เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้ชม 3,212

[16.4765142, 99.5057206, เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์]

ประวัติความเป็นมา 
            ด้วยระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี คุณเสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์ ผู้เป็นต้นกำเนิดเฉาก๊วยชากังราว แห่งเมืองกำแพงเพชร ได้สร้างชื่อเสียงเฉาก๊วยจนประสบความสำเร็จ โดยมีตัวแทนจัดจำหน่ายไปทั่วประเทศ รวมทั้งยังเป็นที่ยอมรับมากกว่าเฉาก๊วยรายอื่นๆ ในปัจจุบันด้วยจุดเด่นสำคัญคือการสร้างแบรนด์ อย่างเป็นระบบทั้งยังอาศัยการลงแรงมากกว่าการลงทุน
            อดีตคุณเสริมวุฒิ คือเจ้าหน้าที่ขับรถยนต์ของสำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) กำแพงเพชร ซึ่งทำให้มีโอกาสเดินทางไปยังที่ต่างๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้คุณเสริมวุฒิได้มีโอกาสเห็นสินค้าต่างๆ มากมายและเกิดความคิดที่จะซื้อสินค้าติดไม้ติดมือเพื่อนำมาจำหน่ายหารายได้จุนเจือครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการขายเฟอร์นิเจอร์ ขายบ้านเรือนเก่า เรียกว่าอะไรที่ทำได้ ทำแล้วไม่ผิดกฎหมาย จะทำทุกอย่าง จนสามารถเก็บหอมรอบริบได้เงินก้อนหนึ่งมาลงทุนเปิดร้านอาหารเล็กๆตามกำลังทรัพย์ที่มีด้วยความสามารถทางด้านการทำกับข้าวซึ่งเป็นทั้งพรสวรรค์และพรแสวงทำให้ร้านเล็กๆแห่งนี้มีลูกค้าประจำมากพอสมควร ทว่าด้วยงานประจำที่เป็นคนขับรถทำให้ไม่มีเวลาดูแลร้านด้วยตนเองประกอบกับปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งแม้ว่าจะขายดีมาก แต่ก็เหนื่อยมากเพราะตี 4 ต้องตื่นแล้ว เพื่อเตรียมของให้ลูกน้องขายขายดี แต่เงินไม่ค่อยเหลือเพราะเราไม่ได้ควบคุมการขายเอง เราเตรียม ลูกน้องขาย ช่วงเที่ยงและเสาร์-อาทิตย์เท่านั้นที่เราจะมาช่วยขายได้ ทำได้ประมาณ 1 ปีก็เลิก

