พระยาราม

พระยาราม

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้ชม 953

[16.4196308, 99.1705869, พระยาราม]

        พระยาราม นามเต็ม พระยารามรณรงค์ เดิมเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ ได้เรียกพระยารามไปไว้กรุงศรีอยุธยาและให้เลื่อนเป็นพระยาจันทบุรี สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงไว้วางพระทัยพระยารามมาก กรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ต้องปรึกษาหารือพระยารามทุกครั้ง เช่น คราวที่ออกอุบายจะไปดีเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองอยู่ด้วยความแค้นพระทัยก็ปรึกษากับพระยารามเป็นความลับ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพระมหาธรรมราชาที่ 2 รู้ตัวก่อน โดยพระยาสีหราชเดโซบอกความลับให้ทราบ ดังนั้น พระยารามจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช
        ครั้งเมื่อพระเจ้าหงสาวดียกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่พระยารามได้อาสาป้องกันพระนคร จึงรับมอบหมายจากพระมหาจักรพรรดิ และสมเด็จพระมหินทราธิราชให้บัญชาการป้องกันพระนคร พระยารามได้บัญชาการต่อสู้ป้องกันกรุงศรีอยุธยาจนพม่าข้าศึกหักเอามิได้ด้วยกำลัง ต้องใช้กลอุบายทำนองหย่าศึก หากทางกรุงศรีอยุธยาจะส่งตัวพระยารามไปให้ และทางกรุงศรีอยุธยาหลงกลส่งพระยารามไปให้ข้าศึก จึงต้องพ่ายแพ้ในที่สุด
        ความสามารถเข้มแข็งของพระยารามจะเห็นได้จากการจัดกำลังป้องกันพระนครด้วยความมั่นคง มีพลสรรพาวุธประจำหน้าที่รอบกำแพงเมือง และจัดกองทัพไว้ทั้งสี่ด้านรอบเมือง ตัวพระยารามนั้นตั้งทัพเป็นท้องสนามหลวงกองกลาง เพื่อเป็นกำลังเสริมไปช่วยด้านใดด้านหนึ่งที่เพลี่ยงพล้ำ ยุทธวิธีของพระยารามทำให้พม่าหักเข้าไม่ได้ และยังให้เอาปืนใหญ่ยิงไปยังทัพของพม่า กระสุนไปตกใกล้พลับพลาของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองและกระสุนต้องช้างม้ารี้พลของพม่าตายเป็นอันมาก
        ความดีของพระยารามที่น่าสรรเสริญคือ ความแกล้วกล้าสามารถ กอปรด้วยความซื่อสัตย์ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และชาติบ้านเมือง ครั้งนั้นกองทัพพม่ามีกำลังพลมหาศาล พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองก็เป็นกษัตริย์นักรบที่ชาติใกล้เคียงเกรงขาม แต่พระยารามกลับอาสาสู้ศึกด้วยความสามารถ จนพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเห็นว่า ถ้าปล่อยให้เหตุการณ์ยังคงเป็นไปเช่นนั้นจะเอาชนะไทยไม่ได้ ต้องออกอุบายขอตัวพระยารามไปในตอนปลายสงคราม

คำสำคัญ : พระยาราม พระยารามรณรงค์ เจ้าเมืองกำแพงเพชร

ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2566). พระยาราม. สืบค้น 25 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2201&code_db=610003&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2201&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic
ประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์

นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เป็นบุตรของนายสีและนางอินทร์ ศรีสุวพันธุ์ มีกำเนิดเมื่อวันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2470 ณ บ้านเลขที่ 5 ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคือตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเจริญวัยขึ้นมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดเนื่องจากน้าชายอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดท่าหมัน จึงเข้าไปรับใช้เป็นลูกศิษย์ของหลวงหน้าเป็นพระภิกษุที่เข้มงวด เป็นผู้อบรมสั่งสอนหนังสือ นับได้ว่าเป็นการศึกษาก่อนถึงวัยเกณฑ์การศึกษาจริง ขณะที่ศึกษาระดับประถมศึกษมาที่โรงเรียนวัดท่าหมัน ก็ยัคงเป็นลูกศิษย์วัดอยู่ด้วย  เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ที่โรงเรียนวัชรราชฏร์วิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ได้ศึกษาต่อและได้สมัครรับราชการครู ได้ดำรงตำแหน่ง ครูประชาบาลโรงเรียนบ้านหนองปลิงในปีพุทธศักราช 2493 ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา นายประเสริฐก็ได้สมัครสอบชุดครูมล และสามารถสอบได้ 3 ชุดในคราวเดียวกัน เป็นที่สนใจและยอมรับของวงการครู ตำแหน่งที่สูงขึ้น คือเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งสวน และก็ทำหน้าที่ครูผู้สอนไปด้วย หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชาได้ขอให้โอน ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,148

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นันทโน) เจ้าคณะตำบลคลองแม่ลาย (ธรรมยุติ) และเจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ส่ิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 5,249

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่จ้อง และนางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้เช้าชม 2,584

มาณพ  ศิริไพบูลย์

มาณพ ศิริไพบูลย์

นายมาณพ  ศิริไพบูลย์  เกิดวันที่ 18 กันยายน 2487 บุตรนายมานิตย์  ศิริไพบูลย์ และนางวิมล  ศิริไพบูลย์ สถานที่เกิด ณ บ้านเลขที่ 080 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษา จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  เมื่อ พ.ศ.  2498  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎรวิทยาลัย” ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2504

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,169

พระวิเชียรโมลี

พระวิเชียรโมลี

"พระวิเชียรโมลี" อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณ ที่ชาวเมืองกำแพงเพชร ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ได้รับอาราธนาเข้าร่วมในพิธีปลุกเสก พระกริ่งชนะสงคราม ที่รัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ทหารหาญ นับว่าเป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณที่มีชื่อเสียงมากรูปหนึ่งในสมัยนั้น สมัยสงครามอินโดจีน ท่านยังได้ทำเสื้อยันต์แดง แจกทหารผู้ไปราชการสงคราม ทำให้มีผู้เลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก เนื่องจากประจักษ์ในวิทยาคม จนได้รับอาราธนาให้นั่งเครื่องบินเพื่อหว่านทรายเสกให้ประชาชนและทหารรอดพ้นจากอันตรายจากภัยสงคราม     

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 12,179

นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

นพ.พนมกร ดิษฐสุวรรณ์

นพ.พนมกร เขียนบทความรความรู้สุขภาพทางอินเทอร์เน็ต และตอบปัญหาสุขภาพ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเว็บไซต์ เช่น พันธ์ุทิพย์ ไทยคลินิก เฟสบุ๊ค โดยใช้นามแฝงว่า "หมอหมู" เป็นผู้ให้ความสำคัญแก่เยาวชนและศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างย่ิง เป็นผู้ริเร่ิมจัดรวมกลุ่มชมรมศิลป์ในสวนให้เยาวชน นำผลงานศิลปะ การแสดงดนตรี มาแสดงออกซึ่งความรู้ความสามารถอยากหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นนักอนุรักษ์ เป็นผู้ริเริ่มและร่วมเป็นกรรมการจัดพิธีบวชต้นโพธิ์ (เป็นต้นโพธิ์เก่าแก่ คู่เมืองกำแพงเพชร)

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,498

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,275

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 1,324

ขุนอินทรเสนา

ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,655

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,599