ข้าวหลาม

ข้าวหลาม

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้ชม 4,919

[16.4746716, 99.5341822, ข้าวหลาม]

        ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร

วิธีทำ
        1. ตัดไผ่ข้าวหลามให้ยาวประมาณ 12 นิ้ว ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำกระบอกลง พักไว้ให้แห้ง
        2. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย
        3. ล้างข้าวสารให้สะอาดจนกระทั่งน้ำใส นำข้าวใส่ตระกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
        4. นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มกระบอก เลือกด้านบนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก
        5. เทน้ำกะทิที่ผสมแล้ว ใส่ลงไปในกระบอกข้าวทีละน้อย จนกระทั่งน้ำกะทิท่วมข้าว
        6. พับใบเตยเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปิดกระบอกข้าวหลาม แล้วนำกาบมะพร้าวม้วนเป็นทรงกลมมาปิดอีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ประมาณ 5- 6 ชั่วโมง
        7. เผาข้าวหลามกับถ่านไม้ พอกระบอกเหลืองให้หมุนกระบอกข้าวหลาม ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอกมีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก
        8. ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่าย

คล็ดลับในการปรุง
        การเตรียมถั่วดำ ควรแช่ถั่วก่อนต้ม ประมาณ 2 ชั่วโมง
        การใส่ข้าวลงในกระบอกไม้ไผ่ ควรจะกระแทกกระบอกเบาๆ เพื่อให้ข้าวเกาะอยู่รวมกันและแน่นเต็มกระบอก
ใส่กะทิลงไปในกระบอกข้าวหลามที่ละน้อย เพื่อไล่ฟองอากาศออกมาให้หมด จนกระทั่วน้ำกะทิท่วมข้าว และ ควรทิ้งไว้ 5-6 ชั่วโมง เพื่อให้ข้าวได้ดูดซับน้ำกะทิไว้ เพื่อให้ได้ข้าวหลามที่มีรสชาติอร่อย

เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
       ควรเลือกข้าวใหม่ คุณภาพดี เมล็ดข้าวสวยไม่หัก
       ใช้ไผ่ข้าวหลามเท่านั้น ในการทำกระบอกข้าวหลาม เพราะด้านในกระบอกจะมีเยื่อไม้ เหมาะสำหรับการทำข้าวหลาม

ภาพโดย : http://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-06-2014&group=23&gblog=15

 

คำสำคัญ : ข้าวหลาม

ที่มา : http://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=cmu2807&month=27-06-2014&group=23&gblog=15

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ข้าวหลาม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=567&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=567&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

กล้วยกวนตองแก้ว

กล้วยกวนตองแก้ว

กล้วยน้ำว้าของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้ามีจำนวนมากมายสามารถที่จะให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้เอง ก่อให้เกิดแนวคิดสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าแปรรูปเพื่อนำออกขาย เช่น กล้วยอบ กล้วยอบกรอบ กล้วยม้วนนิ่ม นอกเหนือจากขายกล้วยสด หรือกล้วยตากเท่านั้นหนึ่งในสินค้า กล้วยน้ำว้า แปรรูปที่ว่านั้นก็ได้แก่กล้วยกวน ซึ่งกรรมวิธีค่อนข้างจะง่าย แต่ก็ต้องใช้เวลาและพละกำลังกันพอสมควร กล่าวคือเมื่อได้เนื้อกล้วยที่จำเป็นจะต้องสุกงอม เพื่อความสะดวกในการกวนแล้ว จะต้องนำมาบดอัดก่อนใส่กระทะกวนด้วยไฟร้อนๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,085

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอก

ขนมข้าวตอกตัด หรือขนมข้าวตอก เป็นขนมพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของชุมชนโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนผสมสำคัญมีเพียง 3 อย่างคือ ข้าวเปลือกข้าวเหนียว น้ำตาลปี๊บ และน้ำกะทิ นิยมปรุงขึ้นเพื่อใช้ในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันสารทไทย วันตรุษไทย หรือในพิธีสู่ขวัญข้าว วิธีการทำขนมข้าวตอกตัด เริ่มจากการนำข้าวเปลือกไปคั่วไฟให้เป็นดอกขาว คัดเปลือกข้าวทิ้งด้วยกระด้ง แล้วจึงนำข้าวตอกที่ได้ไปตำจนละเอียด จากนั้นนำข้าวตอกที่ตำแล้วมาร่อนเพื่อแยกข้าวตอกออกเป็นสามส่วน คือ ข้าวตอกขนาดโตที่จะนำไปผสมกับกะทิ ข้าวตอกขนาดกลางสำหรับโรยบนแม่พิมพ์ และข้าวตอกขนาดเล็กที่มีเนื้อละเอียดสุดจะนำไปโรยหน้า ข้าวตอกเป็นขนมท้องถิ่นที่ใช้ทั้งเพื่อการบริโภคเป็นขนมหรืออาหารว่าง หรือใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น จัดวางในบายศรีสู่ขวัญข้าว หรือในชะลอมเพื่อนำไปถวายพระในวันหรือเทศกาลสำคัญต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 11,509