จุดเริ่มต้นของเฉาก๊วยชากังราว
            
วันหนึ่งลูกชายของคุณเสริมวุฒิ ที่เพิ่งจบการศึกษาก็มาบอกกับผู้เป็นพ่อว่าจะไปทำงานกับเพื่อนคนหนึ่งซึ่งดำเนินธุรกิจทำเฉาก๊วย  ด้วยความที่เห็นว่าเป็นเรื่องดี คุณเสริมวุฒิ จึงแนะนำให้ลูกทดลองดู และอย่าไปเลือกงาน ทุกงานล้วนเป็นอาชีพถ้าสามารถเข้าใจงานได้อย่างถ่องแท้ ก็จะสามารถนำมาสร้างธุรกิจเองได้ในอนาคต
            จนเวลาผ่านไปสองเดือนพ่อลูกครอบครัวสุวรรณโรจน์จึงไปซื้อเฉาก๊วยมาลองทำกันดู ผลปรากฏว่าก็สามารถทำขายได้แต่รสชาติไม่แตกต่างกับท้องตลาดมากนัก กระทั่งวันหนึ่ง เสริมวุฒิได้รับการแนะนำจากเพื่อนรุ่นพี่ให้อ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องเฉาก๊วยในวารสารชมรมเทคโนโลยี ทางอาหารและชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เขาเริ่มมองเห็นอะไรบางอย่าง ด้วยความรู้จากบทความผสานกับประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากลูกชายทำให้เขาลองมาทำเฉาก๊วยด้วยสูตรที่แตกต่างจากของเดิม
            "จากนั้นผมจึงนำเฉาก๊วยชื่อดังจากที่อื่นๆมาใส่ถ้วยโดยไม่บอกใครและให้คนรู้จักลองมากินเพื่อเปรียบเทียบรสชาติโดยไม่บอกว่าทั้งสองถ้วยนี้มาจากไหน ทุกคนที่ได้ชิมก็จะบอกว่าเฉาก๊วยถ้วยที่ผมทำนั้นรสชาติดีกว่า ทำให้เรามั่นใจที่จะนำเฉาก๊วยสูตรใหม่ออกวางตลาด"
            อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะสามารถผลิตเฉาก๊วยสูตรของตัวเองออกมาได้ แต่คุณเสริมวุฒิก็ยังคงทำงานประจำและด้วยหน้าที่ทำให้วันหนึ่งต้องขับรถยนต์ไปงานศิลปหัตถกรรมภาคเหนือ ที่จังหวัดลำพูน จึงขออนุญาตผู้อำนวยการกศน.กำแพงเพชร ที่จะนำสินค้าของตนเองไปวางจำหน่ายในงานซึ่งทางผอ.ก็ยินดีสนับสนุนขอเพียงไม่บกพร่องต่อหน้าที่
            ซึ่งในงานนี้ถือเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ของคุณเสริมวุฒิอย่างเป็นทางการ และได้รับผลตอบลัพธ์ที่ดี ซึ่งคุณเสริมวุฒิ ได้ให้เหตุผลว่า "เราไม่ได้ขายเฉาก๊วยธรรมดาแต่ขายเฉาก๊วยสดเพราะเราเอาเฉาก๊วยไปเคี่ยวในงานให้ทุกคนเห็น หลายคนเห็นก็สนใจว่านี่หรือคือต้นเฉาก๊วย เมื่อทุกคนมั่นใจในวิธีการผลิตผมก็ตักลองให้ลูกค้าลองชิม คุณเชื่อไหมลูกค้าแทบทุกคนติดใจซื้ออีกแก้วทันที ตอนนั้นเราขายแก้วละ 7 บาท วันนั้นก็มีนักข่าวสถานีวิทยุลำพูนมาถ่ายรูปผม ซึ่งเราก็ไม่คิดอะไร วันรุ่งเช้าเขาก็เอาร้านผมซึ่งไปในนามกศน.กำแพงเพชรไปประชาสัมพันธ์ออกเสียงทั่วทั้งจังหวัดทำให้วันที่สองมีลูกค้ามามากขึ้นกว่าเดิม"

ชื่อเสียงเริ่มมากขึ้น
            
ชื่อเสียงเริ่มโด่งดังก็มีพ่อค้าที่เพชรบูรณ์โทร.มาติดต่อซื้อเฉาก๊วยของเขาไปขายถึง 2,000 ถุงซึ่งถือว่ามากในขณะนั้นเพราะต้องใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักทำให้เขาต้องไปช่วยลูกค้าขายในงานอุ้มพระดำน้ำซึ่งเป็นงานประจำปีที่เพชรบูรณ์ที่มี ซึ่งมี สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตส.ส.สุโขทัย เป็นประธานเปิดงาน
            "คุณสมศักดิ์เขาก็มาดูแต่ละร้านขายของ พอมาถึงผมๆก็ยื่นเฉาก๊วยให้ท่าน รู้เลยว่าท่านรับแบบเสียมิได้จากนั้นท่านก็เดินไปยังที่อื่นๆผมก็ยังมองตามเลย แต่พอท่านลองได้ชิมเฉาก๊วยแล้วคุณรู้หรือเปล่าท่านเดินกลับมาที่ร้านผมทันทีแล้วเอ่ยปากชมว่าเฉาก๊วยอร่อยมาก ทำให้ผมกับท่านได้มีโอกาสพูดคุยกันสักเพียงเท่านี้แหละเฉาก๊วยเราขายดีเสมือนกับแจกฟรีเพราะทั้งข้าราชการ ผู้ติดตาม ประชาชนต่างก็มาอุดหนุนที่ร้านเพียง 3 ชั่วโมงก็ขายหมด 2,000 ถุง"

เลือกทางเดินสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ
            
จากผลตอบลัพธ์ที่ดีทำให้คุณเสิรมวุฒิ เชื่อว่าได้เดินมาถูกทางแล้วและธุรกิจนี้แหละที่จะสร้างฐานะของตนเองให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน แม้ว่าทุกวันนี้เวลาออกงานทุกอย่างล้วนมาจากการหยิบยืมไม่เฉพาะแต่เงินทุน กระทั่งคูลเลอร์น้ำ หม้อ อุปกรณ์ต่างๆล้วนแต่อาศัยเครดิตที่ตนเองเป็นคนดีน่าเชื่อถือ จึงคิดที่จะจริงจังในการทำธุรกิจ เพราะไม่อยากให้เสียทั้งสองงาน ซึ่งขณะนั้นรายได้จากการขายเฉาก๊วยเดือนนึงรวมกันแล้วมากกว่ารายได้จากการรับราชการ จนกระทั่งปลายปี 2544 เขาก็มาถึงจุดที่ต้องเลือกว่าจะรับราชการ หรือจะทำเฉาก๊วยขายสุดท้ายเขาก็ตัดสินใจลาออกจากราชการ เพื่อมาทำธุรกิจ “เฉาก๊วยชากังราว” ของตนเองอย่างเต็มเขาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในฐานะนายของตนเองด้วยการเข็นเฉาก๊วยขายในตลาด แต่เมื่อเห็นว่ายอดขายก็ยังไม่สูงมากส่วนหนึ่งเพราะคู่แข่งก็เยอะ จึงหาตลาดใหม่พร้อมปรับกลยุทธ์การนำเสนอที่แตกต่างจากรายอื่นๆ
            "ผมเป็นข้าราชการมาก่อนย่อมรู้จักหน่วยงานราชการมากตรงนี้เป็นจุดแข็งของเรา ผมก็มานั่งวิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรต่อไปก็มาได้คำตอบว่าเราก็นำตรงนี้มาเป็นฐานข้อมูลในการเข้าหาลูกค้าโดยผมเลือกวันไปประมาณ 3-4 วันก่อนสิ้นเดือน เมื่อไปหาลูกค้าเราก็นำเสนอสินค้าให้กับเขาโดยเสนอครั้งละแพ็ก (หนึ่งแพ็กจะมี10 ถุง ราคา 50 บาท)จากนั้นก็บอกเขาว่าเราจะมาเก็บเงินช่วงสิ้นเดือน ส่วนใหญ่ก็ยินดีช่วยซื้อ จนสิ้นเดือนเราก็มาเก็บเงินลูกค้าในหน่วยงานราชการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีการสั่งซ้ำพร้อมจ่ายเงินสดเนื่องจากทุกคนที่ได้ชิมแล้วก็ติดใจในรสชาติ แต่ไม่สะดวกในการเข้ามาซื้อในตลาดจึงรอให้เราเข้ามาส่งจะดีกว่า"
            เมื่อมีฐานลูกค้ามากขึ้นเขาจึงสร้างชื่อให้เฉาก๊วยสูตรใหม่ว่า "เฉาก๊วยชากังราว" ถ้าเสริมวุฒิพอใจกับยอดขายในตลาดหรือในหน่วยงานราชการแบรนด์ชากังราวก็คงจะไม่โด่งดังจนถึงทุกวันนี้

