รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้ชม 1,745

[1616.4266, 98.9354386, รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์]

          นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นบุตรของนายตงเหลียน แซ่ลี้กับนางซุ้ย สุขสกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2501 ณ บ้านเลขที่ 25/33 หมู่ 4 ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 7 คน เป็นผู้ชาย 2 คน และเป็นผู้หญิง 5 คน 
          ชีวิตในวัยเด็กของเด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เจริญเติบโตขึ้นในสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้ของครอบครัว ได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนในท้องถิ่น คือ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ขณะพอเริ่มจำความได้เด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ก็ได้คุ้นเคยกับบ้านเรือนไทยที่ทำด้วยไม้ทั้งหลังที่ตั้งบอยู่ทั่วไปในชุมชน เกิดความรู้สึกพอใจในเอกลักษณ์และสถาปัตยกรรมแบบไทยพื้นบ้าน เมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดปรกสุธรรมาราม ก็ได้พบเห็นงานใบตอง ของครูสุวรรณี คล้ายประยงค์ เกิดความประทับใจในความสวยงามอย่างยิ่ง 
         จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 ได้เรียนงานใบตองกับอาจารย์เยื้อง ภูมิทัต เมื่อได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานใบตองแล้วก็ได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ประสบความสำเร็จด้านงานใบตอง จนได้รับรางวัลโล่พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการประกวดกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยใบตองหลายครั้ง 
         ในขณะที่เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษา ได้มีโอกาสเห็นการทำลายไทย ลายฉลุไม้ ลายฉลุกระดาษ และเห็นการใช้ขี้เลื่อยขึ้นรูปพานพุ่มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แปลกมหัศจรรย์ จึงมีความใฝ่ฝันที่จะฝึกหัดทำให้ได้ ความใฝ่ฝันนี้สะสมกับตัวมาโดยตลอด 
         จนในปัจจุบันนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ได้ฝึกฝนจนสามารถทำได้ และยังคิดใช้วัสดุอื่น ๆ ทดแทนขี้เลื่อยได้อีกหลายแบบ หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสพบจ่าทหารเรือ ชื่ออำนวย น้อยสกุล ซึ่งชำนาญในการทำขนมไทย เด็กชายรุ่งธรรมได้ลิ้มรสขนมทองหยิบทองหยอดรสมือของจ่าอำนวย น้อยสกุล รู้สึกพึงพอใจและประทับใจในรสชาติของขนมไทยมาก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องหัดทำขนม และได้ฝึกฝนจนกระทั่งในปัจจุบันนี้สามารถทำขนมไทยจำหน่ายในเทศกาลประจำปี และยังได้คิดประดิษฐ์ขนมไทยจำลองโดยประดิษฐ์จากแป้งข้าวเหนียวเป็นชุดเล็ก ๆ เพื่อใช้เป็นของชำร่วยที่สวยงามมีคุณค่าในงานศิลปะและการอนุรักษ์อีกด้วย 
        เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว เด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ก็ได้เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย การเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้นี่เองที่ทำให้ได้รับการถ่ายทอดวิชาศิลปะประดิษฐ์ จากอาจารย์ธนู ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการประดิษฐ์งานศิลปะจากวัสดุพื้นเมืองที่หาง่าย และนำมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและพิถีพิถัน ทำให้งานศิลปะประดิษฐ์มีความงดงามเป็นที่ประทับใจ 
        จนในปี พ.ศ. 2520 ระหว่างเป็นนักศึกษา นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้เข้าแข่งขันประดิษฐ์งานศิลปะ ในงานแข่งขันทักษะภาคเหนือ ณ จังหวัดพิจิตร และได้รับรางวัลชนะเลิศ ต่อจากนั้นได้หมั่นเรียนรู้และฝึกฝนมาโดยตลอด จนประสบความสำเร็จเช่นในปัจจุบัน เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัยแล้ว ก็เข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ณ วิทยาลัยชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กรุงเทพมหานคร โดยเลือกศึกษาในสาขาออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี และได้ศึกษาอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2523 