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด ขนมพื้นบ้านของคนจังหวัดกำแพงเพชร โดยนำแป้งข้าวเจ้ากวนกับน้ำให้สุก และนำลงมานวดพร้อมแป้งมันสำปะหลัง ขั้นตอนการทำไส้ขนมจีบ นำหน่อไม้ หมูสับ กุ้งแห้ง พริกไทยป่น ต้นหอม ผักชีสับผสมให้เข้ากัน นำแป้งนวดแยกเป็นก้อนขนาดเท่าหัว รีดแป้งให้บาง นำแป้งที่รีดแผ่นห่อกับไส้ที่ได้ และนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที ขนมจีบสุขดีแล้ว นำลงมาคลุกกับน้ำมัน และคุกกับน้ำมัน โรยกระเทียมเจียว เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียง แตงกวา ผักชีใบยาว พริกขี้หนู

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 6,211

ส้มแผ่น

ส้มแผ่น

ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 2,746

แกงขี้เหล็ก

แกงขี้เหล็ก

แกงขี้เหล็ก เป็นการนำใบอ่อน ดอกและยอดของต้นขี้เหล็ก ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย มาปรุงเป็นอาหาร นอกจากจะรับประทานในครัวเรือน ยังนิยมปรุงเลี้ยงแขกเทศกาลงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ด้วยรสชาติของขี้เหล็กมีรสขม ก่อนปรุงจึงต้องนำมาต้มน้ำทิ้งก่อน ช่วย ลดสารที่เป็นพิษ และทำให้มีรสชาติดีขึ้นเมื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร แกงขี้เหล็กช่วยให้ถ่ายง่าย สบายท้อง ในยอดอ่อน และใบขี้เหล็ก ประกอบด้วย เบตาคาโรทีน ใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ในปริมาณที่สูงกว่าผักชนิดอื่นๆ การรับประทานแกงขี้เหล็ก จึงเหมือนกับรับประทานยาด้วยเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,460

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,101

ขนมถั่วกวน

ขนมถั่วกวน

"ถั่วกวน" หรือ "ถั่วอัด" เป็นอีกหนึ่งขนมไทยโบราณที่หาทานอร่อยได้ยาก ในสมัยก่อนขนมไทยจะทำเฉพาะเวลามีงานสำคัญเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นในงานเทศกาล งานประเพณี งานทางศาสนา หรือการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่ที่เห็นมีขนมหลากหลายกินทุกวัน หลังสำรับคาวหวานหรือกินเป็นของว่าง ก็ล้วนแต่คิดประดิดประดอยขึ้นภายหลังแล้วทั้งสิ้น รวมถึงขนมจากต่างชาติที่เข้ามาโดยผ่านความสัมพันธ์ทางการเมือง ก็ถูกดัดแปลง ให้มีรูปรส ลักษณะเป็นแบบไทยๆจนบางทีนึกกันไปว่าเป็นขนมไทยแท้ดั้งเดิมก็มี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,768

ขนมดอกดิน

ขนมดอกดิน

ขนมดอกดิน ขนมพื้นบ้านของคนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร วิธีทำล้างดอกดินให้สะอาด และปั่นกับกะทิเล็กน้อยจะละเอียด ผสมกะทิ น้ำตาลปีบ เกลือ แป้งข้าวเหนียว ละลายให้เข้ากัน และใส่ดอกดิน คนให้เข้ากัน ตั้งลังถึงบนไฟแรงวางกระทงลงในลังถึง รอน้ำเดือด หยดส่วนผสมลงในกระทงจนเกือบเต็ม ใช้เวลาการนึ่ง 15 นาที หยอดกะทินึ่งต่ออีก 5 นาที จนสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 9,650

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบน ๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,445

แกงนอกหม้อ

แกงนอกหม้อ

หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 23,005