พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 3,378

[16.4880015, 99.520214, พระพิมพ์ชินปางสมาธิ]

ชื่อโบราณวัตถุ :    พระพิมพ์ชินปางสมาธิ
             แบบศิลปะ :   ศิลปะสุโทัย
             ชนิด :   สำริด
             อายุสมัย :  (พุทธศตวรรษที่ 19-20)
             ลักษณะ :   เป็นพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย) จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกันซึ่งเรียกว่า (ปางขัดสมาธิเพชร)
             ประวัติ :  เป็นท่านั่งสมาธิหลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน ซึ่งเป็นส่วนของรูปสมาบัติ ที่เรียกว่า "เข้าฌานสมาบัติ" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์วิปัสสนา จนได้บรรลุ "ญาณ" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ 3 ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจสี่ คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) วิธีดับทุกข์ (มรรค) และกำจัดอวิชชาไปจนสิ้นจากกมลสันดาน
             สถานที่พบ :    พบจากกรุวัดอาวาสน้อย จังหวัดกำเเพงเพชร นายพจนารถ พจนพาที มอบให้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
             สถานที่จัดแสดง :   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ภาพโดย :  http://www.wikiwand.com

คำสำคัญ : พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

ที่มา : http://www.wikiwand.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพิมพ์ชินปางสมาธิ. สืบค้น 6 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=323&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=323&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

กระปุกลายคราม

กระปุกลายคราม

           กระปุกลายคราม  ศิลปะจีน สมัยรัชกาลวงศ์หมิง ราวต้น(พุทธศตวรรษที่ ๒๒)  พบที่บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 2,522

พระอิศวร

พระอิศวร

พระอิศวร  ศิลปะอยุธยา (ระบุมหาศักราช1432 หรือ  พ.ศ 2053)  เจ้าพระยาธรรมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๓ สถานที่ประดิษฐานแต่เดิมคือ ศาลพระอิศวร ซึ่งตั้งอยู่หลังศาลจังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 925

บาลีดินเผา

บาลีดินเผา

บาลีดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 884

เเท่นหินเเละหินบด

เเท่นหินเเละหินบด

เเทนหินเเละหินบด ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗)  พบที่เมืองไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,722

ครกพร้อมสาก

ครกพร้อมสาก

ครกพร้อมซาก  สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) พระครุวิเชียรธรรมดชติ เจ้าอาวาสวัดบาง อำเภอเมือง มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,974

เเม่พิมพ์ดินเผาพระพิมพ์ปางสมาธิ (พระเชตุพน)

เเม่พิมพ์ดินเผาพระพิมพ์ปางสมาธิ (พระเชตุพน)

เเม่พิมพ์ดินเผาพระพิมพ์ปางสมาธิ (พระเชตุพน) ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) มอบจากโรงเรียนนครชุม 

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 841

กระบวยสำริด

กระบวยสำริด

กระบวยสำริด ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) พบในบริเวณบ้านศรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายนิเวศน์ มูลโมกข์ มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,659

ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล

ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล

ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-22)  พบที่วัดอาวาสใหญ่ จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2017 ผู้เช้าชม 1,489

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชร

ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทองจ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 672

หงส์ดินเผา

หงส์ดินเผา

หงส์ดินเผา  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21)  พบจากการขุดเเต่งที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,215