ขนมเรไร
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 3,993
[16.3349545, 99.3442154, ขนมเรไร]
เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า ๑ ถ้วยตวง แป้งท้าวยายม่อม ๒ ช้อนโต๊ะ น้ำดอกไม้ ¾ ถ้วยตวง หัวกะทิกรองแล้ว ½ ถ้วยตวง มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด ๑/๓ ถ้วยตวง รากถั่วบุบพอแตก ¼ ถ้วยตวง น้ำตาลทราย ¼ ถ้วยตวง เกลือป่น ½ ช้อนชา สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก พิมพ์ขนมเรไร
วิธีปรุง เริ่มจากผสมแป้งข้าวเจ้าเข้ากับแป้งท้าวยายม่อมในกระทะทองเหลือง ค่อยๆเติมน้ำทีละน้อย นวดให้เข้ากัน จนแป้งมีลักษณะเหนียวหรืออย่างน้อยประมาณ ๒๐ นาที หากต้องการให้เส้นขนมมีสีสวย ให้เติมน้ำสีในขั้นตอนนี้ แล้วเติมน้ำส่วนที่เหลือจนหมด ยกขึ้นตั้งไฟ กวนไปเรื่อยๆจนแป้งสุกจับตัวกันเป็นก้อน ล่อนจากกระทะ จึงยกลง พักไว้จนเย็น นวดต่อจนแป้งมีความเนียนนุ่ม แบ่งแป้งออกเป็นก้อนๆ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ½ เซนติเมตร เอาผ้าขาวบางชุมน้ำคลุมไว้ไม่ให้แห้ง แล้วจึงนำแป้งแต่ละก้อน วางลงในเครื่องปั้นเส้น บีบออกมาเป็นเส้นเล็กๆทีละก้อน เขี่ยวางไว้ในรังถึง ปูด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำ บนไฟแรงจนสุกหรือประมาณ ๓-๔ นาที ชะโลมด้วยหัวกะทิ แล้วแซะใส่จานพักไว้ ผสมงาคั่ว น้ำตาลทราย และเกลือเข้าด้วยกัน เวลาจะรับประทาน ให้จัดเส้นขนมเรไรใส่จาน โรยด้วยมะพร้าวทึนทึก ราดด้วยหัวกะทิที่ตั้งไฟแล้ว น้ำตาล เกลือและงาขาวคั่ว
ภาพโดย : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-wang-khang
คำสำคัญ : ขนมเรไร
ที่มา : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-wang-khang
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ขนมเรไร. สืบค้น 24 มีนาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=646&code_db=610008&code_type=01
Google search
ข้าวจี่ เป็นขนมพื้นบ้านของภาคอีสาน ทำจากข้าวเหนียวนึ่งทาเกลือ ปั้นเป็นรูปกลมหรือรีเสียบไม้นำไปย่างบนเตาถ่าน ไฟอ่อนพอเกรียมนำมาชุบไข่ แล้วนำไปย่างใหม่จนเหลือง ดึงไม้ที่เสียบไว้ออก ยัดน้ำตาลอ้อยเข้าไปแทน น้ำตาลจะละลายเป็นไส้ และนิยมทำกันมากในช่วงเดือนสามของทุกปี ซึ่งจะมีการทำข้าวจี่ไปทำบุญในงานประเพณีบุญข้าวจี่ อาจเป็นเพราะข้าวเหนียวจะเสียเร็วในตอนกลางวัน สมัยก่อนข้าวเหนียวจึงถูกทำเป็นข้าวจี่แล้วห่อใบตองไปกินเป็นอาหารตอนทำนาหรือเดินทางไกล เพราะสามารถเก็บได้นานขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,698
มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เครื่องปรุง ประกอบด้วย มะปรางจำนวน ๑๐ ลูก น้ำตาลทราย ๑ ถ้วย ใบเตยหั่นเป็นท่อนๆ หรือน้ำลอยดอกมะลิ เกลือป่น๑/๒ ช้อนชา น้ำแข็งทุบละเอียด วิธีปรุง เริ่มจาก การเตรียมเก็บมะปราง โดยมะปรางที่เหมาะจะมานำลอยแก้ว ได้แก่ มะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ เริ่มจากฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 2,735
กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก และได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารทด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง เพราะมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง นับว่าน่ายกย่องแม่บ้านกลุ่มนี้ที่สุดบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมา 2) เครื่องปรุง และ 3) ขั้นตอนการทำ
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,221
อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,196
หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 4,459
ข้าวแต๋น นางเล็ด เป็นขนมโบราณ หลายคนอาจจะสับสนระหว่างข้าวแต๋นและนางเล็ด วิธีสังเกตง่ายมาก ข้าวแต๋นที่มีน้ำตาลราดบนหน้า เรียกว่า “นางเล็ด” การทำให้ข้าวแต๋นมีรสชาติ ถ้าเป็นสูตรดั้งเดิมจะผสมน้ำแตงโมลงไปด้วย เรียกข้าวแต๋นน้ำแตงโม ข้าวแต๋นทำจากข้าวเหนียวนึ่ง เอามากดใส่พิมพ์แล้วเอาไปตากแดดให้แห้ง แล้วเอามาทอด
เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 6,463
กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ ๓–๕ ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ ๒๔–๔๘ ชั่วโมง (๑ วัน ๑ คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ ๔–๕ วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๓ เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง ๑ แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ ๑๒๐ องศา นาน ๓๐ นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก ๑ คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,397
ขนมฝอยทอง เส้นของขนมฝอยทองที่จัดวางกันเป็นทบเป็นแพ โดยขั้นตอนการทำฝอยทองเพื่องานมงคลนั้นมีความเชื่อว่าห้ามตัดเส้นฝอยทอง ต้องทำเป็นเส้นยาวๆ สื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง คนไทยนำมาเป็นอาหารหวาน นิยมใช้เป็นขนมเลี้ยงพระในงานมงคลต่างๆ เนื่องจากชื่อขนมมีคำว่า " ทอง " จึงถือเป็นมงคล ขนมฝอยทองในงานเหล่านี้ต้องเป็นเส้นที่ยาวมาก เพราะถือเป็นเคล็ดตามชื่อและลักษณะของฝอยทองว่าทำให้อายุยืนยาว
เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 8,538
เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า ๑ ถ้วยตวง แป้งท้าวยายม่อม ๒ ช้อนโต๊ะ น้ำดอกไม้ ¾ ถ้วยตวง หัวกะทิกรองแล้ว ½ ถ้วยตวง มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด ๑/๓ ถ้วยตวง รากถั่วบุบพอแตก ¼ ถ้วยตวง น้ำตาลทราย ¼ ถ้วยตวง เกลือป่น ½ ช้อนชา สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก พิมพ์ขนมเรไร
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,993
ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 268