บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้ชม 2,848

[16.4709737, 99.5268233, บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร]

บทนำ
         บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดังในจังหวัดกำแพงเพชร สืบทอดสูตรก๋วยเตี๋ยวกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ยึดอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวมาตลอด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สืบทอดกันมานับ 70 ปี ร้านบะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชรจึงเป็นอีกหนึ่งร้านดังและอยู่กับจังหวัดกำแพงเพชรมานาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) ประวัติความเป็นมาบะหมี่เซี้ยงชากังราว 2) เครื่องปรุง ขั้นตอนการปรุงและการจัดเสิร์ฟ

ประวัติความเป็นมาบะหมี่เซี้ยงชากังราว
         ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม บริโภคได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ สามารถเลือกใช้ของดีมีประโยชน์ทั้งเครื่องเคียงรูปแบบหลากหลาย อาทิ ผัก เครื่องเทศ สมุนไพร เนื้อสัตว์ จะมาในรูปแบบต้ม ตุ๋น หรือของสดๆ ลวกให้สุกพอดี ก็ได้รับความอร่อยแตกต่างกันไปตามความชอบ ได้คุณค่าทางสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แถมด้วยน้ำซุปร้อน ๆ เคี่ยวด้วยน้ำต้มกระดูกกับสมุนไพรหลากหลายชนิด จนได้รสที่หอมหวานกลมกล่อม ซดคล่องคอ จากนั้นก็เลือกปรุงรสได้ตามใจ จะให้รสจัดหรือสําหรับผู้ที่รักสุขภาพ เลือกปรุงรสชาติอ่อน ๆ รับประทานแล้วสบายท้อง ดีต่อสุขภาพไม่น้อย ก๋วยเตี๋ยวจึงเป็นเมนูที่เหมาะสําหรับคนทุกเพศทุกวัยเป็นอย่างดี
         ก๋วยเตี๋ยวมากับคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย แต่จะเริ่มมีครั้งแรกสมัยไหนนั้น เป็นเรื่องยากที่จะบอกชัด คนจีนเริ่มอพยพเข้ามาจริงจังตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางถึงสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่จํานวนผู้อพยพจะมากเป็นพิเศษในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ซึ่ง สัมพันธ์กับการเติบโตของย่านคนจีนที่สําเพ็ง และเยาวราชในสมัยนี้ก็มีรายงานว่ามีเรือเจ็กขาย ก๋วยเตี๋ยวให้เห็นแล้วแม้ก๋วยเตี๋ยวจะมากับคนจีน แต่เมื่อกาลเวลาหมุนผ่านไปคนไทยได้หันมา รับประทานก๋วยเตี๋ยวและทําก๋วยเตี๋ยวขายมากขึ้นเรื่อย ๆ ก๋วยเตี๋ยวรสชาติไทยจึงพัฒนาขึ้น ประจักษ์พยานที่ดีที่สุด คือ ผัดไทย ซึ่งถือเป็นก๋วยเตี๋ยวผัดแบบไทย (ศิริลักษณ์ รอตยันต์, 2550, หน้า 91)
         สมัยสุโขทัย มีหลักฐานว่ามีการค้าขายกับประเทศจีน การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ กับพ่อขุนรามคำแหง อิทธิพลของจีนเข้าสู่ทุกประเทศในแหลมทอง ก๋วยเตี๋ยวอาจเข้ามาในสมัยนั้น แต่ไม่มีหลักฐานที่จะสืบคนได้ และอาหารหลักของไทยคือ ข้าว ดังนั้นก๋วยเตี๋ยวน่าจะเป็นอาหารยุคหลังสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งคนจีนที่เข้ามาทำมาหากินในไทย ได้ทำก๋วยเตี๋ยวขายด้วยการหาบ หรือพายเรือขายก่อนจะมาตั้งร้าน (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552)
