พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 453

[16.8784698, 98.8779052, พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก]

"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว เพลงพื้นบ้านเป็นสมุดบันทึกเรื่องเล่าคนในพื้นที่ที่ดี และสนุกนานไปในตัว เสียดายที่เพลงพื้นบ้านขาดเสียงจากคนร้องเล่นกันแล้ว อีกไม่นาน ก็คงเป็นเพียงเพลงที่ขาดเสียงสำเนียงจากคนใน

(เรื่องดี ๆ จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย และหนังสืออนุสรณ์งานศพคุณพร้อม ไชยนันทน์)

คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/774362729320603

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2044&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2044&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 752

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว และกลองปู่จา ศรัทธาชุมชนลาว(ยวน)

กลองแอว เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายถึง ลักษณะรูปร่างของหุ่นกลองที่คล้ายกับ "สะเอว"นอกจากนั้นยังอื่นมีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น บ้างก็เรียกตามรูปร่างลักษณะที่เห็น หรือเรียกตามเสียงที่ได้ยิน บ้างก็เรียกตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา เช่น กลองปู่จา, กลองเปิ้งมง, กลองต๊กเส้ง และกลองอืด เป็นต้น ก่อนการตีจะต้องถ่วงหน้ากลองด้วยวัสดุเหนียวๆ ที่เรียกว่า จ่ากลอง ทำมาจากข้าวเหนียวนึ่งบดผสมกับขี้เถ้า แล้วแต่สูตรของแต่ละคน หรือใช้กล้วยตากอบน้ำผึ้งบด ติดไว้บริเวณหน้ากลองเพื่อเพิ่มความดังกังวาน

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,429

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นเครื่องหอมพิเศษของเมืองตาก สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมของชาวล้านนาซึ่งมีความใกล้ชิดด้านที่ตั้งและผู้คน โดยชาวบ้านจะนำฝักส้มป่อยและผลมะกรูดไปปิ้งไฟให้เกิดกลิ่นหอม และนำฝักส้มป่อยมาหักเป็นท่อนๆใส่รวมลงไปในน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบไทย ซึ่งจะต่างจากหัวเมืองทางเหนือที่นิยมใช้น้ำขมิ้นส้มปล่อย ลอยด้วยดอกสารภี ไม่มีวัฒนธรรมการเผาผลมะกรูดเป็นเครื่องหอมในวัฒนธรรมจากข้อสันนิษฐานนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพิเศษของเมืองตากอีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 933

กินฮ้าว

กินฮ้าว

กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 577

ต๋าแหลว

ต๋าแหลว

ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 3,023

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 604

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 453

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 463

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 481

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

ตากตั้งอยู่จุดกึ่งกลางเส้นทางในลำน้ำปิงที่ใช้ขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ และหัวเมืองทางเหนือจึงมีการขยายตัวนับเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวจีนริมฝั่งแม่น้ำปิงตั้งรกรากเป็นตลาดบกการค้าริมแม่น้ำปิง จนกระทั่งการคมนาทางถนนและทางรถไฟเกิดการขยายตัวได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างมาก ลำน้ำปิงจึงลดบทบาทลงไปพร้อม ๆ กับความคึกคักของตลาดการค้าริมทางน้ำสู่การตั้งร้านค้าและเกิดเป็นชุมชนการค้าแห่งใหม่ทางด้านเหนือของตลาดการค้าเดิม (ตรอกบ้านจีน) ต่อมาเรียกพื้นที่ตลาดการค้าใหม่นี้ว่าตลาดใน ตลาดในจึงกลายเป็นชุมชนจีนใหม่ที่คึกคักมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การเข้าของจีนใหม่นำไปสู่การพยายามรักษาจารีตแบบจีนโบราณไว้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 394