เจดีย์ทรงปราสาท
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 2,935
[16.3627671, 99.6500943, เจดีย์ทรงปราสาท]
ชื่อวัด :
เจดีย์ทรงปราสาท
สถานที่ตั้ง :
อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมา :
เจดีย์ทรงปราสาท จากการวิเคราะห์องค์ประกอบส่วนต่างๆ เบื้องต้นของเจดีย์วัดพระแก้ว เราได้ตั้งสมมติฐานเบื้องต้นว่าเจดีย์วัดพระแก้ว สรรคบุรีนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเจดีย์สองแบบด้วยกันเจดีย์แบบแรกคือเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดซึ่งมีเค้าโครงปรากฏในเจดีย์วัดพระแก้วในส่วนฐาน, เรือนธาตุสี่เหลี่ยมและสถูปยอด ส่วนเจดีย์อีกแบบหนึ่งคือเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมที่มีเค้าโครงปรากฏในส่วนบนของเจดีย์ตั้งแต่เรือนธาตุแปดเหลี่ยมขึ้นไปจนถึงส่วนยอด (ลายเส้นที่ 6) ดังนั้นเพื่อที่จะตรวจสอบสมมติฐานดังกล่าว จะได้ทำการศึกษาองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดก่อน โดยได้ทำการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน โดยในส่วนแรกจะเป็นการศึกษาที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงนี้ตั้งแต่ในล้านนาจนถึงสุโขทัยที่สามารถเชื่อมโยงวิวัฒนาการต่อเนื่องไปจนถึงเจดีย์วัดพระแก้ว ในขณะที่ส่วนที่สองจะเป็นการศึกษาองค์ประ-กอบส่วนล่างของเจดีย์โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากส่วนแรกมาทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางด้านรูป-แบบ ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดอายุของเจดีย์องค์นี้ได้ในที่สุดที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาท
เมื่อกล่าวถึง “เจดีย์ทรงปราสาท” คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงปราสาทหินแบบขอมที่พบอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน อันที่จริงแล้วหากเราพิจารณาถึงความหมายของคำว่า“เจดีย์” อันเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุหรือเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบเห็นระลึกถึงหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ปราสาทหินที่สร้างขึ้นตามคติเทวราชาของศาสนาฮินดูหรือพุทธศาสนามหายานเหล่านั้นย่อมไม่อาจถือได้เป็นเจดีย์ตามที่เข้าใจกัน เพียงแต่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมีลักษณะเป็นเรือนชั้นอันเป็นความหมายของคำว่า “ปราสาท” เท่านั้นเอง คำว่า “เจดีย์ทรงปราสาท”ในที่นี้จึงไม่ได้หมายถึงเจดีย์ที่มีลักษณะคล้ายปราสาทหินแบบขอม(ซึ่งปัจจุบันเราเรียกเจดีย์กลุ่มนี้ว่าปรางค์หรือเจดีย์ทรงปรางค์) “เจดีย์ทรงปราสาท” ในที่นี้หมายถึง เจดีย์ที่มีเรือนธาตุ เหนือเรือนธาตุมีลักษณะเป็นยอดแหลม 59 หากเรากลับไปพิจารณารูปแบบของเจดีย์วัดพระแก้ว
จะเห็นว่าเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทองค์หนึ่งเพราะมีลักษณะของการทำเรือนธาตุทั้งในผังสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมรวมถึงการทำยอดแหลมเป็นปล้องไฉนและปลียอด หากแต่เราจะใช้คำที่บ่งบอกถึงลักษณะที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของเจดีย์ทรงปราสาทองค์นี้ที่มีการทำเจดีย์ยอดองค์เล็กสี่องค์ ประกอบอยู่ที่มุมทั้งสี่ของเจดีย์ประธาน เราก็ควรเรียกเจดีย์องค์นี้ว่าเป็น “เจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด”
ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้เฉพาะเจาะจงลงไปในกลุ่มเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดเท่านั้น โดยจะได้ทำการศึกษาถึงที่มาและวิวัฒนาการของเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอด ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดในศิลปล้านนาและเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดในศิลปะสุโขทัย และในตอนท้ายจะได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดและเจดีย์ วัดพระแก้ว สรรคบุรี ที่แสดงให้เห็นในองค์ประกอบส่วนล่างของเจดีย์องค์นี้
คำสำคัญ : โบราณสถาน
ที่มา :
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). เจดีย์ทรงปราสาท. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1125&code_db=610009&code_type=01
Google search
บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 4,165
เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,150
วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,553
กลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองนครชุมแตกต่างจากกลุ่มวัดในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร คือส่วนใหญ่นิยมสร้างด้วยอิฐ ขนาดสิ่งก่อสร้างไม่ใหญ่โตมากนัก วัดที่สำคัญ เช่น วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย รูปแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จมาเมืองนครชุม
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,285
เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกาพญาลิไททรงประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 ประชาชนชาวกำแพงเพชรมีความศรัทธาต่อองค์พระธาตุและมีความเชื่อดังจารึกที่ว่า "ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า" เป็นตำนานที่มาของงานประเพณี "นบพระเล่นเพลง" ในวันมาฆบูชาของจังหวัดกำแพงเพชร พระบรมธาตุนครชุม มหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์ จวบจนปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 3,172
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,462
หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชรอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง โดยปกตินั้นจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสักการบูชา แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดให้กับผู้ที่เลื่อมใสได้เข้าไปสักการบูชา
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,587
หลวงพ่อศรีสรรเพชญ์วัดศรีโยธิน ที่วัดศรีโยธิน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นวัดที่สร้างโดยรอ.ทำนอง โยธินธนสมบัติ ต่อมาท่านได้บวชและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส นาม หลวงพ่อทำนอง คุณังกะโร เมื่อท่านสร้างวัด ท่านนิมิตว่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งมาเข้านิมิตและจะมาช่วยสร้างวัด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,486
วัดมหาโพธิ์มงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,148
วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,726