ลอดช่อง
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 323
[16.4715218, 99.5280957, ลอดช่อง]
ส่วนผสมลอดช่อง
- แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
- แป้งเท้ายายม่อม 30 กรัม
- แป้งซ่าหริ่ม 20 กรัม
- น้ำปูนใส 450 กรัม
- น้ำใบเตย 250 กรัม
- น้ำแข็ง
ส่วนผสมน้ำกะทิ
- น้ำกะทิ 250 กรัม
- น้ำตาลปึก 150 กรัม
- เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
- เทียนอบ
วิธีทำ
- ทำตัวลอดช่องโดยผสมแป้งข้าวเจ้า, แป้งเท้ายายม่อม, แป้งซ่าหริ่ม เข้าด้วยกัน หลังจากนั้นค่อยๆใส่น้ำ ปูนใสทีละน้อยขณะเดียวกันก็นวดแป้งให้เข้ากันจนเนียนและเหนียว และค่อยๆใส่น้ำปูนใสจนหมด แล้วจึงใส่น้ำ ใบเตย แล้วนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง กวนจนแป้งเหนียวและข้นจึงลดไฟลง กวนต่อจนแป้งสุก (แป้งจะมี ลักษณะข้นเหนียว) จึงปิดไฟ
- เตรียมน้ำเย็นโดย นำน้ำแข็งไปละลายในน้ำจนน้ำเย็นจัดจากนั้นนำส่วนผสมแป้งที่เตรียมไว้ในขั้นตอน ที่หนึ่งไปใส่ลงในพิมพ์ลอดช่อง ค่อยๆกดให้เป็นเส้นหย่อนลงไปในน้ำเย็นที่เตรียมไว้
- ทำน้ำกะทิโดยนำน้ำตาลปึกผสมกับน้ำกะทิและเกลือป่นนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ค่อยๆ คนจนน้ำตาลละลายดี จึงปิดไฟ และนำไปอบควันเทียนให้หอม
- ตักเส้นลอดช่องใส่ถ้วย ราดด้วยน้ำกะทิ และน้ำแข็งทุบสามารถใส่เครื่องเพิ่มเติมได้ตามต้องการ (เผือกนึ่ง, ข้าวเหนียวดำ, อื่น) เสริฟได้ทันที
แหล่งที่มา
https://cooking.kapook.com/view96006.html
ที่มา : ตลาดสดริมปิง
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวณัฐกานต์ ทัพทวี
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=608&code_db=DB0004&code_type=K0010
กล้วยบวชชี
กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้ การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 235
ลอดช่อง
ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 323
แกงบวดฟักทอง
แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 341