เมี่ยงเต้าเจี้ยว
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 5,145
[16.8873721, 98.8173086, เมี่ยงเต้าเจี้ยว]
ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี
ดังนั้นจึงเกิดความคิดริเริ่มที่จะนำสิ่งที่ตนเองนั้นปลูกเอง ทำเอง มารับประทานเป็นอาหารว่าง เช่น เมี่ยงเต้าเจี้ยวและเมี่ยงคำต่างๆ ซึ่งมีส่วนประกอบและวิธีทำดังนี้
วัตถุดิบเครื่องเมี่ยงเต้าเจี้ยวกับข้าวเกรียบงาดำ
1. เครื่องเมี่ยง ประกอบด้วย
- ข้าวพอง เอาข้าวเหนียวตากแห้ง แล้วมาทอดกับน้ำมัน หรือจะใช้ข้าวแตนแทน
- ถั่วลิสงคั่ว
- ขิงสดหั่นเป็นสี่เหลี่ยม
- มะพร้าวเอามาขูดให้เป็นเส้นๆ
- ตะไคร้ซอยบางๆ
- กุ้งแห้ง
- มะนาวหั่นเป็นสี่เหลี่ยม
- กระเทียมปลอกเปลือก
2. เครื่องห่อ ประกอบด้วย
- ข้าวเกรียบงาดำ ชุบน้ำให้นิ่ม
3. เครื่องเคียง ประกอบด้วย
- พริกขี้หนู
- มะเขือพวง
- มะแว้ง
4.เต้าเจี้ยวสำหรับราดเมี่ยง ใช้เต้าเจี้ยวที่ดองเอง จะมีรสเปรี้ยว ควรเติมน้ำสุกพอประมาณ และเติมน้ำตาลให้ออกรสหวาน
วิธีรับประทานกับข้าวเกรียบงาดำ
1. นำข้าวเกรียบงาดำมาชุบน้ำ
2. จัดเครื่องเมี่ยงวางบนข้าวเกรียบงาดำ
3. โรยข้าวตากทอด และมะพร้าว
4. ราดด้วยเต้าเจี้ยว
5. ทำเป็นคำพอประมาณ พร้อมเสิร์ฟ
วิธีการทำน้ำเต้าเจี้ยว ข้อมูลจากสำนักวัฒนธรรมจังหวัดตาก
นางคำ ทิมแพร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการทำเต้าเจี้ยว ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไม้งาม ใช้เวลาในการทำตั้งแต่เริ่มแรกโดยประมาณ 4 วัน จึงได้เต้าเจี้ยวพร้อมที่จะประกอบอาหาร
เต้าเจี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหมักชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง ซึ่งมีโปรตีนสูง ในประเทศไทยนิยมนำเต้าเจี้ยวมาใช้เป็นอาหารชนิดต่างๆ โดยทำเป็นเครื่องจิ้ม เรียกว่า หลน หรือนำมาทำเป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น ทำแป๊ะซะ ผัดราดหน้า ตลอดจนผัดผักชนิดต่าง ๆ ซึ่งนอกเหนือจากจะได้รสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย เมื่อความนิยมในการบริโภคเต้าเจี้ยวมีมากขึ้น จึงก่อให้เกิดการพัฒนากรรมวิธีการผลิต โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ การผลิต ในโรงงานผลิตเต้าเจี้ยว
ในปัจจุบันใช้วิธีการกึ่งวิทยาศาสตร์และกึ่งพื้นบ้านคือ อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเพาะเลี้ยงเชื้อราที่บริสุทธิ์เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อ ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อราอื่นๆ และลดระยะเวลาในการผลิต ส่วนวิธีการกึ่งพื้นบ้านจะใช้ในขั้นตอนการหมักกับเกลือ คือหลังจากได้ถั่วเหลืองที่มีเชื้อราเจริญเต็มที่แล้ว จะนำไปหมักในน้ำเกลือในภาชนะเปิด ปล่อยทิ้งไว้จนได้ที่ ในขั้นตอนนี้จะมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ซึ่งสามารถเจริญได้ดีในสภาพที่มีปริมาณเกลือสูง ทำให้คุณภาพ ความสะอาดและความปลอดภัยในการบริโภคลดลง จึงมีแนวโน้มว่าต่อไปจะมีการนำวิธีวิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิตทั้งหมด เช่น การใช้เชื้อบริสุทธิ์ในการหมักและหมักในภาชนะปิด ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ถูกสุขลักษณะ สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