         บะหมี่เซี้ยงชากังราวจังหวัดกำแพงเพชรได้พัฒนามาจากสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพราะว่ามีการสนับสนุนให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวโดยร้านที่มีชื่อเสียงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีร้านที่มีชื่อเสียง คือ ร้านเจ็กเท่ง ร้านเจ็กฮ้อ ร้านเจ็กเซี้ยง จากคำบอกเล่าของ อาจารย์สุมาลี หรั่งประเสริฐ บุตรนายตั้งหยงเซี้ยง (ร้านเจ๊กเซี้ยง) มาจากเมืองซัวเถาตั้งแต่ปี 2475 ได้ยึดอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวมาตลอด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการขายก๋วยเตี๋ยวร่ำรวยมากเพราะขายให้ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาในกำแพงเพชร ต่อมาบรรดาลูก ๆ ได้สืบทอดขายก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ถึง 4 ร้านคือ ร้านบะหมี่ชากังราว, ร้านบะหมี่เซี้ยง, ร้านเซี้ยงบะหมี่, ร้านอู๊ด รสเด็ด ซึ่งทั้ง 4 ร้านได้ทำกิจการขายก๋วยเตี๋ยวสืบกันมานับ 70 ปี (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552)
         จากบทสัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ เรื่องถวิลหา ‘บะหมี่ชากังราว’ บะหมี่ชั้นหนึ่งคู่เมืองกำแพง ได้กล่าวไว้ว่า ร้านบะหมี่เซี้ยงชากังราวมีการบริหารกิจการร่วมกันระหว่าง มณฑา รักษ์ชน และ อำนาจ รักษ์ชน ซึ่งเป็นต้นตำรับบะหมี่ชากังราวมาจาก นายเซี๊ยง ที่อพยพมาจากเมืองจีน ทำบะหมี่เข็นรถขาย ถือเป็นเจ้าแรก ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาพ่อของสามี คือ นายคิดคะเน รักษ์ชน ซึ่งเป็นลูกชายคนโตของนายเซี๊ยงได้แตกออก มาเปิดร้านของตัวเอง ตั้งชื่อว่าบะหมี่ชากังราวที่ลานโพธิ์ตั้งแต่ปี 2503 ขายตั้งแต่ชามละ 2 บาท จนถึงปัจจุบันชามละ 30 บาท ด้วยความอร่อยและพิถีพิถัน ทำให้ลูกค้าพูดกันปากต่อปากจนเป็นที่รู้จักโด่งดัง
         สูตรลับการทำบะหมี่ที่ตกทอดกันมาถึง 3 ชั่วอายุคน ไม่ทำให้รสชาติความอร่อยตกหล่นไปกับกาลเวลาแม้แต่น้อย ด้วยฝีมือการทำบะหมี่ไข่เส้นสด และการปรุงรสชาติที่คงเส้นคงวา ทำให้ร้าน “บะหมี่ชากังราว” (เจ้าเก่า) ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับความนิยมจากคนเมืองกำแพงไม่เสื่อมคลาย
         บะหมี่ชากังราว เดิมเรียกว่าบะหมี่เซี้ยง เล่ากันว่านายเซี้ยง รักชนม์ (แซ่แต้) เป็นผู้ริเริ่มปรุงสูตรขึ้น นายเซี้ยงเป็นชาวจีนที่อพยพมาอาศัยอยู่ในกำแพงเพชรโดยยึดอาชีพทำก๋วยเตี๋ยวขาย ด้วยการปรุงน้ำก๋วยเตี๋ยวได้อร่อยเข้มข้น ทั้งเส้นบะหมี่ก็ทำเอง ต่อมาจึงแพร่หลายกลายเป็นที่นิยมของชาวกำแพงเพชร เส้นบะหมี่นั้น  ใช้แป้งสาลีนวดกับไข่แดง น้ำเปล่า และเชื้อทำบะหมี่ จนเหนียวนุ่มเข้ากันดี หลังจากนั้นก็นำแป้งมาคลี่เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วหั่นเป็นเส้น ร้านไหนที่อร่อย ๆ จะทำเส้นเองวันต่อวัน เส้นจะสดใหม่ เอกลักษณ์ของเส้นทำเองแบบนี้คือค่อนข้างแข็งกว่าเส้นโรงงาน จึงเคี้ยวเพลินกว่า ยิ่งสั่งแบบแห้งมายิ่งอร่อย ส่วนน้ำก๋วยเตี๋ยวเป็นน้ำต้มกระดูกหมูที่เคี่ยวจนได้รสหวาน แล้วปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ ส่วนเครื่องที่ใส่ในก๋วยเตี๋ยวมีหลายอย่างได้แก่ หมูสับ หมูแดง หนังหมู ตับหมูต้ม หอมเจียว กระเทียมเจียว พริกป่น ถั่วงอก และถั่วฝักยาว ที่ต่างกับก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ชัด ๆ คงจะเป็นการไม่ใส่ถั่วลิสงคั่ว ทั้ง 4 ร้านเป็นสูตรเดียวกันหมด เพราะทุกร้านเป็นพี่น้องกัน ต่างกันแค่ร้านนึงมีหมูสะเต๊ะ แต่อีกร้านนึงไม่มีแต่มีติ่มซำ (อำนาจ รักษ์ชน, การสัมภาษณ์, 15 ตุลาคม 2564) ผู้เขียนได้มีการสำรวจพื้นที่ ร้านบะหมี่เซี้ยงชากังราว และได้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 แล้วสรุปเมนูและภาพร้านของบะหมี่เซี้ยงชากังราว
         จากการสัมภาษณ์อำนาจ รักศ์ชน เจ้าของร้าน เครื่องปรุงของทางร้านจะมีเยอะแยะมากมายแต่บางอย่างไม่สามารถบอกได้ เครื่องปรุงหลัก ๆ คือดังนี้

