รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้ชม 1,489
[1616.4266, 98.9354386, รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์]
นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นบุตรของนายตงเหลียน แซ่ลี้กับนางซุ้ย สุขสกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2501 ณ บ้านเลขที่ 25/33 หมู่ 4 ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 7 คน เป็นผู้ชาย 2 คน และเป็นผู้หญิง 5 คน
ชีวิตในวัยเด็กของเด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เจริญเติบโตขึ้นในสิ่งแวดล้อมของสวนผลไม้ของครอบครัว ได้รับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนในท้องถิ่น คือ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ขณะพอเริ่มจำความได้เด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ก็ได้คุ้นเคยกับบ้านเรือนไทยที่ทำด้วยไม้ทั้งหลังที่ตั้งบอยู่ทั่วไปในชุมชน เกิดความรู้สึกพอใจในเอกลักษณ์และสถาปัตยกรรมแบบไทยพื้นบ้าน เมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดปรกสุธรรมาราม ก็ได้พบเห็นงานใบตอง ของครูสุวรรณี คล้ายประยงค์ เกิดความประทับใจในความสวยงามอย่างยิ่ง
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 ได้เรียนงานใบตองกับอาจารย์เยื้อง ภูมิทัต เมื่อได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานใบตองแล้วก็ได้ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ประสบความสำเร็จด้านงานใบตอง จนได้รับรางวัลโล่พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการประกวดกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยใบตองหลายครั้ง
ในขณะที่เรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษา ได้มีโอกาสเห็นการทำลายไทย ลายฉลุไม้ ลายฉลุกระดาษ และเห็นการใช้ขี้เลื่อยขึ้นรูปพานพุ่มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แปลกมหัศจรรย์ จึงมีความใฝ่ฝันที่จะฝึกหัดทำให้ได้ ความใฝ่ฝันนี้สะสมกับตัวมาโดยตลอด
จนในปัจจุบันนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ได้ฝึกฝนจนสามารถทำได้ และยังคิดใช้วัสดุอื่น ๆ ทดแทนขี้เลื่อยได้อีกหลายแบบ หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสพบจ่าทหารเรือ ชื่ออำนวย น้อยสกุล ซึ่งชำนาญในการทำขนมไทย เด็กชายรุ่งธรรมได้ลิ้มรสขนมทองหยิบทองหยอดรสมือของจ่าอำนวย น้อยสกุล รู้สึกพึงพอใจและประทับใจในรสชาติของขนมไทยมาก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ต้องหัดทำขนม และได้ฝึกฝนจนกระทั่งในปัจจุบันนี้สามารถทำขนมไทยจำหน่ายในเทศกาลประจำปี และยังได้คิดประดิษฐ์ขนมไทยจำลองโดยประดิษฐ์จากแป้งข้าวเหนียวเป็นชุดเล็ก ๆ เพื่อใช้เป็นของชำร่วยที่สวยงามมีคุณค่าในงานศิลปะและการอนุรักษ์อีกด้วย
เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว เด็กชายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ก็ได้เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย การเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้นี่เองที่ทำให้ได้รับการถ่ายทอดวิชาศิลปะประดิษฐ์ จากอาจารย์ธนู ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการประดิษฐ์งานศิลปะจากวัสดุพื้นเมืองที่หาง่าย และนำมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและพิถีพิถัน ทำให้งานศิลปะประดิษฐ์มีความงดงามเป็นที่ประทับใจ
จนในปี พ.ศ. 2520 ระหว่างเป็นนักศึกษา นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้เข้าแข่งขันประดิษฐ์งานศิลปะ ในงานแข่งขันทักษะภาคเหนือ ณ จังหวัดพิจิตร และได้รับรางวัลชนะเลิศ ต่อจากนั้นได้หมั่นเรียนรู้และฝึกฝนมาโดยตลอด จนประสบความสำเร็จเช่นในปัจจุบัน เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัยแล้ว ก็เข้าศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ณ วิทยาลัยชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กรุงเทพมหานคร โดยเลือกศึกษาในสาขาออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี และได้ศึกษาอย่างต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ. 2523
งาน ภูมิปัญญา ความสำเร็จ
หลังจากนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแล้ว นายรุ่งธรรมเริ่มสนใจประกอบอาชีพครู จึงได้ศึกษาต่อจนสำเร็จชั้นประกาศนียบัตรฝึกหัดครูมัธยม (ป.ม.) และยังคงให้ความสนใจในสาขาออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี เช่นเดิม จนเมื่อเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู ประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2525 นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ ได้เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยครูกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาสาขา ครุศาสตร์บัณฑิต ในปี พ.ศ. 2528 ด้วยความอุตสาหะในการใฝ่หาความรู้