 บททดสอบเจ้าของธุรกิจ
            
คุณเสริมวุฒิมีคติในการทำงาน คือ ความซื่อสัตย์และจริงใจกับคู่ค้าทุกคน แต่บ่อยครั้งพบว่าคู่ค้าที่ทำธุรกิจกับเขาปราศจากความซื่อสัตย์ ครั้งหนึ่งมีพ่อค้าเชื้อสายเวียดนามมาติดต่อขายเฉาก๊วยให้ เขาจึงนำตัวอย่างเฉาก๊วยจากพ่อค้าคนนั้นมาทดลองทำ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงสั่งพ่อค้าคนนั้นให้นำเฉาก๊วยมาส่งให้ 1 ตัน มูลค่าสินค้ากว่า 100,000 บาท พอนำมาใช้จริงปรากฏว่าเฉาก๊วยให้ยางดีมาก แต่ยางไม่เหนียว กวนแล้วเฉาก๊วยเละเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คุณเสริมวุฒิเครียดไปหลายวัน เมื่อสอบถามกลับไปยังพ่อค้าๆ บอกว่าเฉาก๊วยที่ส่งมาให้เป็นคนละเกรดกับที่ส่งไปให้ทดลองในครั้งแรก คุณเสริมวุฒิจึงให้พ่อค้าส่งของมาให้ใหม่ โดยเอาเกรดเดียวกับที่นำมาให้ทดลอง พอพ่อค้านำของมาส่งเสร็จเรียบร้อย คุณเสริมวุฒิก็ให้พ่อค้ายกของเดิมกลับไป โดยจ่ายเงินส่วนต่างเพิ่มให้อีกนิดหน่อย เขาบอกว่าที่ต้องทำอย่างนี้ดีกว่าต้องมาแบกภาระค่าใช้จ่ายกับของที่ซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ หลังจากนั้นเขาก็ไม่สั่งเฉาก๊วยกับพ่อค้ารายนี้อีกเลย เพราะถือว่าไม่มีความซื่อสัตย์ในการทำธุรกิจร่วมกั ซึ่ง คุณภาพ…คือหัวใจของการผลิต การผลิตเฉาก๊วยให้มีคุณภาพดีอย่างสม่ำเสมอนั้น กระบวนการผลิตต้องเริ่มจากการคัดเลือกต้นพันธุ์เฉาก๊วยคุณภาพ นำมาเคี่ยวเอายาง ถ้านำต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพไม่ดีมาใช้ในการผลิต นอกจากจะได้ยางเฉาก๊วยที่ไม่ดีแล้ว กระบวนการผลิตเฉาก๊วยในครั้งนั้นก็จะเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย 

การตลาดเริ่มต้น : เครือข่ายที่แข็งแรง
            
คุณเสริมวุฒิสร้างรถเข็นเฉาก๊วยชากังราวขึ้นมาพร้อมกับความตั้งใจที่จะแสวงหาตัวแทนขายใน 17 จังหวัดภาคเหนือตอนบนและตอนล่างโดยการเข็นขายไปในทุกๆจังหวัดยกเว้นแม่ฮ่องสอนนับระยะทางในการเดินทางแล้วไปกว่า 1 พันกิโลเมตรโดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางหลายเดือนเพื่อที่จะได้เห็นพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ในแต่ละจังหวัด
            ที่สำคัญยังเป็นการเปิดตัวเฉาก๊วยชากังราวให้เป็นที่รู้จักกันในภาคเหนือโดยเขาจะเข้าไปขายในเขตชุมชนแต่ละจังหวัดเพื่อหาตัวแทนขายซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในแต่ละจังหวัด นอกจากกำไรที่ตัวแทนเหล่านี้จะได้รับแล้วโดยวางเป้าหมายยอดขายเดือนละ3 แสนบาทเขาจะได้ทองหนัก 1 บาทเป็นรางวัลทำให้ทุกคนต่างมีกำลังใจที่จะสร้างยอดขายให้สูงมากขึ้น
            "ผมจะมีการประชุมกับเครือข่ายของเราอย่างต่อเนื่องและพยายามถ่ายทอดความรู้ทางการตลาดและการขายที่มีประสิทธิภาพให้กับเขาซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ผมได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่าสามารถใช้ได้จริง เช่น ไปเช่าพื้นที่ในร้านอาหารนำเฉาก๊วยไปวางจำหน่ายในร้านอาหารช่วงแรกลูกค้าไม่รู้จักเราก็ต้องให้เขาชิมฟรีก่อน สมมติลูกค้ามานั่ง 2 คน เราก็ต้องนำเฉาก๊วยใส่ถ้วยไปให้เขาลองชิมฟรีเชื่อว่าทุกคนก็ต้องชิมเพราะกำลังหิว และส่วนใหญ่ก็จะติดใจพอกินข้าวเสร็จก็สั่งเฉาก๊วยเรามาเป็นของหวาน เทคนิคเหล่านี้ที่ผมใช้สอนเครือข่ายของเรา"
            เมื่อประสบความสำเร็จในภาคเหนือ เขาก็เริ่มทำตลาดในภาคอีสานแต่ในขณะนั้นชื่อเสียงของเฉาก๊วยชากังราวก็โด่งดังเป็นที่รู้จักโดยผ่านหลายๆสื่อที่ได้มีโอกาสมาชิมรสชาติแสนอร่อยของเฉาก๊วยที่นี่การทำตลาดในอีสานจึงไม่เป็นเรื่องยากเช่นเดียวกับการทำตลาดในภาคกลาง 