งาน ภูมิปัญญา ความสำเร็จ 
         หลังจากนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแล้ว นายรุ่งธรรมเริ่มสนใจประกอบอาชีพครู จึงได้ศึกษาต่อจนสำเร็จชั้นประกาศนียบัตรฝึกหัดครูมัธยม (ป.ม.) และยังคงให้ความสนใจในสาขาออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี เช่นเดิม จนเมื่อเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู ประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2525 นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยครูกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาสาขา ครุศาสตร์บัณฑิต ในปี พ.ศ. 2528 ด้วยความอุตสาหะในการใฝ่หาความรู้ 

รางวัลแห่งเกียรติยศ 
          นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลเป็นประกาศนียบัตรรับรองเกียรติคุณมาแล้ว ดังนี้ 
           - รางวัลอาชีวศึกษาครบวงจรดีเด่น กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ.2528 
           - รางวัลวงจรทอง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2529 
           - ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) พ.ศ. 2530 
           - รางวัลเสมาทอง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2530 
           - ได้รับเลือกให้เป็นครูตัวอย่าง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2531 
           - ได้รับเลือกเป็นครูดีเด่นของคุรุสภา อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2532 
           - ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) พ.ศ. 2533 
           - ได้รับเลือกเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2534 
           - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร พระราชทานโล่ผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียนมัธยมในพระราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2534 
           - ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 3 ปี พ.ศ. 2535 
           - ได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นประเภทอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2536 
           - คุรุสภามอบเกียรติบัตรยกย่อง ชมเชยว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานดีเด่นจากนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2537 
           - ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) พ.ศ. 2538 
           - ได้รับเลือกเป็นครูดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2538 
           - คุรุสภามอบเกียรติบัตรยกย่องชมเชยว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่นจากนายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2539 
           - ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 ปี พ.ศ. 2539 
           - ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นบุคคลที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมจากสมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2541 
           - ได้รับประกาศเกียรติบัตรฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์จาก FESPIC ปี พ.ศ. 2542 
           - ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี พ.ศ. 2542 จากศูนย์จริยศึกษา สธ. 
           - ได้รับโล่เกียรติคุณพระราชทานกรณีพิเศษ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี พ.ศ. 2542 
           - ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2542 
           - ได้รับโล่เกียรติคุณการจัดกิจกรรมศิลปหัตถกรรมสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ปี พ.ศ. 2542 จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 
           - ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคุรุสภา ผู้มีจรรยามารยาทและผลการปฏิบัติงานดีเด่น ปี พ.ศ. 2543 ของสำนักงานคณะกรรมการคุรุสภาจังหวัดกำแพงเพชร 
           - ได้รับเลือกเป็น ข้าราชการตัวอย่าง ของกระทรวงศึกษาธิการ จากนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2542 

ผลงานสำคัญ 
          ผลงานของนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ จำแนกตามวัสดุและลักษณะวิธีประดิษฐ์ได้เป็น 10 ประเภท และงานทุกประเภทเหล่านี้ นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นผู้รู้จริงปฏิบัติได้จริงและสมบูรณ์ด้วยคุณภาพ นายรุ่งธรรม มีความรู้ความสามารถและทักษะในงานศิลปะสาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 
             1. งานดอกไม้สด 
             2. งานแกะสลักผัก ผลไม้และหยวกกล้วย 
             3. เครื่องแขวนไทย 
            4. ของชำร่วย ของที่ระลึก 
            5. งานปิดทอง เครื่องประดับต่าง ๆ 
            6. เครื่องหอมไทย 
            7. งานใบตอง 
            8. งานออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า 
            9. งานศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทย 
            10. งานจัดสวนและตกแต่งภูมิทัศน์ 

