แกงหน่อไม้

แกงหน่อไม้

เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้ชม 1,879

[16.3951069, 98.9529353, แกงหน่อไม้]

บทนำ
         แกงหน่อไม้บางคนก็เรียก “แกงลาว” หรือ “แกงเปรอะ” มีใบย่างนางเป็นส่วนประกอบหลัก ใบย่านางจะช่วยเรื่องแก้ความขื่นและขมของหน่อไม้ได้เป็นอย่างดีนับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ใบย่านางเป็นพืชหาง่าย คุณสมบัติเป็นสมุนไพร นิยมคั้นเอาน้ำจากใบมาทำเป็นอาหาร มากกว่ารับประทานใบสด
         แกงหน่อไม้ เป็นอาหารอีสานที่มีส่วนประกอบในการทำไม่ยุ่งยาก ประกอบด้วย หน่อไม้สด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วลวกหรือต้ม เพื่อล้างความขมและสารบางอย่างในหน่อไม้ออกไปเสียก่อน ส่วนประกอบอื่นก็มี พริก หอม ตะไคร้ ใบย่านาง น้ำตาลทราย น้ำปลาร้า แล้วก็น้ำสะอาด สำหรับทำน้ำแกง ในส่วนของผักก็แล้วแต่ชอบ เช่น ผักขะแยง ใบแมงลัก ฝักทองหรือยอดฝักทอง (รอ นันทะโชติ, 2562 ตุลาคม 7)
         สำหรับแกงหน่อไม้ของคนอีสานในจังหวัดกำแพงเพชรจะใส่ปลาย่างเพื่อเพิ่มความหอมให้กับแกงซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น บทความนี้จึงแสดงถึงความแตกต่างระหว่างแกงหน่อไม้ของภาคอีสานกับภาคกลางว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
         แกงหน่อหรือแกงลาว ตามภาษาภาคอีสานนั้น ได้กลายเป็นอาหารที่พบเจอกันเป็นอย่างมาก ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่จังหวัดกำแพงเพชร ที่มีประชาชนย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสานเป็นจำนวนมาก และได้นำเอาอาหารท้องถิ่นอย่างแกงหน่อหรือแกงลาว มายังพื้นที่กำแพงเพชรด้วย นอกจากนั้นแล้วแกงหน่อไม้เป็นที่นิยมของชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากหมู่บ้าน มีการปลูกหน่อไม้เลี้ยงค่อนข้างมากแกงหน่อไม้จึงเป็นที่นิยมเพราะหากินได้ง่ายมาก

การเตรียมเครื่องปรุงและการทำ
         ปัจจุบันแกงหน่อไม้ หรือแกงหน่อ ใช้หน่อไม้สดในการปรุง ใส่เนื้อสัตว์ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น กระดูกหมู หรือปลาดุก ปลาช่อน ซึ่งเป็นวัตถุดิบสามารถหาได้จากในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งหาได้ง่ายน่าจะเห็นเมนูแกงหน่อไม้ทุกครัวเรือน แกงหน่อไม้มีหลายแบบแล้วแต่ละท้องที่และการทำแตกต่างกันนิดหน่อย ตามความชอบ คือ สามารถแกงใส่อะไรก็ได้ที่เป็นส่วนประกอบ ส่วนเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้คือ ปลาร้า หน่อไม้มีหลายฤดูกาลและหลายชนิด อาทิ หน่อไม่ไร่ หน่อไม้บง หน่อไม้ไผ่บ้าน หน่อไม้ฮวก ฯลฯ ซึ่งมีรสชาติแตกต่างกัน (Thai Street Food, 2562) โดยมีวิธีการเตรียมเครื่องปรุงแกงหน่อไม้ของภาคอีสานและภาคกลางโดยส่วนใหญ่ภาคอีสานจะเน้นน้ำปลาร้าและน้ำใบย่านางแต่ภาคกลางจะเน้นน้ำกะทิเป็นส่วนประกอบหลักดังตารางที่ 1 

ตารางที่ 1 แสดงอัตราส่วนผสมเครื่องปรุงแกงหน่อไม้และเครื่องพริกแกงของภาคกลางและภาคอีสาน 

รายการ

อัตราส่วน

ภาคกลาง

ภาคอีสาน

เครื่องปรุงแกงหน่อไม้

     

หน่อไม้สด

1 ถ้วย (ที่หั่นแล้ว)

 

/

หน่อไม้ดอง

1 ถ้วย (ที่หั่นแล้ว)

