เเท่นหินเเละหินบด
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 3,731
[16.4880015, 99.520214, เเท่นหินเเละหินบด]
ชื่อโบราณวัตถุ : เเทนหินเเละหินบด
แบบศิลปะ : ศิลปะลพบุรี
ชนิด : สำริด
ขนาด : กว้างประมาณ ๑๕ ซนติเมตร หนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร
อายุสมัย : (พุทธศตวรรษที่ 16-17)
ลักษณะ : หินบดยามีส่วนประกอบคือ แท่นหิน และลูกบดหิน แท่นหินมักสกัดหินเป็นแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตา กว้างประมาณ ๑๕ ซนติเมตร หนาประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ส่วนลูกบดหิน สกัดหินเป็นรูปทรงกระบอก ปลายมน ๒ ข้าง ลูกบดหินมีความยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
ประโยชน์ใช้สอย : เป็นเครื่องมือบดยาแผนโบราณให้ละเอียด เพื่อทำเป็นยาใช้รักษาโรคต่างๆ
ประวัติ : สำหรับการใช้แท่นหินบดที่ใช้กันในพื้นบ้านคงใช้ตัวยาสมุนไพร ทา ต้ม และบดตัวยาให้ละเอียดเก็บเป็นผงหรือเม็ดไว้ได้นาน รวมทั้งสามารถละลายน้ำได้เร็ว วิธีใช้หินบดยา ก่อนใช้ต้องนำเอาตัวยาจากสมุนไพรไปใส่ครกไม้หรือครกหินตำให้ละเอียดเสียก่อน ใช้ตะแกรงหรือแร่งใส่ตัวยาร่อน นำผลซึ่งร่อนนั้นไปผสมกับตัวยาอื่นๆ ตามสัดส่วนของการทำยาแผนโบราณ จากนั้นวางยาไว้ในแท่นหินทีละน้อยแล้วจับลูกหินบดยากดทับแท่นหินครูดไปมา ขณะบดยาจะใช้น้ำ น้ำผึ้งพรมให้ยาเปยก บดจนตัวยาเข้ากันก็นำไปปั้นเป็นเม็ดเล็กๆ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทันสมัยสะดวกและรวดเร็วเข้ามาแทนที่ การใช้แท่นหินบดยาจึงไม่ค่อยมีให้เห็นแล้ว
สถานที่พบ : พบที่เมืองไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำเเพงเชร
ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
คำสำคัญ : เเท่นหินเเละหินบด
ที่มา : เลขที่ 104/5 ถนนปิ่นดำริห์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เเท่นหินเเละหินบด. สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=318&code_db=610012&code_type=01
Google search
แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างล้อม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,604
หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาด กว้าง 2.70 เมตร สูง 3.30 เมตร อายุสมัย สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ อิฐ ฉาบปูน ประวัติพระพุทธรูปองค์นี้ ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระเนตรเรียวเล็กเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บาง พระกรรณทั้งสองข้างยาว ปลายงอนออก เม็ดพระศกเป็นก้นหอย พระอุษณีษะเป็นรูปมะนาวตัด พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง ครองจีวรห่มเฉียงแบบพระองค์ ชายสังฆาฏิจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ขัดสมาธิราบ ประทับนั่งบนอาสนาดอกบัว
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 795
หินลับเครื่องมือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์(อายุประมาณ 2,500-1,500 ปีมาเเล้ว) พบที่เเหล่งโบราณคดีเขากะล่อน บ้านหาดชะอม ตำบลท่าพุทรา อำเภอขารุวรลักษบุรี ขังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2017 ผู้เช้าชม 2,233
โอ่งสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20) พบที่ วัดช้าง (วัดนาควัชรโสภณ) อำเภอเมืองกำแพงเพชร มีขนาด สูง 105 เซนติเมตร ปากกว้าง 34 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 4,374
ใบเสมาหินชนวน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21 - 22) มีขนาด สูง 245 เซนติเมตร กว้าง 74 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,236
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางเสวยมธุปายาส ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 23 - 24 ) มีขนาด สูงพร้อมฐาน 20.5 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,322
พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๒) พบในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,292
ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทองจ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 675
พระพุทธรูปปางสมาธิ (สรณังกร) ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูงพร้อมฐาน 20 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 9 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,230
เศียรพระพรหมปูนปั้น ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่21) พบที่วัดพระเเก้ว จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 883