วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,189

[16.4969438, 99.440908, วัดตะแบกคู่]

            ภายในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชรมีวัดที่เรียกกันว่าอยู่ในเขต อรัญวาสี อยู่ประมาณ 40 วัด จากการที่มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชรมาช้านานนี้ทำให้องค์การยูเนสโกยกย่องอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรให้เป็นมรดกโลก สร้างความภูมิใจให้กับผู้คนในบ้านเมือง จนเติมคำขวัญไปอีกวรรคหนึ่ง จากคำขวัญที่ว่า  กรุพระเครื่อง  เมืองคนแกร่ง  ศิลาแลงใหญ่  กล้วยไข่หวานน้ำมันลานกระบือ คำที่เติมต่อท้ายคือ เลื่องลือเมืองมรดกโลก
            วัดตะแบกคู่ เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว200 ปี  ต้นคู่กันหาไม่พบ คงตายไปแล้ว วัดตะแบกคู่ เป็นวัดที่ยังไม่ได้ขุดแต่ง ซาก ปรักหักพัง ยังอยู่ในสภาพเดิมๆ...พระวิหารมีขนาดสูงใหญ่ กว้างราว 15 เมตร ยาวกว่า 20เมตร ตลอดระยะบนวิหารถูกนักขุดพระ ขุดแทบพลิกแผ่นดิน มีหลุมทุกขนาด ขุดติดกันต่อกันมีเสาพระวิหาร ที่ยืนอยู่เพียงต้นเดียว นอกนั้นล้มกองลงกับพื้น พอมองเห็น ซาก อย่างน่าสลดหดหู่ ว่าคนที่ทำลายบ้านเมืองของเรานั้นมิใช่ข้าศึกศัตรูที่ไหนเลย เป็นพี่น้องของเราที่มักอ้างว่านับถือพระพุทธศาสนา แต่กับทำลายวัดและพระพุทธรูป อย่างไร้ คุณธรรมที่น่าสังเกต คือฐานพระประธาน ถูกขุดลงไปลึก จนเห็นกรุพระ เป็นห้องขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2เมตร ส่วนร่องรอยพระประธานไม่มีให้เห็น คงจะขุดทำลายไปสิ้น  ด้านหลังพระวิหาร มีเสารองรับหลังคาอีกหลายต้นที่พอสังเกตได้ น่าจะเป็น ห้องที่ยื่นออกไปอีกห้องแต่ก็ยับเยินเช่นกันด้านข้างพระวิหาร มีศาลา กุฏี  บ่อน้ำ อีกเป็นจำนวนมาก แสดงว่าวัดตะแบกคู่เป็นวัดขนาดใหญ่  เมื่อสังเกตและศึกษาอย่างชัดเจนแล้วจะเห็นว่าวัดเพการาม กับวัดตะแบกคู่ น่าจะเป็นวัดเดียวกัน โดยมีเจดีย์ประธาน อุโบสถ และพระวิหาร อยู่เรียงกันไป แต่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นสองวัด  ด้านหน้าเรียกว่าวัดเพการาม ด้านหลัง เรียกว่าวัดตะแบกคู่ ควรได้ศึกษากันให้ชัดเจนเพื่อเป็นหลักฐานที่ถูกต้องต่อไป
            วัดตะแบกคู่ ไม่มีสัณฐานของเจดีย์ประธานพบแต่ เนินดินขนาดใหญ่ อยู่ด้านหลังวิหารและด้านข้างวิหาร เมื่อดูอย่างละเอียดแล้วพบว่าเป็นศาลามิใช่เจดีย์ประธาน.การศึกษาสถาปัตยกรรมของเมืองมรดกโลก เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะ   กำแพงเพชร  สุโขทัย ศรีสัชนาลัย อยุธยา ล้วนมีความยิ่งใหญ่ที่เป็นตัวของตัวเอง  ไม่เหมือนกัน ไม่ซ้ำกัน แต่ละแห่งล้วนมีเสน่ห์ให้น่าศึกษายิ่ง  การศึกษาภูมิปัญญาของ  บรรพบุรุษ  ทำให้เราภูมิใจ ในความเป็นกำแพงเพชร อย่างที่สุด 

            ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=190&code_db=DB0011&code_type=F001

 

คำสำคัญ : วัดตะแบกคู่

ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NJ.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดตะแบกคู่. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=295&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=295&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,119

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,531

วัดกะโลทัย

วัดกะโลทัย

ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ

 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,160

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,333

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,060

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,668

วัดคูยาง

วัดคูยาง

วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่และมีปริศนาอยู่ เนื่องจากไม่มีผู้ใดสืบหาได้ว่าวัดนี้มีชื่อว่าอะไร ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยไหนไม่มีใครสามารถหาคำตอบได้ แต่มีผู้สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้มีอายุมากกว่า 400 ปี จนเข้าสู่สมัยของพระบามสมเด็จกระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 จึงได้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งเดิม ในปีพ.ศ. 2394- 2399 ปัจจุบันได้มีพระเทพปริยัติเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,328

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,786

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,018

วัดอุทุมพร

วัดอุทุมพร

วัดอุทุมพร ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 72 วา ติดต่อกับลำคลองสวนหมาก ทิศใต้ยาว 72 วา ติดต่อกับที่ดินของนายพูล สุวรรณดี ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดต่อกับที่ดินของนางเทอม ขำแนม ทิศตะวันตกยาว 40 วา ติดต่อกับคลองซอย และที่ดินของนายยม ป้อมภา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อยู่ริมคลองสวนหมาก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 58 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กฎีสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานรูปปั้น 1 องค์ (หลวงพ่อสัมฤทธิ์)

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,032