สร้างแบรนด์ผ่านรสชาติ
            
สำหรับเคล็ดลับในสร้างแบรนด์ของเฉาก๊วยชากังราว เสริมวุฒิ กล่าวไว้ว่า "การตลาดของผมยึดหลักที่ว่าผมจะไปในที่ที่ไม่มีใครดัง และจะเด่นในที่ไม่มีใครเด่น" ด้วยเหตุนี้การตลาดของเสริมวุฒิก็คือการเข้าไปวางสินค้าในจุดเล็กที่ทุกคนเข้าไปแล้วเห็นสินค้า จากนั้นเขาจะเป็นผู้แนะนำสินค้าด้วยตนเองให้ลูกค้าได้รู้จักโดยมุ่งเน้นเทคนิคการนำเสนอเช่นการเคี่ยวยางเฉาก๊วยโชว์ในงานแฟร์ต่างๆ หรือ การนำต้นเฉาก๊วยมาให้ลูกค้าได้เห็นเพื่อตอกย้ำความเป็นมืออาชีพในด้านนี้
            "ผมให้ความสำคัญกับการตลาดและเรื่องของแบรนด์ก็จะตามมาเพราะถ้าเราประสบความสำเร็จทางการตลาดชื่อเสียงของแบรนด์ย่อมได้รับการยอมรับไปด้วย เฉาก๊วยชากังราวเริ่มต้นจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สินค้าที่มีเอกลักษณ์และแตกต่างกับคู่แข่งอย่างที่ลูกค้าทุกคนรู้สึกได้ ถ้าเขาเคยชิมของเราจะรู้เลยว่านี่คือเฉาก๊วยชากังราวและถ้าต้องการเฉาก๊วยรสชาติเช่นนี้ก็มีแบรนด์เดียวคือของเราเท่านั้น"
            สำหรับการสร้างแบรนด์ในสายตาของเสริมวุฒิก็คือเรื่องของชื่อเสียง ถ้ารักษาชื่อเสียงให้ดีก็จะสามารถครองใจลูกค้าได้ ฉะนั้นสิ่งสำคัญในการรักษายอดขายและสร้าง Brand Royalty ของเสริมวุฒิก็คือการทำทุกอย่างให้มีคุณภาพนับตั้งแต่เรื่องวัตถุดิบ การผลิต และการตลาดเพื่อสร้างการยอมรับจากลูกค้าทุกคนทั้งในเรื่องรสชาติและคุณภาพของสินค้า 

