วัดสระแก้ว
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 3,254
[16.4957766, 99.5137219, วัดสระแก้ว]
เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ
ทางเข้าเขตอรัญญิกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในปัจจุบัน มีวัดวัดหนึ่งอยู่ริมทางทางด้านซ้ายมือ เรียกกันโดยสามัญว่าวัดสระแก้ว เหตุด้วยสร้างอยู่กลาง สระน้ำขนาดใหญ่ เรียกขานกันตามโบราณประเพณี ของสระในเมืองใหญ่ว่า สระแก้ว
วัดสระแก้วเป็นโบราณสถานที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ เพราะไม่มีสิ่งใดบอกว่าเป็นวัดเลย ไม่มีเจดีย์ ไม่มีมณฑป ไม่มีกุฏีสงฆ์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆ นอกจาก โบสถ์ขนาดใหญ่ สูงกว่า 5 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางสระ มีคลองท่อทองแดง ไหลมาหล่อเลี้ยงเป็นอุทกสีมา ที่อาจเรียกว่าโบสถ์เพราะมีใบเสมา ตั้งอยู่ด้านหน้า 2 ใบ แต่มีขนาดที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับขนาดของโบสถ์ สถานที่แห่งนี้ แต่เดิมน่าจะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ที่สำคัญ ของเมืองกำแพงเพชร แต่เมื่อความเชื่อเดิมถูกกลืนหายไป จึงถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นโบสถ์ วัดสระแก้วจึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าสนในศึกษายิ่งนัก ไม่ควรผ่านเลยไป เมื่อเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
ภาพโดย : https://www.touronthai.com/article/836
คำสำคัญ : วัดสระแก้ว
ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NW.htm
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดสระแก้ว. สืบค้น 17 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=288&code_db=610009&code_type=01
Google search
เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,968
ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,666
วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 3,659
วัดมหาโพธิ์มงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,395
วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์ เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,215
กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,816
วัดอุทุมพร ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 72 วา ติดต่อกับลำคลองสวนหมาก ทิศใต้ยาว 72 วา ติดต่อกับที่ดินของนายพูล สุวรรณดี ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดต่อกับที่ดินของนางเทอม ขำแนม ทิศตะวันตกยาว 40 วา ติดต่อกับคลองซอย และที่ดินของนายยม ป้อมภา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อยู่ริมคลองสวนหมาก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 58 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กฎีสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานรูปปั้น 1 องค์ (หลวงพ่อสัมฤทธิ์)
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,702
เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 8,111
วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,868
เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,475