วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,534

[16.5024434, 99.447102, วัดเจดีย์กลม]

            บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเมืองมรดกโลกในเขตอรัญญิกที่มีวัดขนาดน้อยใหญ่เรียงรายติดต่อกันราว40วัดแต่ละวัดล้วนก่อสร้างด้วยศิลาแลงที่เป็นภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชรและผู้คนที่มาเที่ยวชมพากันมหัศจรรย์ใจว่าสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมที่หลากหลายล้วนมีความเป็นกำแพงเพชร คือเอกลักษณ์ที่เด่นเฉพาะตัวสมเป็นเมืองมรดกโลก
            วัดเจดีย์กลม เป็นที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกันทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลมอาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใดวันนี้ไปสำรวจอย่างใกล้ชิดและละเอียด พบว่าวัดเจดีย์กลมมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากทุกวัด เท่าที่เคยสำรวจมาแล้ว ทั้งนครชุม นครไตรตรึงษ์และกำแพงเพชรเกือบร้อยวัดยังไม่พบสถาปัตยกรรมใดเหมือนวัดเจดีย์กลม ด้านหน้าของวัดหันไปทางทิศตะวันออกตามแบบฉบับทั่วไปของวัดทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ฐานวิหารมีการก่อสร้างสองชั้น ชั้นแรกสูงประมาณเกือบสองเมตรยังมองเห็นแนวก่อสร้างอย่างชัดเจนและลงตัวทั้งสองด้านของพระวิหารมีบันไดขึ้นทั้งสองด้าน ร่องรอยเป็นบันไดที่ไม่ใหญ่โตนักเมื่อเปรียบกับขนาดวิหาร ด้านหน้ามีลานกว้าง ราว100 ตารางเมตร ถัดขึ้นไป มีการก่อสร้างวิหารอีกชั้นหนึ่งสูงราว 1 เมตร มีระเบียงและหลังคาด้านหน้าหลังบนพระมหาวิหารหน้าองค์พระประธาน มีร่องรอยการขุดพระ ที่ลึกกว่าสามเมตร กว้างกว่า หกเมตร นับว่าเป็นหลุมใหญ่ที่สุดเท่าที่พบ บริเวณฐานพระประธาน เจาะลึกลงไปกว่าสองเมตร พบเพียงแนวของฐานพระเท่านั้น พบหลักฐานใดๆเลยสิ่งที่นับว่าไม่เหมือนวัดใดเลยคือเจดีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับวิหารเท่าที่พบเราพบอยู่วัดเดียวคือวัดอาวาสน้อยที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่คล้ายกัน ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ที่ โดดเด่นของของวัดเจดีย์กลม คือฐานเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนฐานวิหารนั้น เป็นลักษณะกลมงดงามมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำศิลาแลงขนาดใหญ่มาก่อให้กลมกลึงนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ถัดจากฐานเจดีย์กลมขึ้นมา กลับไม่มีองค์เจดีย์ แต่เป็นลักษณะเหมือนการก่อห้องสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่บนเจดีย์ ยังมีหลักฐานที่เห็นได้ชัดนับว่าเป็นโบราณสถานที่ไม่เหมือนที่แห่งใดอาจสันนิษฐานได้หลายแนวทางควรที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีจะได้สืบค้นและหาความจริงกันต่อไปว่าทำไมเจดีย์ประธานวัดเจดีย์กลม จึงมีสัณฐานและสถาปัตยกรรมที่ ไม่เหมือนที่แห่งใดเลย ถัดไปจากเจดีย์กลม มีซุ้มพระขนาดเล็กอาจเป็นสิ่งก่อสร้างภายหลัง ถูกขุดทำลายไปเช่นกัน หลังซุ้มพระเป็นสิ่งก่อสร้างคล้ายศาลา ขนาดปานกลาง แต่เสาศิลาแลงเป็นการตัดศิลาแลงมาทั้งต้น มีทั้งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และถูกขุดค้นทำลาย แทบไม่น่าเชื่อว่า เสาศิลาแลงขนาดใหญ่จะหักเป็นท่อนๆไปได้ทั้งๆที่น่าจะทำลายได้ยากยิ่งในบริเวณเขตสังฆาวาสพบบ่อน้ำขนาดกลางอยู่หนึ่งบ่อนอกนั้นเป็นป่าทึบไม่พบสิ่งก่อสร้างใดๆเลยวัดเจดีย์กลมมีอะไรหลายอย่างที่เราควรจะได้ศึกษาเปรียบเทียบภูมิปัญญากับสถาปัตยกรรมแล้วเราจะพบคำตอบที่น่าหลงใหลว่าเมื่อเจาะลึกลงไปในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแล้วจึงมีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ จนได้รับยกย่องเป็นเมืองมรดกโลก

             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
            รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                        
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
            
อัตราค่ายานพาหนะ
                        
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
                        รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
                        รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
                        รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
                        รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=2&code_db=DB0011&code_type=

คำสำคัญ : วัดเจดีย์กลม

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเจดีย์กลม. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=304&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=304&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,394

วัดเทพโมฬี

วัดเทพโมฬี

ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,061

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในสังคม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตและแข่งขันกันสูง ทุกประเทศเริ่มนำสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์มาเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกันอย่างดุเดือด จังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม จากการได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกจาก UNESCO โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นจุดขาย เช่นเดียวกันกับ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 591

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,260

วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,013

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,712

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 1,861

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท

เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,641

วัดหนองลังกา

วัดหนองลังกา

กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,822

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,092