การส่งต่อความสำเร็จ
            
ปัจจุบันคุณเสริมวุฒิหันมาลุยงานด้านการขยายตลาดเฉาก๊วยชากังราวอย่างเต็มที่ และได้มอบหมายให้ลูกสาวคนเดียว-คุณสุวนิตย์ สุวรรณโรจน์ เป็นผู้ดูแลการผลิตแทน ปัจจุบันโรงงานผลิตเฉาก๊วยสามารถผลิตเฉาก๊วยชากังราวได้ถึง 3,000-4,000 ถุง ภายในเวลาชั่วโมงเศษๆ และเฉาก๊วยแต่ละถุงก็จะมีคุณภาพดีเท่ากันทุกถุงด้วยสร้างเครือข่าย ขยายธุรกิจคุณเสริมวุฒิกระจายสินค้าเฉาก๊วยชากังราวไปทั่วประเทศด้วยการสร้างเครือข่ายธุรกิจ โดยตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่สถานีขนส่งหมอชิต เพื่อบริหารจัดการส่งเฉาก๊วยให้กับเครือข่ายที่สั่งสินค้าเข้ามาเฉาก๊วยที่คุณเสริมวุฒิผลิตมีรูปแบบเดียว คือเฉาก๊วยในน้ำเชื่อมพร้อมบริโภค สินค้ามีอายุการเก็บรักษาอยู่ในตู้เย็นได้นาน 7 วัน โดยเขาจะผลิตใหม่สดทุกวัน ผลิตเสร็จก็จะส่งเข้ากรุงเทพฯ ไม่ว่าเครือข่ายธุรกิจจะอยู่ที่จังหวัดไหน คนของเขาก็สามารถจัดส่งให้ได้ทุกวัน“คนที่จะมาเป็นเครือข่ายธุรกิจเฉาก๊วยชากังราว ขอให้มาแต่ตัวกับหัวใจ เราจัดส่งให้ทุกอย่าง แต่ขอให้คิดดี ทำดีต่อกัน…ใน 1 จังหวัดจะมีเครือข่าย1 ราย เราจะไม่ส่งสเปะสะปะแต่เราจะดูความสามารถในการขยายธุรกิจของเครือข่ายด้วย ถ้าไม่ไหวก็อาจต้องเพิ่มลูกข่าย”ที่บอกอย่างนี้เพราะมีเครือข่ายบางคนรับสินค้าไปขายแล้ว ไม่ยอมส่งเงินค่าสินค้ากลับมาให้เขา เขาจึงตั้งเงื่อนไขการสั่งสินค้าว่า ให้ชำระเงินสดค่าสินค้าเข้ามาก่อนจึงจะส่งสินค้าให้ ขณะที่เครือข่ายบางรายก็ผลิตเฉาก๊วยเลียนแบบเฉาก๊วยชากังราวขายเองแทนที่จะสั่งจากเขา กรณีนี้หากเขารู้ก็จะเตือนให้เลิกการกระทำที่ไม่ดีนั้นเสีย ก่อนที่เขาจะดำเนินการตามกฎหมายสร้างระบบการทำงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเฉาก๊วยชากังราวเริ่มได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ทำให้การผลิตไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า คุณเสริมวุฒิจึงจ้างชาวบ้านในพื้นที่มาช่วยทำการผลิต แต่แรงงานชาวบ้านซึ่งรับค่าจ้างเป็นเงินเดือนก็มักติดปัญหาเรื่องการขาดงาน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลซึ่งเป็นช่วงที่เฉาก๊วยน่าจะขายดี แต่กำลังการผลิตไม่มี เพราะคนงานลากลับบ้านเขาแก้ปัญหาโดยจ่ายค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ตามสัดส่วนการทำงาน ไม่ใช่ทำบ้างไม่ทำบ้างพอสิ้นเดือนคนงานก็รอรับเงินเดือน คุณเสริมวุฒิบอกว่าพอปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีนี้ทำให้คนงานมีความขยันและมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น อย่างการกรอกเฉาก๊วยบรรจุถุง เขาให้ค่าจ้างคนงานร้อยละ 12 ซึ่งบางคนมีรายได้เดือนนึงเกือบ 20,000 บาท เรียกว่าทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย แถมให้ทำงานในห้องแอร์ด้วย คนงานบางคนก็มารอทำงานตั้งแต่ตี 4 เลยก็มีปัจจัยความสำเร็จคิดรูปแบบการทำตลาดเพื่อสร้างความสนใจคุณเสริมวุฒิบอกว่าเฉาก๊วยเป็นเพียงของหวานธรรมดาชนิดหนึ่ง ซึ่งจากการประเมินเขาคิดว่าคนไทยรู้จักเฉาก๊วย แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าเฉาก๊วยหน้าตาเป็นอย่างไร ดังนั้นการทำตลาดจึงต้องหารูปแบบที่แปลกใหม่ เพื่อสร้างจุดสนใจให้กับผู้บริโภคในการไปออกบูธตามงานต่างๆ เขาจะใช้เฉาก๊วยเป็นสื่อ โดยนำต้นเฉาก๊วยไปตกแต่งที่บูธ และนำเฉาก๊วยไปเคี่ยวในงาน เพื่อให้ผู้บริโภครู้จักหน้าตาของต้นเฉาก๊วยและเป็นสื่อในการแนะนำผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยชากังราวด้วย คุณเสริมวุฒิบอกว่าวิธีนี้ล่ะ…งานไหนงานนั้นตัดเฉาก๊วยขายแทบไม่ทันนอกจากนี้การทำตลาดต้องใจกล้า หน้าด้าน ในการขายของด้วย คุณเสริมวุฒิเคยนำเฉาก๊วยไปเดินแจกในตลาดให้ชิมฟรี บางร้านก็รับ บางร้านก็ไม่รับ ใครผ่านมาเขาแจกให้ชิมหมด พอวันต่อมาก็ให้คนงานเอาเฉาก๊วยใส่รถเข็นขายตามเส้นทางที่แจกให้ชิมฟรี ผ่านไปทางไหนก็ให้คนงานร้องถามผู้คนในย่านนั้นว่า…รับเฉาก๊วยมั้ย…ปรากฏว่าวันนั้นเขาขายเฉาก๊วยได้หมดเลย ลุยตลาดด้วยตัวเอง เพื่อฟังเสียงติชมแม้คุณเสริมวุฒิจะขยายตลาดเฉาก๊วยชากังราวด้วยการสร้างเครือข่ายธุรกิจไปทั่วประเทศ แต่หากที่ไหนมีงานประจำปี หรืองานเทศกาลต่างๆ แล้วเครือข่ายต้องการให้เขาไปช่วย เขาก็ยินดีเข้าไปช่วยเครือข่ายนั้นทำตลาด“การออกตลาดเองทำให้เราทราบเสียงติชมของผู้บริโภค ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในส่วนต่างๆทุกจังหวัดในภาคเหนือที่มีงานผมไปเข็นเฉาก๊วยขายมาแล้ว งานเหล่านี้เราต้องไปติดต่อผู้จัดงานเพื่อหาวิธีเข้าไปในงานให้ได้

