วัดดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 1,680
[16.496092, 99.519300, วัดดงหวาย]
วัดที่อยู่นอกบริเวณอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ วัดดงหวาย ก่อนที่จะเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ วัดดงหวาย มีชื่อเสียงมาก ในการค้นพบพระเครื่องและพระบูชา วัดดงหวายตั้งอยู่แนวถนนพระร่วง เป็นวัดขนาดใหญ่ ก่อนที่จะตัดถนน กำแพงเพชร – สุโขทัย สภาพวัดสมบูรณ์มาก
วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วน ได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย บริเวณข้างวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่ มิใช่สระที่สำหรับขุดเอาศิลาแลง แต่เป็นสระน้ำที่ขุดไว้เพื่อใช้น้ำจริงๆ บริเวณนี้คงขาดน้ำมาก อาจเป็นเพราะน้ำเปลี่ยนทิศทาง หรือท่อปู่พญาร่วงที่ผ่านบริเวณนี้ ถูกถมหายไป ตามหลักฐานจากจารึกฐานพระอิศวร
เจดีย์ประธานวัดดงหวาย เป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระเฉพาะด้านหน้าคือทางทิศตะวันออก เพียงด้านเดียว เจดีย์มีลักษณะต่ำกว่าพื้นปกติ และต่ำกว่าพื้นวิหาร น่าจะมีการบูรณะ ปฎิสังขรณ์วิหารในภายหลัง เจดีย์รายที่อยู่ รอบเจดีย์ประธาน การสร้างค่อนข้าง ไม่เป็นระเบียบ เพราะคงมีการมาสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง ในเนื้อที่ที่จำกัด ลักษณะเด่นขององค์เจดีย์ประธานคือ การสร้างฐานแปดเหลี่ยมลดหลั่น ลงมาหลายชั้น จนทำให้รูปทรงของเจดีย์เพรียว ชลูด ชั้นบัวถลาทำเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย สามชั้นองค์ระฆังเล็กมาก นักวิชาการบางท่านให้ข้อสังเกตว่า ฐานแปดเหลี่ยมลักษณะนี้ อาจได้รับอิทธิพลมาจากล้าน มาพัฒนาให้เป็นลักษณะเจดีย์ ในรูปแบบของกำแพงเพชร
วิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ฐานเดิมก่อด้วยศิลาแลง มาเสริมอิฐ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเป็นแบบฐานหน้ากระดาน เป็นอาคารขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับ พระประธาน ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ เพียงแค่พระอุระ พระเศียร และพระอังสะ พังทลายไปสิ้น แต่ดูจากพุทธลักษณะเท่าที่ปรากฏ มีรูปทรงที่งดงามมาก รอบฐานพระพุทธรูปยังมีลายปูนปั้น รูปกลีบบัวคว่ำและบัวหงาย และมีเส้นเกสรบัวประกอบที่งดงามมาก ลายกลีบบัว ปูนปั้นนี้ มีรูปแบบคล้ายฐานกลีบบัว คว่ำบัวหงาย ของพระพุทธรูป สำริด แบบเชียงแสนรุ่นแรก วัดดงหวาย คงได้รับอิทธิพล จากล้านนา มาผสมผสานกับศิลปะของสุโขทัย แล้วพัฒนามาเป็นศิลปะของกำแพงเพชร ในที่สุด
วัดดงหวาย อยู่ริมถนนก็จริง แต่มิใคร่มีคนมาเที่ยวชม เพราะมุมมอง จากถนนไม่งดงาม แต่ถ้ามามองทางด้าน หน้าวัด คือทางทิศตะวันออกแล้ว เป็นวัดที่งดงามมาก ที่ชัดเจน
ภาพโดย : http://tis.dasta.or.th/dasta_survey//tourist_profile_img/dasta_3_20170725105429.jpg
คำสำคัญ : วัดดงหวาย,อุทยานประวัติศาสตร์,กำแพงเพชร
ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NG.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดดงหวาย. สืบค้น 8 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=289&code_db=610009&code_type=01
Google search
เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 1,726
วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,298
วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรม ที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 1,830
เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,200
ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 6,312
หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,939
สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,955
เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,808
วัดอุทุมพร ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 72 วา ติดต่อกับลำคลองสวนหมาก ทิศใต้ยาว 72 วา ติดต่อกับที่ดินของนายพูล สุวรรณดี ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดต่อกับที่ดินของนางเทอม ขำแนม ทิศตะวันตกยาว 40 วา ติดต่อกับคลองซอย และที่ดินของนายยม ป้อมภา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อยู่ริมคลองสวนหมาก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 58 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กฎีสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานรูปปั้น 1 องค์ (หลวงพ่อสัมฤทธิ์)
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 608
วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 5,436