พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 3,707

[16.4880015, 99.520214, พระพิมพ์ชินปางสมาธิ]

ชื่อโบราณวัตถุ : พระพิมพ์ชินปางสมาธิ
แบบศิลปะ : ศิลปะสุโทัย
ชนิด : สำริด
อายุสมัย : (พุทธศตวรรษที่ 19-20)
ลักษณะ : เป็นพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท (เท้า) ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย) จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถประทับนั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกันซึ่งเรียกว่า (ปางขัดสมาธิเพชร)
ประวัติ : เป็นท่านั่งสมาธิหลังจากพระพุทธเจ้าทรงกำจัดพระยามาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก (ปางมารวิชัย) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุถฌาน ซึ่งเป็นส่วนของรูปสมาบัติ ที่เรียกว่า "เข้าฌานสมาบัติ" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์วิปัสสนา จนได้บรรลุ "ญาณ" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "อภิญญาญาณ" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ 3 ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "จุตูปปาตญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจสี่ คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) วิธีดับทุกข์ (มรรค) และกำจัดอวิชาไปจนสิ้นจากกมลสันดาน
สถานที่พบ : พบจากกรุวัดอาวาสน้อย จังหวัดกำเเพงเพชร นายพจนารถ พจนพาที มอบให้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ภาพโดย : http://www.wikiwand.com

คำสำคัญ : พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

ที่มา : http://www.wikiwand.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพิมพ์ชินปางสมาธิ. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=323&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=323&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

เศียรยักษ์ดินเผา

เศียรยักษ์ดินเผา

เศียรยักษ์ดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 969

หม้อตาล

หม้อตาล

หม้อตาล ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23) 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,965

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา

อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 936

พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา

พระพุทธรูปปางลีลา ขนาด สูงฐาน 1.55 เซนติเมตร อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ สำริด ประวัติ องค์พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบทที่เคลื่อนไหว หรือเดินบนแท่นบัวหงายที่มีลักษณะรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ก้าวพระบาทซ้ายไปข้างหน้า ยกสันพระบาทขวาขึ้นเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยลงขนานไปกับพระวรกายพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดเป็นศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 17,123

เสมาหินชนวน

เสมาหินชนวน

ใบเสมาหินชนวน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21 - 22) มีขนาด สูง 245 เซนติเมตร กว้าง 74 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,351

พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย

พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย

พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย 
          ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 22) พบในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,491

บาลีดินเผา

บาลีดินเผา

บาลีดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,004

พระอิศวร

พระอิศวร

พระอิศวร ศิลปะอยุธยา (ระบุมหาศักราช1432 หรือ พ.ศ 2053) เจ้าพระยาธรรมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๓ สถานที่ประดิษฐานแต่เดิมคือ ศาลพระอิศวร ซึ่งตั้งอยู่หลังศาลจังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,068

ผอบสำริด

ผอบสำริด

ผอบสำริด  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-22) พบในบริเวณบ้านสรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายบุณส่ง มูลโมกข์ มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 1,549

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาด กว้าง 2.70 เมตร สูง 3.30 เมตร อายุสมัย สุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ อิฐ ฉาบปูน  ประวัติพระพุทธรูปองค์นี้ ลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระเนตรเรียวเล็กเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บาง พระกรรณทั้งสองข้างยาว ปลายงอนออก เม็ดพระศกเป็นก้นหอย พระอุษณีษะเป็นรูปมะนาวตัด พระรัศมีเป็นรูปเปลวเพลิง ครองจีวรห่มเฉียงแบบพระองค์ ชายสังฆาฏิจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ ขัดสมาธิราบ ประทับนั่งบนอาสนาดอกบัว

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 920