1. คุณค่าทางโภชนาการ เต้าเจี้ยวเป็นสารชูรสอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรสชาติคล้ายสารสกัดจาก เนื้อสัตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เต้าเจี้ยวยังอุดมด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 17 ชนิด สารชูรสและกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างการหมัก มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด เต้าเจี้ยวมีโปรตีน เนื่องจากในถั่วเหลืองมีโปรตีนมากที่สุด แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบน้ำหนักกับอาหารประเภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง เช่น สูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า สูงกว่าไข่ไก่และข้าวสาลี 4 เท่า สูงกว่าขนมปัง 5-6 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองไม่มีแป้ง จึงทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต ถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 ดี อี เค และไนอะซีน จะพบวิตามินบี 2 มากกว่าพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าถั่วเหลือง ประกอบด้วยไบโอติน โคลิน และอิโนซิทอล ที่ทำหน้าที่คล้ายวิตามินด้วย
2. ประโยชน์ของเต้าเจี้ยว เต้าเจี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองหมักด้วยเชื้อรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ให้อยู่ในรูปที่ย่อยสลายเพื่อนำไปใช้ในร่างกายได้ง่าย เต้าเจี้ยวจึงมีประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตได้ใน2 ลักษณะคือ
2.1 ประโยชน์ในด้านการบริโภค นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการดังกล่าวแล้ว เรายังสามารถดัดแปลงเต้าเจี้ยวให้เป็นอาหารชนิดต่างๆ ได้ เช่น หลนเต้าเจี้ยว น้ำจิ้มข้าวมันไก่ ผัดผักต่างๆ เป็นต้น ทำให้มีอาหารบริโภคได้ หลายชนิด
2.2 ประโยชน์ในด้านการจำหน่าย ในปัจจุบันนี้มีอาหารหลายชนิดที่มีส่วนผสมของเต้าเจี้ยว เพื่อช่วยเสริมรสชาติและกลิ่นที่ดี ผู้ ประกอบอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน เนื่องจากมีขั้นตอนในการผลิตที่มาก ใช้เวลานาน ไม่คุ้มกับการลงทุนเมื่อทำปริมาณน้อย ผู้ประกอบอาหารจึงต้องหาซื้อเต้าเจี้ยวมาใช้เป็นครั้งๆ ไป เต้าเจี้ยวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปจะบรรจุในภาชนะต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน อาชีพการผลิตเต้าเจี้ยวจำหน่ายมีความมั่นคงมากทีเดียว วัตถุดิบสำหรับทำเต้าเจี้ยว วัตถุดิบสำหรับทำเต้าเจี้ยวให้ได้จำนวนเต้าเจี้ยวประมาณ 55 กิโลกรัม มีดังนี้ ถั่วเหลือง (คัดแล้ว) 15 กิโลกรัม แป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้า 8 กิโลกรัม เกลือเม็ด 10 กิโลกรัม น้ำสะอาด 40 กิโลกรัม เชื้อราทำหัวเชื้อ 2-3 ขวดแบน
วิธีการทำเต้าเจี้ยว
1. นำถั่วเหลืองไปแช่น้ำเป็นเวลา 10-15 ชั่วโมง หรือแช่น้ำร้อน 2-3 ชั่วโมง ควรใช้น้ำปริมาณมาก และควรเปลี่ยนน้ำ 1-2 ครั้งระหว่างการแช่ โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด เพราะอาจเกิดการหมักขณะแช่ถั่วเหลืองทำให้มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นเหม็น ควรแช่จนถั่วเหลืองพองตัวเต็มที่
2. นึ่งถั่วเหลืองโดยใช้หม้อนึ่งความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 20-25 นาที หรือต้มถั่วทั้งเมล็ด จะใช้เวลาต้ม 3-4 ชั่วโมง ส่วนถั่วที่โม่ผ่าซีกแล้ว ใช้เวลาต้มเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอ ถั่วที่สุกนิ่มได้ที่ ทดสอบได้โดยการใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้บี้ ถ้าเนื้อถั่วเหลืองถูกบี้แบนโดยง่ายแต่เปลือกยังดีอยู่ แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าบี้แล้วเนื้อถั่วแตกและออกมา แสดงนึ่งไม่พอ และอย่าต้มหรือนึ่งถั่วจนเละ วัตถุประสงค์ในการนึ่งก็เพื่อทำให้ถั่วเหลืองนิ่ม ทำให้คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจนเหมาะกับการเจริญของเชื้อรา เพื่อผลิตเอนไซม์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
3. นำถั่วเหลืองที่นึ่งแล้วมาสะเด็ดน้ำ และผึ่งให้เย็น