/

 

พริกสด

1 ถ้วยตวง

 

/

พริกแกง

3 ช้อนโต๊ะ

/

 

พริกหยวก

1 ถ้วยตวง

/

 

ตะไคร้

2 ต้น

 

/

ใบย่านาง

1 ถ้วยตวง

 

/

ปลาย่าง

2 ตัว

 

/

ไก่

ครึ่งกิโลกรัม

/

 

ปลาร้า

1 ถ้วยตวง

 

/

โหระพา

1 ถ้วยตวง

/

 

กะทิ

1 ถ้วยตวง

/

 

เครื่องพริกแกง

     

หอม

ครึ่งขีด

/

/

กระเทียม

ครึ่งขีด

/

/

กระชาย

ครึ่งขีด/1 ถ้วยตวง

/

/

ตะไคร้

ครึ่งขีด

/

 

พริกสด

ขีด

/

 

ผิวมะกรูด

ครึ่งขีด

/

 

ข่า

ครึ่งขีด

/

 

ที่มา: จากการสัมภาษณ์ 

แกงหน่อไม้ภาคอีสาน
         แกงหน่อไม้ ขึ้นชื่อว่าแกงแล้วย่อมมีรากเหง้าหรือวิธีการทำที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่สิ่งที่แตกต่างกันมักจะทำตามความต้องการหรือความชอบของผู้บริโภค เช่นบางพื้นที่ชอบนำกะทิใส่ลงในแกง กลายเป็นแกงกะทิ หรือบางพื้นที่โดยเฉพาะในภาคอีสานมักจะนำปลาร้าใส่ลงในแกงด้วย เป็นต้น การปรุงแกงหน่อไม้ของคนภาคอีสานจะมีขั้นตอนการปรุงหลักๆ อยู่ 3 ขั้นตอนคือ การเตรียมหน่อไม้ให้พร้อมสำหรับการบริโภค การปรุงโดยการต้มพร้อมกับเครื่องแกงต่าง ๆ และตักสำหรับเสิร์ฟ
         ขั้นตอนการเตรียมหน่อไม้นี้มีวิธีการเตรียมที่ไม่แตกต่างกัน โดยขั้นตอนนี้มุ่งหวังให้เกิดหน่อไม้มีความสะอาด พร้อมสำหรับการบริโภค ซึ่งวิธีการดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันของทั้งภาคกลางและภาคอีสาน
         ขั้นตอนการปรุงแกงหน่อไม้ ส่วนใหญ่แล้วการทำแกงหน่อไม้ของคนภาคอีสานจะนำหน่อไม้ที่ล้างเสร็จเรียบร้อยมาสับ จากนั้นจึงนำหน่อไม้ที่สับเรียบร้อยแล้วมาต้มพร้อมกับใบย่านางเพื่อให้หน่อไม้ไม่ขมและมีรสหวาน จากนั้นจึงใส่พริกแกงที่เตรียมไว้พร้อมกับน้ำปลาร้าและต้มต่อจนเดือด(สุก)พร้อมรับประทาน

แกงหน่อไม้ภาคกลาง
         การทำแกงหน่อไม้ภาคกลางนั้นจะมีความแตกต่างจากการทำแกงหน่อไม้ภาคอีสาน ภาคกลางนั้น จะนำไก่ไปผัดกับเครื่องพริกแกงจนไก่เริ่มสุกหรือสุกก่อน จึงจะนำไปแกงพร้อมกับกะทิและหน่อไม้ดอง รอจนเดือดและปรุงรสตามต้องการ เมื่อไก่และหน่อไม้สุกพร้อมได้รสชาติที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว คนภาคกลางจะใส่   พริกหยวกและใบโหระพาเพิ่มความหอมและน่ารับประทาน หลังจากนั้นจึงตักใส่จาน พร้อมเสิร์ฟนั้นเอง 

การเสิร์ฟ/การรับประทานอาหาร
         ชาวบ้านที่เป็นคนไทยภาคกลางนั้นมักจะนิยมรับประทานแกงหน่อไม้คู่กับข้าวสวย แต่คนไทยภาคอีสานมักจะรับประทานแกงหน่อไม้คู่กับข้าวเหนียว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ไม่ว่าคนไทยอีสานจะอพยพไปอยู่ในที่ใดก็มักจะนำวิถีชีวิตการรับประทานเช่นนี้ไปด้วยทุกที่ ไม่เว้นแม้แต่คนไทยอีสานในจังหวัดกำแพงเพชร

