ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 1,113

[16.8778126, 98.8779071, ประเพณีตานก๋วยสลาก]

      ประเพณีตานก๋วยสลาก ในบางอำเภอบางส่วนกำหนดภายในเดือนสิบ (เดือนสิบสองเหนือคือก่อนออกพรรษา 1 เดือน)
      วัตถุประสงค์ เพื่อ
      1. รักษาเป็นประเพณี เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ 
      2. เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ได้มีปัจจัยของใช้พอควรในสมณเพศ   
      3. จัดหากองทุนและสิ่งของใช้ประจำวัด    
      4. เสริมสร้างความสามัคคีพร้อมเพรียงในหมู่คณะ
      ตานก๋วยสลากเป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย โดยการจัดของทยทานบรรจุในชะลอม (ก๋วย) ใบเล็กๆ ของไทยทานที่ใส่ในชะลอมจะเป็นพวกอาหาร ขนม  ผลไม้หรือของใช้อื่นๆ แล้วรวบรวมนำไปถวายพระที่วัด ไม่เฉพาะเจาะจงพระผู้รับ แต่จะถวายโดยการจับฉลาก

คำสำคัญ : ตานก๋วยสลาก

ที่มา : http://123.242.165.136/?module=acticle&pages=acticle_detail&acti_code=A0000317

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเพณีตานก๋วยสลาก. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=732&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=732&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 777

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 463

ผามพิธี

ผามพิธี

หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 660

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 938

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

ทำบุญถนน ศรีบ้าน ชัยเมือง วิถีเมืองตาก

การทำบุญกลางบ้าน คืองานพิธีกรรมที่สร้างความรัก ความผูกพันของคนในชุมชนหมู่บ้าน เพราะเป็นพิธีกรรมที่ชาวบ้านต้องร่วมกันจัดเตรียมพิธีกรรม ปะรำพิธี ตลอดไปจนการช่วยกันโยงด้ายสายสิญจน์จากบริเวณปะรำพิธีที่นิยม เลือกบริเวณกลางชุมชน ในชุมชนคนลาว ในช่วงเช้าก่อนวันประกอบพิธี จะมีการประกอบพิธีเลี้ยงท้าวทั้งสี่ในช่วงเช้า ตามความเชื่อของชาวล้านนา เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล ราบรื่นในการประกอบพิธีกรรม ยามค่ำนิยมนิมนต์พระจากวัดชุมชนมาเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างพระเจริญพระพุทธมนต์นั้น บ้านทุกหลังจะทำการบูชาเจดีย์ทรายองค์เล็กๆ ที่ชาวบ้านตระเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า ๆ และโยงด้านสายสิญจน์เข้าสู่เคหะสถานของตัวเอง ด้วยการเครื่องบูชาคือธูป เที่ยน ดอกไม้ ธง หรือตุงช่อ เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดสิริมงคลสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในเคหะสถานนั้นๆ และยังเป็นการสืบอายุให้กับชุมชน และเมืองด้วย

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 481

กระทงสายเมืองตากโบราณ

กระทงสายเมืองตากโบราณ

หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"

เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 2,383

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

แพซุงกลางน้ำปิงที่เมืองตาก

การล่องซุงไม้สัก ร่องรอยความเจริญของกิจการป่าไม้ในหัวเมืองทางภาคเหนือ ในอดีตก่อนการถมแม่น้ำและการสร้างเขือนภูมิพล แม่น้ำปิงเป็นเส้นทางสำคัญในการล่องแพซุงจากเชียงใหม่ลำปางสู่กรุงเทพ ซึ่งมีแหล่งค้าไม้ที่สำคัญในระยะแถววัดสระเกศ ภายหลังจึงย้ายมาอยู่แถวบางโพ เมืองตาก ในอดีตมีห้างค้าไม้ถึงสามแห่ง คือ ห้างสัญชาติอังกฤษ 2 แห่ง คือ ห้างบอมเบย์เบอร์ และห้างบริติชบอร์เนียว (ห้างบอร์เนียวฯ) ซึ่งตั้งในย่านชุมชนหัวเดียด และห้างไม้คนจีนหนึ่งแห่ง คือ กิมเซ่งหลี ซึ่งภายหลังเป็นกลุ่มคหบดีคนสำคัญในภาคเหนือ คือตระกูล โสภโณดร

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 604

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก   

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,113

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 495

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 752