4. นำแป้งสาลีไปคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนเป็นสีน้ำตาลอ่อน การคั่วแป้งสาลีจะช่วยปรับความชื้นในถั่วเหลืองไม่ให้สูงมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อนในช่วงการหมักโคจิ ช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่ติดอยู่ที่แป้งสาลี และยังทำให้เต้าเจี้ยวมีกลิ่นหอมและมีสีที่เหมาะ แล้วนำเอาเชื้อราคลุกกับแป้งสาลีให้เข้ากัน เอาไปคลุกคล้ากับถั่วเหลืองให้ทั่วกันดี จนแป้งสาลีทั้งหมดเกาะกับเมล็ดถั่วเหลืองแล้วจึงนำไปใส่ในกระด้ง เกลี่ยให้กระจายทั่วกระด้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางอีกทีหนึ่ง ข้อควรระวัง อย่าคลุกเชื้อรากับแป้งสาลีขณะที่แป้งสาลียังร้อยอยู่
5. บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง 25-30 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-4 วัน ในระยะแรกเชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวยัดเมล็ดถั่วเหลืองติดกัน และเริ่มมีสปอร์สีเหลืองอ่อนจนถึงสีเขียวอ่อน ๆ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรบ่มทิ้งไว้จนสปอร์เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ระหว่างการบ่มจะมีความร้อนเกิดขึ้นมาก จึงควรกลับถั่วในวันที่ 2เพื่อช่วยระบายความร้อน มิฉะนั้นการเจริญของราอาจหยุดลง และเกิดการเน่าเสียจากเชื้อแบคทีเรียได้ ขั้นตอนนี้ของกรรมวิธีการผลิตเต้าเจี้ยวก็มีชื่อเรียกว่า ขั้นโมจิ
6. นำโมจิที่ได้ใส่ลงในขวด ไห โอ่ง หรือบ่อหมัก โดยต้มน้ำละลายเกลือความเข้มข้น 16-22 % และทิ้งไว้ให้เย็น ใส่น้ำเกลือพอท่วมโคจิในอัตราส่วนน้ำเกลือ 2 ส่วน ต่อโคจิ 1 ส่วน การหมักนาน 3-4 เดือน ส่วนผสมระหว่างโคจิและน้ำเกลือ เรียกว่า โมโรมิ สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมปฏิบัติในระหว่างเดือนแรกของการหมัก คือ ต้องทำการคนส่วนผสมวันละครั้งทุกวัน การกวนหรือการคนจะมีผลต่อการหมัก คือ ถ้าหากกวนไม่ตรงเวลา ปล่อยทิ้งไว้หลาย ๆ สัปดาห์ จะทำให้ผิวหน้าเป็นฝ้าสีขาว ซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นที่ผิดปกติกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวจะหายไป แต่ถ้าหากกวนมากเกินไปจะทำให้เกิดลักษณะเหนียวหนืดซึ่งเป็นผลเ
วัตถุดิบเมี่ยงเต้าเจียวกับใบชะพลู
- ตะไคร้หั่น
- ถั่วลิสงคั่ว
- กระเทียม
- พริกขี้หนู
- มะพร้าวขูดเป็นเส้น
- ข้าวพอง
- เต้าเจี้ยว
- ใบชะพลู
วิธีรับประทาน
จัดเครื่องเมี่ยงวางบนใบชะพลู โรยข้าวตากทอด มะพร้าว และราดด้วยเต้าเจี้ยวทำเป็นคำพอประมาณ พร้อมเสิร์ฟ
คำสำคัญ : อาหารพื้นบ้าน
ที่มา : http://sojial.blogspot.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เมี่ยงเต้าเจี้ยว. สืบค้น 14 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=822&code_db=610008&code_type=01
Google search
กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้ การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 5,729
ไส้กรอกถั่ว ขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นถิ่นนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยล้างไส้หมูให้สะอาด และใส่เกลือเพื่อดับความคาวของไส้ นำหมูสับ ถั่วเขียวต้มสุก พริกแกงเผ็ด ผสมให้เข้ากัน เติมน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ใบมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกรอบ นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าใส่ไส้หมูที่จัดเตรียมไว้ให้เต็มและมัดหัวและท้ายของไส้ นำไส้กรอกที่ได้ ย่างไฟอ่อนๆบนเตาถ่าน จนสุกโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ให้รับประทานกับผัก เช่น ผักชีฝรั่ง ผักกาดหอม แตงกวา พริกขี้หนู เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 5,734
แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 3,325
หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 31,902