ข้อแตกต่างระหว่างแกงหน่อไม้ภาคอีสานและแกงหน่อไม้ภาคกลาง
         ข้อแตกต่างระหว่างแกงหน่อไม้ภาคกลางและภาคอีสาน อย่างแรกที่แตกต่างกันคงหนี้ไม่พ้นเครื่องปรุงและวัตถุดิบซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
         1. หน่อไม้ แกงหน่อไม้ของคนภาคอีสานจะนิยมใช้หน่อไม้สดแต่แกงหน่อไม้ของภาคกลางนั้นจะนิยมใช้หน่อไม้ดอง
         2. เนื้อสัตว์ แกงหน่อไม้ของคนภาคอีสานจะนิยมใส่ปลาร้า แต่แกงหน่อไม้ของภาคกลางนั้นจะนิยมใส่ไก่เป็นเนื้อสัตว์แทน
         3. พริกสด/พริกหยวก แกงหน่อไม้ของคนภาคอีสานจะนิยมใส่พริกสดลงในแกง แต่แกงหน่อไม้ของภาคกลางนั้นจะนิยมใส่พริกหยวก เป็นเครื่องโรยหน้าแกง
         4. กะทิ แกงหน่อไม้ของคนภาคอีสานจะไม่ใส่กะทิ แต่แกงหน่อไม้ของภาคกลางนั้นจะนิยมใส่กะทิอยู่ในแกงหน่อไม้
         5. หอม กระเทียม กระชาย เป็นองค์ประกอบของเครื่องพริกแกงที่นิยมใส่ในเครื่องแกงทั้งของภาคอีสานและภาคกลาง ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่เหมือนกันของทั้ง 2 ภาค
         จากความเหมือนและความแตกต่างดังกล่าวเราจะเห็นว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงแกงหน่อไม้จะมีพืชสมุนไพรเป็นองค์ประกอบหลักทั้งตะไคร้ กระชาย พริกสด พริกหยวก โหระพา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น วัตถุดิบแต่ละอย่างมีสรรพคุณดังนี้
         1. หน่อไม้         
         สรรพคุณของหน่อไม้ช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร เพราะหน่อไม้เป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง จึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้  เมื่อหน่อไม้ผ่านการย่อยร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนกากอาหารที่เหลือหรือสารพิษต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลงหรือโลหะหนักจะไปรวมกันที่ลำไส้ใหญ่ (รอ นันทะโชติ, 2562 ตุลาคม 7)
         2. ไก่
         สรรพคุณของไก่ในทางแพทย์แผนจีนกล่าวไว้ว่า เนื้อไก่มีคุณสมบัติร้อน(จัดเป็นหยาง) รสหวาน ใช้บำรุงร่างกาย ทำให้กระดูกและเอ็นแข็งแรง ทำให้ประจำเดือนปกติ รักษาอาการระดูขาวมากกว่าปกติ ชาวจีนเชื่อว่า เนื้อไก่ตัวผู้ มีคุณสมบัติค่อนไปทางร้อน(หยาง) ใช้บำรุงร่างกาย ส่วนเนื้อไก่ตัวเมียมีคุณ สมบัติเย็น (ยิน) ใช้บำรุงร่างกายเช่นกัน เหมาะสำหรับเป็นอาหารของคนชรา สตรีหลังคลอดบุตร และผู้ป่วยที่ป่วยนาน ๆ (รอ นันทะโชติ, 2562 ตุลาคม 7)
         3. พริกหยวก
         สรรพคุณของพริกหยวกมีสารแคปไซซิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อคนป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพราะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ คือ
             3.1 พริกหยวกช่วยให้ระดับของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง โดยการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี ทำให้ระดับไขมันแต่ละชนิดมีความสมดุลกัน
             3.2 พริกหยวกมีคุณสมบัติที่ช่วยขยายหลอดเลือดและเลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มากและดีขึ้น ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตันได้ดี
             3.3 สรรพคุณของพริกหยวกอุดมด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะป้องกันความเสื่อมของเซลล์ ลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด
             3.4 พริกหยวกมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ จากสารแคปไซซินที่มีสรรพคุณช่วยให้หลอดเลือดอ่อนตัว ซึ่งจะส่งผลทำให้สลายลิ่มเลือดได้เร็ว และเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง มีความยืดหยุ่นรับแรงดันในระดับต่าง ๆ ได้ดี
             3.5 พริกหยวกช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
             3.6 ประโยชน์ของพริกหยวกทำให้รู้สึกอารมณ์ดี สดชื่น แจ่มใส โดยจะช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟินซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดความผ่อนคลายและรู้สึกมีความสุข
             3.7 พริกหยวกมีสรรพคุณช่วยลดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดฟัน เจ็บคอ ผิวหนังอักเสบ ฯลฯ เพราะสารแคปไซซินจะมีผลช่วยชะลอความรู้สึกเจ็บปวดที่ปลายประสาทของสมองส่วนกลางให้ช้าลง
             3.8 พริกหยวกช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และยังมีประโยชน์ต่อระบบการย่อย ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยทำให้สามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น
             3.9 สรรพคุณพริกหยวกมีฤทธิ์ช่วยขับเหงื่อ แก้อาเจียน บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ และแก้หวัด โดยสารแคปไซซินจะช่วยลดน้ำมูกทำให้การหายใจสะดวกขึ้น ช่วยบำบัดอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ ได้
             3.10 พริกหยวกมีสรรพคุณที่สามารถนำไปผสมกับขี้ผึ้งใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากไขข้ออักเสบ ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น
             3.11 พริกหยวกมีประโยชน์ช่วยขับลมซึ่งจะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (เมดไทย,2562) ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น
         4. โหระพา
         โหระพามีสรรพคุณช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย พร้อมส่งเสริมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ เมื่อรับประทานโหระพาเป็นประจำ จึงทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย แถมยังลดความเสี่ยงการป่วยด้วยโรคร้ายต่าง ๆ อาทิ
             4.1 แก้อาการท้องอืด ใบโหระพามีสรรพคุณลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารกระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพ จึงสามารถแก้อาการท้องอืด แน่นท้อง ได้เป็นอย่างดี   
             4.2 สร้างความผ่อนคลาย ลดความเครียดน้ำมันหอมระเหยในใบโหระพา จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการผ่อนคลาย ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดความวิตกกังวล คลายเครียด และลดอาการซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