เครื่องปรุง

         บะหมี่ เกี๊ยว หมูสับ หมูแดง ตั้งฉ่าย ผักชีฝรั่งหั่นฝอย แผ่นเกี๊ยว เนื้อหมูสับบด (ปรุงรสด้วยสามเกลอ พริกไทยป่น และซอสปรุงรส) ผักกวางตุ้งกระเทียมเจียว ตั้งฉ่าย ถั่วฝักยาวลวก
         1. เส้นบะหมี่เซี้ยง
         2. หมูสับ
         3. หมูแดง 
         4. ผักชีฝรั่ง
         5. ถั่วฝักยาวลวก
         6. ตั้งฉ่าย 
         จากการสัมภาษณ์อำนาจ รักษ์ชน ถึงขึ้นตอนการปรุงหรือวิธีการทำของบะหมี่เซี้ยงชากังราว ขั้นตอนตอนปรุงไม่ได้ซับซ้อนมากแต่จะมีสูตรของทางร้านที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น มีดังนี้

ขั้นตอนการปรุง
         1. หมักหมูแดง: นำสันนอกหมูมาทำการหมักด้วยเกลือ พริกไทย น้ำตาลทราย ซอสหอยนางรม ซอสพริก และสีผสมอาหารเล็กน้อยค่ะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ทำน้ำซุปบะหมี่เกี๊ยว
         2. ตั้งน้ำให้เดือด: จากนั้นใส่รากผักชีและกระดูกเล้งลงไป ตามด้วยกระเทียม หอมใหญ่ แล้วต้มจนเดือด เคี่ยวไฟอ่อน ๆ ไปเรื่อย ๆ
         3. ห่อเกี๊ยว นำแผ่นเกี๊ยวมาห่อหมูบดปรุงรสที่เตรียมไว้
         4. ต้มและอบ หมูแดง นำหมูที่หมักได้ที่แล้ว ต้มลงในน้ำเดือดใส่น้ำให้ท่วมชิ้นหมูนะคะ ปิดฝาทิ้งไว้ จนหมูสุกดี หลังจากนั้นนำขึ้น แล้วไปอบต่อด้วยอุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เมื่อได้หมูแดงแล้วนำมาหั่นเฉียง ๆ ให้ได้ชิ้นที่พอคำ
         5. ลวกส่วนผสม ตั้งน้ำโดยใช้ไฟกลาง นำผักกวางตุ้ง เกี๊ยว เส้นบะหมี่ ลงลวกได้เลยค่ะ ใช้เวลาประมาณ 10-30 วินาที

จัดเสิร์ฟ
         นำผักกวางตุ้ง เกี๊ยว และเส้นบะหมี่จัดใส่ชาม วางด้วยหมูแดงหั่นชิ้น โรยต้นหอมผักชี กระเทียมเจียว แล้วเติมน้ำซุป นำบะหมี่เกี๊ยวที่ได้ตกแต่งด้วยผักชี และกระเทียมเจียว ปรุงรสชาติตามชอบ ก็จัดขึ้นเสิร์ฟได้

