ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 2,187
[16.8784698, 98.8779052, ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา]
ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย
ในชุมชนคนลาวในย่านตัวเมืองตากงมีการจัดสร้างขั้นดอกที่มีขนาดใหญ่ตั้งไว้ในวิหารของวัด สำหรับบรรจุข้าวตอกดอกไม้ ถวายเป็นพุทธบูชา เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม
นอกจากการบรรจุดอกไม้ลงในขั้นแก้วทั้งสามแล้ว ชาวบ้านยังมีการจัดขันแก้วทั้งห้าไว้ในบริเวณเดียวกันด้วย โดยขั้นแก้วทั้งห้าจะเป็นขันขนาดเล็กวางเรียงกัน ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการบูชาคุณงามความดี 5 ส่วน ประกอบด้วย
- พุทธรัตนโกฐาก
- ธรรมรัตนโกฐาก
- สังฆรัตนโกฐาก
- ครุฏฐานิยรัตนโกฐาก
- กัมมัฎฐานรัตนโกฐาก
เรายังนับว่าโชคดีที่ชุมชนคนลาวในเมืองตากยังคงรักษาจารีตแบบโบราณไว้ยึดโยงความเชื่อ ความศรัทธาทางพุทธศาสนาที่ยั่งรากลึกในสังคมคนตาก
(ที่มาของภาพ นครินทร์ น้ำใจดี :วัดไม้งามหลวง ที่มาของเรื่องสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม14 .กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.น.7586)
คำสำคัญ : ขัน, พาน, เครื่องสักการะ
ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา. สืบค้น 16 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2040&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 10,607
การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,058
การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 831
"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 664
ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,337
ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,400
หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"
เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 3,077
หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 1,007
ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 3,791
ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 2,187