มันรังนก เป็นขนมท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ส่วนผสมประกอบด้วย มันเทศ น้ำมันสำหรับทอด น้ำตาลปี๊บ แบะแซ งาคั่ว เกลือป่น เริ่มจากการปอกเปลือกมันเทศแล้วรีบแช่ลงในน้ำผสมน้ำมะนาว แล้วจึงหั่นมันเป็นเส้นสี่เหลี่ยมขนาดก้านไม้ขีด ใส่กระด้งผึ่งจนหมาด ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป พอน้ำมันร้อนแบ่งมันลงทอดทีละน้อย จนกรอบเหลืองแล้วช้อนขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ตั้งกระทะทองใส่น้ำ 2/3 ถ้วยตวง ใส่น้ำตาลแบะแซและเกลือเคี่ยวไปจนเหนียวเหมือน “ยางมะตูม” จึงใส่มันทอดลงไปเคล้าให้ทั่วโดยเร็ว โรยงาคั่ว ให้ติดประปรายทั่วไป แล้วจึงยกกระทะลง ใช้ช้อนตักให้เป็นก้อนกลมๆ บางบ้านหยอดลงในถ้วยกระดาษเล็กๆ หรือบางบ้านเพียงแต่ตะล่อมเป็นก้อนกลมๆ โดยไม่ใส่ถ้วยก็ได้ ผึ่งไว้ให้เย็นจึงเก็บเข้าขวดแก้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,243
ขนมตะโก้มีแบบหลากหลายไส้ให้เลือกกิน ทั้งตะโก้เผือก ตะโก้แห้ว ตะโก้ข้าวโพด หรือจะเป็นตะโก้สาคู ถ้วยเล็ก ๆ หยิบจับใส่ปากคำเดียว แต่คนสมัยใหม่ไม่ค่อยนิยมรับประทานกันจึงทำให้หาทานอยากคนส่วนใหญ่มักจะนิยมซื้อมาใส่บาตรทำบุญกัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 6,729
ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 5,710
เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน รวมทั้ง “ทองม้วน” เมื่อรับเอามาแล้วจึงนำมาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเอง และคนสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำขนมชนิดนี้ใส่โหลแก้วหรือปี๊บเก็บไว้ในบ้านสำหรับต้อนรับลูกหลาน ญาติรวมทั้งผู้ที่ไปมาหาสู่ การก่อตั้งกลุ่มรวมกลุ่มแม่บ้านที่ว่างงาน รวมกลุ่มกันทำขนมทองม้วน ได้จัดตั้งชื่อกลุ่มว่ากลุ่มอาชีพแม่บ้านโนนใน ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่าเอื้องนาค
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,818
ขนมข้าวตอกตัด หรือขนมข้าวตอก เป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนผสมสำคัญมีเพียง 3 อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ และน้ำกะทิ นิยมปรุงขึ้นเพื่อใช้ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันสารทไทย วันตรุษไทย หรือในพิธีสู่ขวัญข้าว วิธีการทำขนมข้าวตอกตัด เริ่มจากการนำข้าวเปลือกไปคั่วไฟให้เป็นดอกขาว คัดเปลือกข้าวทิ้งด้วยกระด้ง แล้วจึงนำข้าวตอกที่ได้ไปตำจนละเอียด จากนั้นนำข้าวตอกที่ตำแล้วมาร่อนเพื่อแยกข้าวตอกออกเป็นสามส่วน คือ ข้าวตอกขนาดโตที่จะนำไปผสมกับกะทิ ข้าวตอกขนาดกลางสำหรับโรยบนแม่พิมพ์ และข้าวตอกขนาดเล็กที่มีเนื้อละเอียดสุดจะนำไปโรยหน้า ข้าวตอกเป็นขนมท้องถิ่นที่ใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเป็นขนมหรืออาหารว่าง หรือใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น จัดวางในบายศรีสู่ขวัญข้าว หรือในชะลอมเพื่อนำไปถวายพระในวันหรือเทศกาลสำคัญต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 15,093
แกงหน่อไม้บางคนก็เรียก “แกงลาว” หรือ “แกงเปรอะ” มีใบย่างนางเป็นส่วนประกอบหลัก ใบย่านางจะช่วยเรื่องแก้ความขื่นและขมของหน่อไม้ได้เป็นอย่างดีนับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ใบย่านางเป็นพืชหาง่าย คุณสมบัติเป็นสมุนไพร นิยมคั้นเอาน้ำจากใบมาทำเป็นอาหาร มากกว่ารับประทานใบสด จังหวัดกำแพงเพชรมีประชาชนย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสานเป็นจำนวนมาก และได้นำเอาอาหารท้องถิ่นอย่างแกงหน่อหรือแกงลาว มายังพื้นที่กำแพงเพชรด้วย นอกจากนั้นแล้วแกงหน่อไม้เป็นที่นิยมของชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากหมู่บ้าน มีการปลูกหน่อไม้เลี้ยงค่อนข้างมากแกงหน่อไม้จึงเป็นที่นิยมเพราะหากินได้ง่ายมาก
เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 3,013