บทสรุป
         จากการศึกษาบะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร วัตถุประสงค์ที่ 1) ประวัติความเป็นมาบะหมี่เซี้ยงชากังราว พบว่า มีมาตั้งแต่สมัยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และคนที่คิดค้นและปรุงสูตรคือ นายเซี้ยง รักษ์ชน (แซ่แต้) เป็นผู้เริ่มปรุงสูตร นายเซี้ยงเป็นคนจีนที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร และได้ยึดอาชีพทำก๋วยเตี๋ยวมาหลายปี และกิจการก๋วยเตี๋ยวก็ร่ำรวยมากขึ้นเพราะขายให้กับทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาในกำแพงเพชรต่อมาก็ได้สืบทอดกันมากหลายต่อหลายรุ่น จึงทำให้คนสมัยก่อนและสมัยนี่รู้จักและเรียกติดปากกันว่า บะหมี่เซี้ยงวัตถุประสงค์ที่ 2) ขั้นตอนการปรุงและการจัดเสิร์ฟ พบว่า เป็นขั้นตอนที่สำคัญมีความพิถีพิถันกันออกไปกัน แต่ละร้าน ดูภายนอกอาจจะเหมือนธรรมดาแต่ถ้าเรามาศึกษาลงไปในแต่ละขั้นตอนทางร้านจะใส่ใจทุกรายละเอียด เพราะทำทุกอย่างตามสูตรที่สืบทอดกันมาหลายต่อหลายรุ่นเพื่อจะให้รสชาติคงเดิม การใช้เครื่องปรุงมีมากมายหลายชนิดเช่น บะหมี่ เกี๊ยว หมูสับ และยังมีผักกวางตุ้งกระเทียมเจียว ตั้งฉ่าย ถั่วฝักยาวลวก และยังมีอีกหลายขั้นตอน คือ ขั้นตอนการปรุงมีดังนี้ การหมักหมูแดง นำสันนอกหมูเอาไปหมักพอหมักเสร็จแล้วทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้น นำไปต้มในน้ำที่เดือดและต่อไปให้นำไปอบด้วยอุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เมื่อเสร็จแล้วนำหมูแดงมาหั่นเป็นชิ้นเฉียง ๆ การทำน้ำซุปต้องใช้เวลาหน่อยถ้าไฟแรงมากรสชาติน้ำซุปก็จะเปลี่ยนต้องไม่รีบ ขั้นตอนการทำน้ำซุป ตั้งน้ำให้เดือด หลังจากนั้นใส่รากผักชีและกระดูกเล้งลงไปในหม้อ ตามด้วยกระเทียม หอมใหญ่ แล้วต้มจนเดือด เคี่ยวไฟอ่อน ๆ ขั้นตอนห่อเกี๊ยว นำแผ่นเกี๊ยวออกมาแล้วนำมาห่อหมูบดที่ปรุงรสจากทางร้าน การลวกส่วนผสม โดยต้องตั้งน้ำให้ใช้ไฟกลาง นำผักกวางตุ้ง เกี๊ยว เส้นบะหมี่เอาลงเข้าไปลวกพร้อมกัน ใช้เวลาประมาณ 10-30 วินาที หลังจากนั้นนำของที่ลวกเสร็จแล้ว ลงใส่ในชาม และตกแต่งด้วยหมูแดงที่หั่นเป็นชิ้นและโรยด้วยต้นหอมผักชีและกระเทียมเจียมแล้วเติบน้ำซุปลงในชาม หลังจากนั้นก็นำไปเสิร์ฟและปรุงรสได้ตามชอบรับรองอร่อย

คำสำคัญ : บะหมี่เซี้ยงชากังราว บะหมี่กำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2110&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2110&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย หรือเข้าหนมบ่าแตงหรือขนมแตงลาย (แตงลาย คือแตงไทย)มีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย และขนมตาล เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอม น้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก เป็นแตงไทย

