฐ์งานศิลปะจากวัสดุพื้นเมืองที่หาง่าย และนำมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและพิถีพิถัน ทำให้งานศิลปะประดิษฐ์มีความงดงามเป็นที่ประทับใจ 
        จนในปี พ.ศ. 2520 ระหว่างเป็นนักศึกษา นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้เข้าแข่งขันประดิษฐ์งานศิลปะ ในงานแข่งขันทักษะภาคเหนือ ณ จังหวัดพิจิตร และได้รับรางวัลชนะเลิศ ต่อจากนั้นได้หมั่นเรียนรู้และฝึกฝนมาโดยตลอด จนประสบความสำเร็จเช่นในปัจจุบัน เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัยแล้ว ก็เข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ณ วิทยาลัยชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กรุงเทพมหานคร โดยเลือกศึกษาในสาขาออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี และได้ศึกษาอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2523 

งาน ภูมิปัญญา ความสำเร็จ 
         หลังจากนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแล้ว นายรุ่งธรรมเริ่มสนใจประกอบอาชีพครู จึงได้ศึกษาต่อจนสำเร็จชั้นประกาศนียบัตรฝึกหัดครูมัธยม (ป.ม.) และยังคงให้ความสนใจในสาขาออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี เช่นเดิม จนเมื่อเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู ประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2525 นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยครูกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาสาขา ครุศาสตร์บัณฑิต ในปี พ.ศ. 2528 ด้วยความอุตสาหะในการใฝ่หาความรู้ 

รางวัลแห่งเกียรติยศ 
          นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลเป็นประกาศนียบัตรรับรองเกียรติคุณมาแล้ว ดังนี้ 
           - รางวัลอาชีวศึกษาครบวงจรดีเด่น กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ.2528 
           - รางวัลวงจรทอง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2529 
           - ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) พ.ศ. 2530 
           - รางวัลเสมาทอง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2530 
           - ได้รับเลือกให้เป็นครูตัวอย่าง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2531 
           - ได้รับเลือกเป็นครูดีเด่นของคุรุสภา อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2532 
           - ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) พ.ศ. 2533 
           - ได้รับเลือกเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2534 
           - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร พระราชทานโล่ผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียนมัธยมในพระราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2534 
           - ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 3 ปี พ.ศ. 2535 
           - ได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นประเภทอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2536 
           - คุรุสภามอบเกียรติบัตรยกย่อง ชมเชยว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานดีเด่นจากนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2537 
           - ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) พ.ศ. 2538 
           - ได้รับเลือกเป็นครูดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2538 
           - คุรุสภามอบเกียรติบัตรยกย่องชมเชยว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่นจากนายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2539 
           - ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 ปี พ.ศ. 2539 
           - ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นบุคคลที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมจากสมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2541 
           - ได้รับประกาศเกียรติบัตรฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์จาก FESPIC ปี พ.ศ. 2542 
           - ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี พ.ศ. 2542 จากศูนย์จริยศึกษา สธ. 
           - ได้รับโล่เกียรติคุณพระราชทานกรณีพิเศษ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี พ.ศ. 2542 
           - ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2542 
           - ได้รับโล่เกียรติคุณการจัดกิจกรรมศิลปหัตถกรรมสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ปี พ.ศ. 2542 จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 
           - ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคุรุสภา ผู้มีจรรยามารยาทและผลการปฏิบัติงานดีเด่น ปี พ.ศ. 2543 ของสำนักงานคณะกรรมการคุรุสภาจังหวัดกำแพงเพชร 
           - ได้รับเลือกเป็น ข้าราชการตัวอย่าง ของกระทรวงศึกษาธิการ จากนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2542 

ผลงานสำคัญ 
          ผลงานของนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ จำแนกตามวัสดุและลักษณะวิธีประดิษฐ์ได้เป็น 10 ประเภท และงานทุกประเภทเหล่านี้ นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นผู้รู้จริงปฏิบัติได้จริงและสมบูรณ์ด้วยคุณภาพ นายรุ่งธรรม มีความรู้ความสามารถและทักษะในงานศิลปะสาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 
             1. งานดอกไม้สด 
             2. งานแกะสลักผัก ผลไม้และหยวกกล้วย 
             3. เครื่องแขวนไทย 
            4. ของชำร่วย ของที่ระลึก 
            5. งานปิดทอง เครื่องประดับต่าง ๆ 
            6. เครื่องหอมไทย 
            7. งานใบตอง 
            8. งานออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า 
            9. งานศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทย 
            10. งานจัดสวนและตกแต่งภูมิทัศน์ 

