วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,385

[16.4960313, 99.4398593, วัดเตาหม้อ]

              เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของวัดเตาหม้อ เมื่อแรกเข้าไปศึกษาในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จะมองไม่เห็นวัด เตาหม้อเลย เพราะจะถูกปกคลุมด้วย ป่าไม้ ไม่สามารถเดินเข้าไปชมได้ นอกจากผู้ที่มีอาชีพขุดพระเท่านั้น ที่ยังเข้าไปขุดค้นสมบัติอยู่ได้เข้ามาชม วัดเตาหม้อเป็นครั้งที่สาม เมื่อย่างเข้าไปในเขตวัด เห็นพระวิหารขนาดใหญ่มาก มีขนาดกว้าง ประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 40เมตร บนวิหารมีพระพุทธรูปที่ก่อด้วยศิลาแลง ขนาด นั่งสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร สภาพยังเห็นเป็นองค์พระได้อย่างชัดเจน 1 องค์ ส่วนอีกองค์หนึ่งที่ประทับนั่งคู่กัน ได้ถูกนักเลงขุดพระทำลายไปเสียแล้ว เห็นเพียงฐานพระ ขนาดเท่ากับองค์ที่เหลือ ตั้งตระหง่านอย่างงดงาม คู่กันอย่างบนวิหาร ด้านหลังของพระประธาน ได้ถูกเจาะเพื่อหาสมบัติ น่าเสียดายถ้าไม่รีบบูรณะพระพุทธรูปจะพังลงมาก่อน จะมองไม่เห็นความงาม ของพระพุทธรูปขนาดยักษ์ทั้งสององค์หลังพระวิหารเจดีย์ประธานสัณฐานมณฑป ขนาดใหญ่มาก ยอดของเจดีย์ประธานยังหักตกลงมาให้เห็นเป็นหลักฐาน ภายในเจดีย์ประธานถูกขุดค้นอย่างไม่มีชิ้นดี เพื่อหาพระพุทธรูป พระเครื่องและสมบัติ ที่คนโบราณฝังไว้ ถัดไปเป็นเจดีย์อีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ติดกับ เจดีย์ประธาน แต่ขนาดย่อมลง ด้านหลังเป็นเจดีย์รายขนาดใหญ่จำนวนมาก แต่ละองค์ถูกขุดค้นไปอย่างไม่มีชิ้นดี?.ในเจดีย์รายโดยรอบมีบ่อกรุ ที่ทำด้วยศิลาแลงแท่งขนาดใหญ่มาก ขนาดแท่งศิลาวัดพระนอน ขนาดบ่อ กว้างยาวด้านละประมาณ 4 เมตร ทำไว้อย่างแข็งแรง สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นกรุ มหาสมบัติ ที่รวมของมีค่าอยู่ในวัดซึ่งถูกขุด ค้นอย่างไม่มีชิ้นดี หลังจากสำรวจครั้งนี้แล้ว กรมศิลปากรสมควรบูรณะปฏิสังขรณ์ เพื่อมิให้เสียหายไปกว่านี้วัดเตาหม้อ มีหลักฐานเตาถลุงเหล็กขนาดใหญ่อยู่ 4 เตา พังไปแล้ว 2 เตา กำลังจะพัง 1 เตา สมบูรณ์ดีเรียบร้อยอยู่ 1 เตา บริเวณเตามีแร่เหล็ก ที่ผ่านการถลุงอยู่เป็นจำนวนมาก ตกอยู่เกลื่อนกลาด คาดว่า จะเป็นแหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร เพราะเมืองกำแพงเพชร มีเหล็กที่มีคุณภาพ นำไปผลิตอาวุธ และหล่อพระ จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้พูดถึงการทำดาบฟ้าฟื้นว่า ได้นำเหล็กเมืองกำแพง ไปเป็นวัตถุสำคัญในการตีดาบและการที่มีเตาขนาดใหญ่นี่เอง ทำให้วัดนี้ได้รับการขนานนามว่าวัดเตาหม้อมาจนปัจจุบันเมื่อสังเกตอย่างถ้วนถี่ วัดเตาหม้อนี้ น่าจะเป็น วัดแห่งยุทธศาสตร์ ในการผลิตอาวุธ ไว้ป้องกันเมืองกำแพงเพชร หรือส่งขาย ทั่วไป ในช่วง 600 ? 700 ปี ที่ผ่านมา น่าสงสัยนักว่าทำไม ไม่มีใครสนใจ หรือใส่ใจในวัดเตาหม้อ เลย ทั้งที่เกือบทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ ล้วนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเกือบทั้งสิ้น วัดขนาดใหญ่อย่างวัดเตาหม้อหลงหูหลงตาไปได้อย่างไร มันเป็นปริศนาที่น่าสนใจยิ่งนักวัดเตาหม้อ แหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่มากในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดที่สำคัญที่สุดแห่งเราชาวกำแพงเพชร
              ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
              รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
              
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
              
อัตราค่ายานพาหนะ
              
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
              รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
              รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
              รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
              รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=223&code_db=DB0011&code_type=F001

คำสำคัญ : วัดเตาหม้อ

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเตาหม้อ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=306&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=306&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,484

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์   เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,829

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 7,152

วัดเขาลูกรัง

วัดเขาลูกรัง

ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตอรัญญิก ที่มีวัดที่สำคัญจำนวนมาก เรียงรายติดต่อกัน กำแพงเพชรจึงมีวัดขนาดใหญ่เรียงรายติดต่อกัน จำนวนมากมายกำแพงเพชรเคยเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ต่อเนื่องกันมาหลายศตวรรษจึงมีวัดมากมายและยิ่งใหญ่อลังการ จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ให้กำแพงเพชรเป็นมรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,505

วัดคูยาง

วัดคูยาง

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,327

วัดซุ้มกอ

วัดซุ้มกอ

วัดนี้อยู่ริมถนน เมื่อผ่านไปจะเห็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมยอดหัก ซึ่งมองเห็นแต่ไกล โดยเฉพาะวัดนี้มีผู้พบพระพิมพ์เป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายลักษณะตัว ก จึงเรียกว่าพระซุ้มกอ โบราณสถานของวัดนี้เป็นเจดีย์แบบทรงลังกายอดหัก มีคูน้ำล้อมรอบบริเวณอีกชั้นหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,659

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,170

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านวังโบสถ์ มีสภาพที่ทรุดโทรมมาก เห็นเพียงเนินดินและพระพุทธรูปโกลนศิลาแลงปรักหักพังอยู่บนฐานแลง สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างราวพุทธศักราช 1900 หลักฐานการค้นพบ จากคำบอกเล่าของนายเย็น รอดโต ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า เมื่อประมาณพุทธศักราช 2504 ได้ซื้อที่ดินบริเวณวังโบสถ์ และได้มาหักร้างถางพง พบว่าเนื้อที่ที่ซื้อไว้ มีวัดเก่าสมัยโบราณอยู่ในบริเวณที่ดินด้วย พบเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพบพระพุทธรูปเก่าแก่

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,151

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,181

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,119