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 4,642

ข้าวเหนียวสังขยา

ข้าวเหนียวสังขยา

ข้าวเหนียวสังขยา เมนูขนมไทยแสนอร่อย ที่หลายท่านรู้จักเป็นอย่างดี เป็นที่ชื่นชอบของหลายท่านด้วย เมนูนี้ได้นำเอาเมนูสองเมนูมาเสิร์ฟ รับประทานด้วยกันคือ ข้าวเหนียวมูนกับสังขยาไข่ ซึ่งเมื่อนำมารับประทานคู่กันแล้ว ยิ่งเพิ่มรสชาติความหอมหวาน มันอร่อยยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ข้าวเหนียวมูนสามารถเสิร์ฟ รับประทานกับขนมไทยและผลไม้ต่างๆ หลากหลายชนิด และอร่อยเข้ากันได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 2,462

กล้วยทอด

กล้วยทอด

กล้วยแขก หรือ กล้วยทอด เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งซึ่งปรุงโดยการนำกล้วยตัดเป็นแผ่นหรือหั่นคริ่งแล้วมาชุบน้ำแป้งซึ่งมีส่วนผสมของแป้งข้าวเจ้ามะพร้าวขูดขาว งาคั่ว น้ำตาล และกะทิ แล้วจึงนำไปทอดในน้ำมันร้อนในกระทะ ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,805

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง ขนมไทยยอดนิยมอีกหนึ่งประเภท ซึ่งยังหาทานได้ไม่ยากนัก ขนมฟักทอง เป็นการนำฟักทองมาทำขนม โดยนวดผสมกับ แป้ง กะทิ และน้ำตาล และนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดขาว มีความเหนียว นุ่ม หวานหอม คนชอบทานฟักทองน่าจะชอบขนมไทยชนิดนี้

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 4,393

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,702

แกงบอน

แกงบอน

อาหารพื้นบ้าน ที่นับวันจะหารับประทานได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมีผู้ทำได้น้อยคน ประกอบกับกลวิธีในการทำอาหารค่อนข้างยาก มีเคล็ดลับมากมาย และมีอาหารประเภทถุงพลาสติกขายเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง จึงทำให้หาคนทำอาหารและปรุงรสได้ยากยิ่งมากขึ้น อาหารที่กล่าวถึงและหารับประทานได้ยาก คือ แกงบอน บอนเป็นพืชที่มีพิษ ใครถูกเข้าจะคัน ถ้าแพ้จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก แต่ด้วยภูมิปัญญาไทยได้นำมารับประทานได้อย่างน่าพิศวง และเป็นอาหารจานโปรดของคนไทยเกือบทุกภาค

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 4,395

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลืองมะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 5,466

ขนมครก

ขนมครก

ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณมีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 5,606

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง เส้นของขนมฝอยทองที่จัดวางกันเป็นทบเป็นแพ โดยขั้นตอนการทำฝอยทองเพื่องานมงคลนั้นมีความเชื่อว่าห้ามตัดเส้นฝอยทอง ต้องทำเป็นเส้นยาวๆ สื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง คนไทยนำมาเป็นอาหารหวาน นิยมใช้เป็นขนมเลี้ยงพระในงานมงคลต่างๆ เนื่องจากชื่อขนมมีคำว่า "ทอง" จึงถือเป็นมงคล ขนมฝอยทองในงานเหล่านี้ต้องเป็นเส้นที่ยาวมาก เพราะถือเป็นเคล็ดตามชื่อและลักษณะของฝอยทองว่าทำให้อายุยืนยาว

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 10,412

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร ขนมอร่อยขึ้นชื่อประจำจังหวัดกำแพงเพชร อร่อย ใส เหนียว นุ่ม พอดีคำ ทานเพลิน กินเล่นก็ดี เป็นของฝากก็เลิศ ควรค่าแก่การซื้อมาก แนะนำให้โทรสั่งล่วงหน้าไม่มีหน้าร้านทำตาม order มีจำหน่ายแบบกล่องบรรจุภัณฑ์สวยงามที่ปั๊ม ปตท.นครชุม (สี่แยกกำแพงเพชร ขาขึ้นเหนือ) และปั๊ม ปตท.โค้งวิลัยไทยเสรี (ในร้านเจ้าสัว ขาล่องเจ้า กทม.) ขนนเทียนแก้วเอี่ยมจิตรเป็นขนมที่ให้รสชาติอร่อย หารับประทานได้ยาก มีจำหน่ายเฉพาะบางจุดเท่านั้นได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,506