             4.3 ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ใบโหระพามีส่วนช่วยในการลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้
             4.4 บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน การทานใบโหระพาจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ โดยจะช่วยให้อาการดีขึ้น และรู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น สบายตัวมากกว่าเดิม เพราะใบโหระพามีสรรพคุณในการลดอาการคลื่นไส้ และด้วยกลิ่นหอมอ่อนๆ ของใบโหระพา ก็จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย จึงหยุดยั้งอาการคลื่นไส้อาเจียนนั่นเอง
             4.5 แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ผู้หญิงมักจะเจอกับปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่ว่าจะมามาก มาน้อย มาสองครั้งในเดือนเดียว มาแบบกะปริบกะปรอย หรือมาบ้างไม่มาบ้าง เมื่อทานใบโหระพาเป็นประจำ จะช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะใบโหระพาจะช่วยกระตุ้นให้ฮอร์โมนเพศให้ทำงานปกติและเกิดความสมดุล จึงทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
             4.6 ช่วยให้เจริญอาหาร สำหรับคนที่มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ลองใส่ใบโหระพาลงในเมนูอาหารกันดู หรืออาจนำมาทานใบสดๆ พร้อมกับอาหาร จะช่วยให้เจริญอาหารได้ดีมาก จากที่เคยตัวเล็กน้ำหนักน้อย ดูเหมือนคนขาดสารอาหาร น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นมาอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน (รอ นันทะโชติ, 2562 ตุลาคม 7)
         5. หอมแดง
         สรรพคุณของหอมแดงช่วยให้เจริญอาหาร สำหรับผู้ที่รู้สึกทานอาหารได้น้อย ไม่ค่อยรู้สึกหิว หรือเบื่ออาหาร ให้ลองนำหอมแดงมาใช้ในการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นยำวุ้นเส้น ไข่เจียวใส่หอมแดง หรือแม้แต่ซุปหัวหอม กลิ่นหอมแดงจะช่วยกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกอยากอาหารมากยิ่งขึ้น รสชาติของหอมแดงยังช่วยทำให้กับข้าวอร่อยมากขึ้นด้วยและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
             5.1 ป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดความดันโลหิต หอมแดงอุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เนื่องจากในหอมแดงมีสารเคอร์ซิติน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกาย และช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
             5.2 บำรุงสมอง ในหอมแดงนั้นเต็มไปด้วยธาตุฟอสฟอรัส การทานหอมแดงบ่อย ๆ จะช่วยบำรุงสมอง ทำให้ความจำดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
             5.3 ป้องกันมะเร็ง เนื่องจากมีผลการวิจัยค้นพบว่า สารเคอร์ซิตินและสารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในหอมแดง มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุในการก่อโรคมะเร็งได้
             5.4 ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น หอมแดงเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน จึงมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกาย
             5.5 ช่วยไล่แมลงสาบ สำหรับบ้านไหนที่มีปัญหาแมลงสาบมาคอยกวนใจ ให้ลองนำหอมแดงมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำไปวางบริเวณที่แมลงสาบชอบเข้ามา ในหอมแดงนั้นเต็มไปด้วยสารกำมะถัน ที่มีกลิ่นฉุน จึงสามารถช่วยขับไล่แมลงสาบ ไม่ให้มากวนใจได้ (เมดไทย, 2562)
         6. กระเทียม
         สรรพคุณของกระเทียมช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรงและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ อาทิ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายและเสริมสร้างการเจริญเติบโต ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด ปรับสมดุลในร่างกาย แก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง (เมดไทย, 2562)
         7. ตะไคร้
         สรรพคุณของตะไคร้มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีกมากมายอาทิ เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้) มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร สารสกัดจากตะไคร้ช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้และบรรเทาอาการไข้ หวัด ไอและอาการปวดศีรษะน้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้ (รอ นันทะโชติ, 2562 ตุลาคม 7)         
         8. กระชาย
         สรรพคุณของกระชายช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง ปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกายและปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกำหนัด แก้อาการกามตายด้าน (เหง้าใต้ดิน) ช่วยบำรุงสมองและแก้โรคในปากและคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล (ใบ, เหง้า) (เมดไทย,2562)
         9. ใบย่านาง       
         สรรพคุณของใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะและมีประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงานช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ และมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากจึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล (เมดไทย, 2562)
         จากสรรพคุณของส่วนประสมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดเป็นแกงหน่อไม้นี้นั่น ทำให้เรารู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นแกงหน่อไม้ในภาคอีสานหรือภาคกลางก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีส่วนประสมหลักๆที่คล้ายคลึงกัน นั่นก็คือ สมุนไพรชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข่า ตระไคร้ ใบย่านาง ล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่หาได้ง่าย มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนความเป็นไทย ในการเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ เพราะไม่ว่าเราจะอยู่ในภาคไหน เมืองไทยก็มีของดีมีประโยชน์เสมอ

