หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 1,032

[16.3678901, 99.636089, หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย]

ชื่อ : 
     หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

ประวัติความเป็นมา :
     หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาด กว้าง 2.70 เมตร สูง 3.30 เมตร อายุสมัย สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ อิฐ ฉาบปูน  ประวัติพระพุทธรูปองค์นี้ ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระเนตรเรียวเล็กเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บาง พระกรรณทั้งสองข้างยาว ปลายงอนออก เม็ดพระศกเป็นก้นหอย พระอุษณีษะเป็นรูปมะนาวตัด พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง ครองจีวรห่มเฉียงแบบพระองค์ ชายสังฆาฏิจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ขัดสมาธิราบ ประทับนั่งบนอาสนาดอกบัว พระบรมโพธิสัตว์ (พระพุทธเจ้าก่อนบรรลุธรรม) ได้เสด็จไปประทับใต้ต้นมหาโพธิ์ในเวลาเย็น และนั่งสมาธิกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา เพื่อการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ แต่จิตของพระองค์ แทนที่จะคิดไปในทาง โลกุตตรธรรม กลับหันไปคิดถึง โลกิยสุข แต่เมื่อครั้งอยู่ครองเรือน ในหนหลัง และผู้แต่งปฐมสมโพธิกถา ได้แสดงการผจญในโลกิยสุขของพระบรมโพธิสัตว์โดยใช้การผจญของมารเป็นสัญญลักษณ์ ดังนี้ว่าเป็น พระยาวัสสวดีมารซึ่งคอยติดตามพระองค์อยู่ จึงเข้าขัดขวาง โดยขี่ช้างคิรีเมขละ นำเหล่าเสนามารจำนวนมากเข้ามารบกวน หวังให้พระองค์เกรงกลัวจะได้ลุกขึ้นเสด็จหนีไป แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งเป็นปกติโดยมิได้ทรงหวั่นไหว พระยามารจึงโกรธมาก สั่งให้เสนามารกลุ้มรุมกันประหารพระองค์ พระองค์จึงทรงนึกถึงบารมี 30 ทัศ ที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมาทุกชาติ โดยขอให้นางแม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีจึงผุดขึ้นมาจากพื้นดิน แล้วบิดมวยผมจนน้ำท่วม กระแสน้ำก็พัดพาพวกเสนามารไปหมดสิ้นพระยาวัสสวดีมารจึงยอมแพ้หนีไป

คำสำคัญ : พระพุทธรูป หลวงพ่อโต

ที่มา : https://khonthi.go.th/travel/detail/352/data.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1123&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1123&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

เสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาและเทพพนม

เสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาและเทพพนม

เสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาและเทพพนม  ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่21-22) พบที่วัดพระนอน จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 1,177

ท่อนองค์เทวสตรี

ท่อนองค์เทวสตรี

ท่อนองค์เทวสตรี ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) เดิมประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,449

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ 
          ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) พบจากกรุวัดอาวาสน้อย จังหวัดกำเเพงเพชร นายพจนารถ พจนพาที มอบให้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,032

เศียรเทวดาปูนปั้น

เศียรเทวดาปูนปั้น

เศียรเทวดาปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูง 27 เซนติเมตร กว้าง 14.5 เซนติเมตร พบที่วัดร้างข้างโรงเรียนนารีวิทยา นายประเสริฐ  ศรีสุวพันธ์ มอบให้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,525

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,055

กระบวยสำริด

กระบวยสำริด

กระบวยสำริด
           ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-22) พบในบริเวณบ้านศรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายนิเวศน์ มูลโมกข์ มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,940

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาดสูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,916

พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร)

พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร)

พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร)  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูงพร้อมฐาน 20 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 9 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,573

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น

เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น  ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 13-15)  พบที่วัดไตรตรึงษ์ (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร

 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,984

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส

พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 23 - 24) มีขนาด สูงพร้อมฐาน 20.5 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,758