รางวัลแห่งเกียรติยศ
นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลเป็นประกาศนียบัตรรับรองเกียรติคุณมาแล้ว ดังนี้
- รางวัลอาชีวศึกษาครบวงจรดีเด่น กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ.2528
- รางวัลวงจรทอง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2529
- ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) พ.ศ. 2530
- รางวัลเสมาทอง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2530
- ได้รับเลือกให้เป็นครูตัวอย่าง กรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2531
- ได้รับเลือกเป็นครูดีเด่นของคุรุสภา อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2532
- ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) พ.ศ. 2533
- ได้รับเลือกเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2534
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร พระราชทานโล่ผู้มีอุปการคุณต่อโรงเรียนมัธยมในพระราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2534
- ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 3 ปี พ.ศ. 2535
- ได้รับประกาศเกียรติคุณยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นประเภทอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2536
- คุรุสภามอบเกียรติบัตรยกย่อง ชมเชยว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานที่มีผลงานดีเด่นจากนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2537
- ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) พ.ศ. 2538
- ได้รับเลือกเป็นครูดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา ปี พ.ศ. 2538
- คุรุสภามอบเกียรติบัตรยกย่องชมเชยว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่นจากนายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2539
- ได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 ปี พ.ศ. 2539
- ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นบุคคลที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมจากสมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2541
- ได้รับประกาศเกียรติบัตรฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์จาก FESPIC ปี พ.ศ. 2542
- ได้รับเกียรติบัตรในฐานะเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์สนับสนุนวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี พ.ศ. 2542 จากศูนย์จริยศึกษา สธ.
- ได้รับโล่เกียรติคุณพระราชทานกรณีพิเศษ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี พ.ศ. 2542
- ได้รับคัดเลือกให้เป็นศิษย์เก่าดีเด่นของสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2542
- ได้รับโล่เกียรติคุณการจัดกิจกรรมศิลปหัตถกรรมสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ปี พ.ศ. 2542 จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
- ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคุรุสภา ผู้มีจรรยามารยาทและผลการปฏิบัติงานดีเด่น ปี พ.ศ. 2543 ของสำนักงานคณะกรรมการคุรุสภาจังหวัดกำแพงเพชร
- ได้รับเลือกเป็น ข้าราชการตัวอย่าง ของกระทรวงศึกษาธิการ จากนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2542
ผลงานสำคัญ
ผลงานของนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ จำแนกตามวัสดุและลักษณะวิธีประดิษฐ์ได้เป็น 10 ประเภท และงานทุกประเภทเหล่านี้ นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นผู้รู้จริงปฏิบัติได้จริงและสมบูรณ์ด้วยคุณภาพ นายรุ่งธรรม มีความรู้ความสามารถและทักษะในงานศิลปะสาขาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. งานดอกไม้สด
2. งานแกะสลักผัก ผลไม้และหยวกกล้วย
3. เครื่องแขวนไทย
4. ของชำร่วย ของที่ระลึก
5. งานปิดทอง เครื่องประดับต่าง ๆ
6. เครื่องหอมไทย
7. งานใบตอง
8. งานออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้า
9. งานศึกษาค้นคว้าวัฒนธรรมไทย
10. งานจัดสวนและตกแต่งภูมิทัศน์
ผลงานจากความรู้ ทักษะและความสามารถของนายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ได้เผยแพร่และปรากฏต่อสังคมในโอกาสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. งานรัฐพิธี พระราชพิธี และบุคคลสำคัญของชาติ
2. งานเผยแพร่งานวิชาการและการประกวดผลงานด้านศิลปะ
ภาพโดย : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/rungtam_per.htm
คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ
ที่มา : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/rungtam_per.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=623&code_db=610003&code_type=01