          ผลงานจากความรู้ ทักษะและความสามารถของนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ได้เผยแพร่และปรากฏต่อสังคมในโอกาสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 
            1. งานรัฐพิธี พระราชพิธี และบุคคลสำคัญของชาติ 
            2. งานเผยแพร่งานวิชาการและการประกวดผลงานด้านศิลปะ

ภาพโดย : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/rungtam_per.htm

คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ

ที่มา : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/rungtam_per.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=623&code_db=610003&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=623&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

เชิด นุ่มพรม

เชิด นุ่มพรม

นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 537

ประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์

นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เป็นบุตรของนายสีและนางอินทร์ ศรีสุวพันธุ์ มีกำเนิดเมื่อวันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2470 ณ บ้านเลขที่ 5 ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคือตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเจริญวัยขึ้นมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดเนื่องจากน้าชายอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดท่าหมัน จึงเข้าไปรับใช้เป็นลูกศิษย์ของหลวงหน้าเป็นพระภิกษุที่เข้มงวด เป็นผู้อบรมสั่งสอนหนังสือ นับได้ว่าเป็นการศึกษาก่อนถึงวัยเกณฑ์การศึกษาจริง ขณะที่ศึกษาระดับประถมศึกษมาที่โรงเรียนวัดท่าหมัน ก็ยัคงเป็นลูกศิษย์วัดอยู่ด้วย  เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ที่โรงเรียนวัชรราชฏร์วิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ได้ศึกษาต่อและได้สมัครรับราชการครู ได้ดำรงตำแหน่ง ครูประชาบาลโรงเรียนบ้านหนองปลิงในปีพุทธศักราช 2493 ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา นายประเสริฐก็ได้สมัครสอบชุดครูมล และสามารถสอบได้ 3 ชุดในคราวเดียวกัน เป็นที่สนใจและยอมรับของวงการครู ตำแหน่งที่สูงขึ้น คือเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งสวน และก็ทำหน้าที่ครูผู้สอนไปด้วย หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชาได้ขอให้โอน ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 887

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 1,034

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

"ดอกผลของธุรกิจช่วยพัฒนาสังคม" อดีตรับข้าราชการตำแหน่งพนักงานขับรถของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจเฉาก๊วยชากังราว เป็นสินค้าผ่านการคัดสรรค์ OTOP กำแพงเพชร เป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี ซื่อสัตย์ในอาชีพ ยึดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง เรียบง่าย ช่วยเหลือผู้ยากไร้ สร้างวัด ด้วยเงินกว่า 30 ล้านบาท ล่าสุดบริจาคเงินซื้อเครื่องส่องสว่างในการผ่าตัด เครื่องช่วยหายใจ บริจาคเงินสร้างวัดไทยในประเทศเยอรมัน

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 3,039

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,967

บุญมี บานเย็น

บุญมี บานเย็น

สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,075

หลวงพ่อทำนอง

หลวงพ่อทำนอง

ร้อยเอกทำนอง โยธินธนสมบัติ เป็นบุตรนายผ่าน-นางทองสุข ปัสสา เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2467 ที่จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 13 คน สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวิชัยบำรุงราษฏร์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท จากนั้นได้ประกอบอาชีพครู ต่อมาได้รับราชการทหาร และใน พ.ศ.2525 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุประจำอยู่ที่วัดศรีโยธินจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 829

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท เจ้าอาวาสวัดหนองปลิง ท่านมีจิตตั้งมั่น ต้องต่อสู้กับนานาอุปสรรคกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างวัดหนองปลิงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ถูกหลอกขายที่ดินสร้างวัด ๒๑ ไร่ด้วยโฉนดปลอม จนต้องขอให้จังหวัดช่วยจึงออกโฉนดได้ ท่านยังถูกลอบยิง ๒ ครั้งและเป็นคดีความบ่อยๆ แต่ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปได้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,320

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นันทโน) เจ้าคณะตำบลคลองแม่ลาย (ธรรมยุติ) และเจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ส่ิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 4,407

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,953