คำสำคัญ : แกงหน่อไม้

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=แกงหน่อไม้กับความหลากหลายด้านถิ่นกำเนิด

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). แกงหน่อไม้. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2090&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2090&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมทองเอก

ขนมทองเอก

ขนมทองเอกเป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,949

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ฉู่ฉี่แมงอีนูน

ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่จังหวัดกำแพงเพชร จะมีแมง "แมงอีนูน" หรือแมงนูน ออกจากที่ซ่อนเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ โดยแมงนูนเป็นแมงปีกแข็งตัวสีน้ำตาล ลำตัวกลมขนาดหัวแม่มือ มีขา 6 ขา อาศัยอยู่ใต้ดินทราย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ฉู่ฉี่ ต้ม คั่ว รวมไปถึงทอดในน้ำมันเดือดๆ อย่างไรก็ตามช่วงนี้เป็นช่วงที่แมงอีนูนจะมีไข่เต็มท้อง "แมงนูนจะมีรสชาติหอมมันเพราะมีไข่เต็มท้อง แต่ถ้าล่วงเลยจากเดือนนี้ไปแล้ว แมงอีนูนจะพากันขุดรูวางไข่ ดังนั้นในตัวจึงมีแต่เลือดซึ่งรับประทานไม่ได้ โดยปีที่ผ่านมาแมงอีนูนมีไม่มากเท่าปีนี้ สาเหตุเพราะปีนี้เกษตรกรไม่ได้ไถหน้าดินทำให้มีพงหญ้าและต้นอ้อยขึ้นหน้า แน่น แมงนูนจึงไม่ถูกทำลาย ดังนั้นในปีนี้จึงจับได้เป็นจำนวนมาก"