Google search
พระวิเชียรธรรมนาท เจ้าอาวาสวัดหนองปลิง ท่านมีจิตตั้งมั่น ต้องต่อสู้กับนานาอุปสรรคกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างวัดหนองปลิงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ถูกหลอกขายที่ดินสร้างวัด ๒๑ ไร่ด้วยโฉนดปลอม จนต้องขอให้จังหวัดช่วยจึงออกโฉนดได้ ท่านยังถูกลอบยิง ๒ ครั้งและเป็นคดีความบ่อยๆ แต่ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปได้
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,119
นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน
เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 896
ร้อยเอกทำนอง โยธินธนสมบัติ เป็นบุตรนายผ่าน-นางทองสุข ปัสสา เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2467 ที่จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 13 คน สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนวิชัยบำรุงราษฏร์ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท จากนั้นได้ประกอบอาชีพครู ต่อมาได้รับราชการทหาร และใน พ.ศ.2525 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุประจำอยู่ที่วัดศรีโยธินจนถึงทุกวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 728
นายมาณพ ศิริไพบูลย์ เกิดวันที่ 18 กันยายน 2487 บุตรนายมานิตย์ ศิริไพบูลย์ และนางวิมล ศิริไพบูลย์ สถานที่เกิด ณ บ้านเลขที่ 080 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษา จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ. 2498 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎรวิทยาลัย” ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2504
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,681
พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,651
มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,569
นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เป็นบุตรของนายสีและนางอินทร์ ศรีสุวพันธุ์ มีกำเนิดเมื่อวันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2470 ณ บ้านเลขที่ 5 ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคือตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเจริญวัยขึ้นมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดเนื่องจากน้าชายอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดท่าหมัน จึงเข้าไปรับใช้เป็นลูกศิษย์ของหลวงหน้าเป็นพระภิกษุที่เข้มงวด เป็นผู้อบรมสั่งสอนหนังสือ นับได้ว่าเป็นการศึกษาก่อนถึงวัยเกณฑ์การศึกษาจริง ขณะที่ศึกษาระดับประถมศึกษมาที่โรงเรียนวัดท่าหมัน ก็ยัคงเป็นลูกศิษย์วัดอยู่ด้วย เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ที่โรงเรียนวัชรราชฏร์วิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ได้ศึกษาต่อและได้สมัครรับราชการครู ได้ดำรงตำแหน่ง ครูประชาบาลโรงเรียนบ้านหนองปลิงในปีพุทธศักราช 2493 ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา นายประเสริฐก็ได้สมัครสอบชุดครูมล และสามารถสอบได้ 3 ชุดในคราวเดียวกัน เป็นที่สนใจและยอมรับของวงการครู ตำแหน่งที่สูงขึ้น คือเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งสวน และก็ทำหน้าที่ครูผู้สอนไปด้วย หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชาได้ขอให้โอน ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการจังหวัด
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 734
ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,070
ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 980
พระยาราม นามเต็ม พระยารามรณรงค์ เดิมเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่อสมเด็จพระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์ ได้เรียกพระยารามไปไว้กรุงศรีอยุธยาและให้เลื่อนเป็นพระยาจันทบุรี สมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทรงไว้วางพระทัยพระยารามมาก กรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ต้องปรึกษาหารือพระยารามทุกครั้ง เช่น คราวที่ออกอุบายจะไปดีเมืองพิษณุโลก ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ 2 ครองอยู่ด้วยความแค้นพระทัยก็ปรึกษากับพระยารามเป็นความลับ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพระมหาธรรมราชาที่ 2 รู้ตัวก่อน โดยพระยาสีหราชเดโซบอกความลับให้ทราบ ดังนั้น พระยารามจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพระมหาธรรมราชาที่ 2 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหินทราธิราช
เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 29