ภาพโดย : https://www.sentangsedtee.com/news_detail.php?rich_id=3349&section=1

คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ

ที่มา : ธวัชชัย บัววัฒน์. (2555). รายงานการวิเคราะห์ศักยภาพของเจ้าของสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จ. กำแพงเพชร: ม.ป.พ.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=621&code_db=610003&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=621&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

กชกร ด้วงเงิน

กชกร ด้วงเงิน

ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,207

ขุนอินทรเสนา

ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,411

พระครูวชิรปัญญกร

พระครูวชิรปัญญกร

พระครูวชิรปัญญกร นามเดิม นายอำนวย กรรณิกา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2494 ที่บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรองนายทำ-นางน้อย กรรณิกา อาชีพรับจ้าง ด้านการศึกษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เข้าทำงานครั้งแรกที่การไฟฟ้าพระราม 6 แล้วลาออกมาทำงานบริษัท Universal Engineering Consuians, Co.Ltd. หลังจากนั้นได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ณ พัทธสีมาวัดคูยาง ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝ่ายการศึกษา)

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 846

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 1,127

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 2,080

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,143

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นันทโน) เจ้าคณะตำบลคลองแม่ลาย (ธรรมยุติ) และเจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ส่ิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 4,668

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

"ดอกผลของธุรกิจช่วยพัฒนาสังคม" อดีตรับข้าราชการตำแหน่งพนักงานขับรถของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจเฉาก๊วยชากังราว เป็นสินค้าผ่านการคัดสรรค์ OTOP กำแพงเพชร เป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี ซื่อสัตย์ในอาชีพ ยึดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง เรียบง่าย ช่วยเหลือผู้ยากไร้ สร้างวัด ด้วยเงินกว่า 30 ล้านบาท ล่าสุดบริจาคเงินซื้อเครื่องส่องสว่างในการผ่าตัด เครื่องช่วยหายใจ บริจาคเงินสร้างวัดไทยในประเทศเยอรมัน

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 3,212

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท เจ้าอาวาสวัดหนองปลิง ท่านมีจิตตั้งมั่น ต้องต่อสู้กับนานาอุปสรรคกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างวัดหนองปลิงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ถูกหลอกขายที่ดินสร้างวัด ๒๑ ไร่ด้วยโฉนดปลอม จนต้องขอให้จังหวัดช่วยจึงออกโฉนดได้ ท่านยังถูกลอบยิง ๒ ครั้งและเป็นคดีความบ่อยๆ แต่ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปได้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,476

บุญมี บานเย็น

บุญมี บานเย็น

สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,148