          ผลงานจากความรู้ ทักษะและความสามารถของนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ได้เผยแพร่และปรากฏต่อสังคมในโอกาสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 
            1. งานรัฐพิธี พระราชพิธี และบุคคลสำคัญของชาติ 
            2. งานเผยแพร่งานวิชาการและการประกวดผลงานด้านศิลปะ

ภาพโดย : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/rungtam_per.htm

คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ

ที่มา : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/rungtam_per.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์. สืบค้น 19 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=623&code_db=DB0016&code_type=0014

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=623&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 2,453

เชียง แซ่แต้

นายเชียง แซ่แต้  มีภูมิกำเนิดที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2454  เป็นบุตรของนายจุง นางฮวย แซ่แต้ บิดามารดาเป็นคนจีนอพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นายเซียงจึงเป็นผู้มีเชื้อสายจีนแต่สัญชาติไทยด้วยถือกำเนิดในประเทศไทย   ขณะเมื่ออายุได้ไม่ถึงขวบ ต้องอพยพไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งหนึ่งและดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลา 8 ปี และเมื่อจำความได้ ได้พบเห็นการดำรงชีวิตที่ยากจนและเป็นทุกข์ของชาวจีน ครอบครัวของเด็กชายเซียง แซ่แต้ ก็ไม่อาจทดความทุกข์ยากในประเทศจีนได้จึงต้องพากันอพยพมาประเทศไทย ต่อมาไม่นานบิดาของเด็กชายเซียงก็เสียชีวิต เด็กชายเซียงจึงอยู่ในความดูแลของนางฮวยผู้เป็นมารดาและพี่น้องอีกแปดคน 

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,757

บุญมี บานเย็น

บุญมี บานเย็น

สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,274

เชิด นุ่มพรม

เชิด นุ่มพรม

นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 753

กชกร ด้วงเงิน

กชกร ด้วงเงิน

ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,444

พระวิเชียรโมลี

พระวิเชียรโมลี

"พระวิเชียรโมลี" อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณ ที่ชาวเมืองกำแพงเพชร ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ได้รับอาราธนาเข้าร่วมในพิธีปลุกเสก พระกริ่งชนะสงคราม ที่รัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ทหารหาญ นับว่าเป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณที่มีชื่อเสียงมากรูปหนึ่งในสมัยนั้น สมัยสงครามอินโดจีน ท่านยังได้ทำเสื้อยันต์แดง แจกทหารผู้ไปราชการสงคราม ทำให้มีผู้เลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก เนื่องจากประจักษ์ในวิทยาคม จนได้รับอาราธนาให้นั่งเครื่องบินเพื่อหว่านทรายเสกให้ประชาชนและทหารรอดพ้นจากอันตรายจากภัยสงคราม     

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 13,005

ขุนอินทรเสนา

ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,816

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

สถานะเดิม ชื่อ วีระ นามสกุล ภูมิเมือง เกิด ๒ ฯ๑ ๘ ปีกุน วันที่ ๖ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ นามบิดา นายทวี ภูมิเมือง นามมารดา นางบาง ภูมิเมือง บ้านเลขที่ ๖๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อุปสมบท วัน ๗ ฯ ๕ ปีกุน วันที่ ๒๒ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ณ พัทธสีมา วัดสุวรรณาราม ตำบลวังควง อำเภอพราน กระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  นามพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการประสิทธิ์ เตชวโร (ปัจจุบัน พระครูวชิรวราภรณ์ เจ้าคณะอำเภอ ลานกระบือ) วัดราษฎร์บูรณะ ตำบลวังตะแบก อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 2,192

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม) เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้น หกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง(พระเจ้าหงสาวดี) ได้สามิภักดิ์ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับพระยารามและพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภียพิริยะพาหะ(นุช)

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 701

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

 นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์  เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร มีผลงานทางด้านศิลปะประดิษฐ์มากมาย เป็นผู้นิยมความเป็นไทย และรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยตลอดมา ผู้ริเร่ิมก่อตั้งศูนย์บริรักษ์ไทยวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รวบรวมผลงานศิลปะประดิษฐ์ที่นักศึกษาจัดทำขึ้นไว้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์บ่มเพาะงานศิลปะประดิษฐ์ ประณีตศิลป์ มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะหัตถศิลป์มากกว่าหนึ่งพันชิ้น ศูนย์บริรักษ์ไทยจัดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาจนถึงปัจจุบัน และจะยังดำเนินการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 2,252