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,876

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,780

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ/เมี่ยงชากังราว

เมี่ยงโบราณ เป็นของว่างของคนนครชุมในอดีต มี 2 รสคือ เมี่ยงหวาน และเมี่ยงเปรี้ยว เครื่องปรุงประกอบด้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ ตามแนวยาว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียมปอกเปลือก ใบเมี่ยง วิธีทำเริ่มจากการตั้งกระทะให้ร้อน นำมะพร้าวที่หั่นแล้ว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียม ใส่ลงในกระทะ ผัดจนเข้ากัน ใบเมี่ยงที่หมักครบกำหนดแล้ว จะมีรสเปรี้ยวอมฝาด และอมหวาน สามารถเก็บไว้ได้นานปี เมี่ยงเป็นอาหารว่างที่คนเมืองนิยมรับประทานใช้รับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำใบเมี่ยงที่ผ่านการหมักแล้ว ดึงเส้นใบออก เอามาห่อเกลือ น้ำตาล มะพร้าวคั่ว ขิง เป็นเมี่ยงส้ม (เปรี้ยว) หรือเมี่ยงหวานตามชอบ เรียกว่าเมี่ยงอม หรือเอาใบเมี่ยงมาห่อเกลือ จะทำให้รสชาติอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง การรับประทานเมี่ยงจะใช้การอม หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,374

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย หรือเข้าหนมบ่าแตงหรือขนมแตงลาย (แตงลาย คือแตงไทย)มีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย และขนมตาล เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอม น้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก เป็นแตงไทย

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 4,656

แกงพันงู

แกงพันงู

กำแพงเพชรมีอาหารอยู่ชนิดหนึ่ง เป็นอาหารยอดนิยมของชาวกำแพงเพชรในอดีต คือแกงพันงู พันงูเป็นชื่อพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสถานที่หัวไร่ปลายนา ตามเชิงเขาและป่าโปร่ง จะขึ้นปนกับต้นไม้อื่นๆ ลักษณะลำต้นเดี่ยว เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร รูปร่างคล้ายงู ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พันงู จะขึ้นเฉพาะในฤดูร้อน ต่อฤดูฝน ใต้ดินจะมีหัวขนาดใหญ่ ในปีหนึ่งจะขึ้นเพียงครั้งเดียว ชาวบ้านจะนิยมนำพันงูมาทำอาหาร ประเภทผักจิ้ม แกงส้มใส่ชะอม ชาวกำแพงเพชร เอาพันงูมา ลอก เปลือกออกหั่น ยาวประมาณ 2นิ้ว เอาไว้แกงส้ม พันงู เป็นอาหารยอดนิยมที่คนกำแพงเพชรนิยมรับประทานกัน เกือบทุกครัวเรือน อาจกลายเป็นอาหารจานเด็ด ของคนกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,821

แกงบอน

แกงบอน

อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,403

แกงหยวกกล้วย

แกงหยวกกล้วย

หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 5,364

ราชาเฉาก๊วย

ราชาเฉาก๊วย

หากได้แวะมากำแพงเพชร คนมักจะนึกถึงเฉาก๊วย ซึ่งคือเครื่องดื่ม/ของหวาน ที่ทานได้เพลินๆ และมีประโยชน์ด้วย ความที่เฉาก๊วยของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น ขึ้นชื่อว่าใช้เฉาก๊วยแท้ ให้ความเหนียวหนึบ ไม่มีรสชาติ แม้ในหลายๆที่จะมีการปรุงรสชาติเพิ่ม ด้วยน้ำตาล น้ำผึ้ง หรือนม แต่ของแท้ที่นี่ เฉาก๊วยจะใส่มากับน้ำเชื่อม เพื่อให้ทานได้รสชาติแท้ๆ ของเฉาก๊วย และความหวานของน้ำเชื่อม 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,739

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ ขนมพืื้นบ้านของคนนครชุม ที่นิยมทำกินในครัวเรือน มีวิธีการทำง่ายๆ โดยโขลกพริก หอม กระเทียม กะปิให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมันเทผสมกันในภาชนะ ใส่น้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ใส่หมูและน้ำพริก น้ำปลา ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน แล้วซอยต้นหอมเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ซ.ม.ใส่ลงไป คนให้ทั่ว ชิมดูมีรสเค็ม เผ็ดนิดๆ เย็บกระทงเป็นรูปเรือยาว 4 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว เรียงในซึ้ง ตักแป้งใส่กระทง นำซึ้งตั้งไฟพอน้ำเดือดเอาขนมนึ่งประมาณ 20 นาที เวลารับทานจะทานเปล่าๆ หรือทานกับซอสศรีราชาก็ได้

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,465