กระทงสายเมืองตากโบราณ
เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้ชม 1,324
[16.9642725, 99.0265044, กระทงสายเมืองตากโบราณ]
หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"
การลอยผ้าป่าน้ำ คือ การทำกระทงขนาดใหญ่ประดับตบแต่งให้สวยงาม บางชุมชนอาจสลักกระทงเป็นลายไทย(แทงหยวก) ภายในบรรจุด้วยเครื่องผ้าป่า แล้วจึงแห่ไปริมน้ำปิง หลังจากนั้นจึงนิมนต์พระสงฆ์มารับองค์ผ้าป่าน้ำ แล้วชาวบ้านโดยเฉพาะเด็ก ๆ จึงนำกระทงไปลอยกลางแม่น้ำปิง ในส่วนของตัวกระทงสายก็มิได้จำกัดเฉพาะกะลามะพร้าวเท่านั้น ชาวบ้านกับนิยมนำกาบกล้วยมาตัดให้ได้ขนาด บรรจุด้วยขี้ไต้แล้วจึงพากันลงเรือชะล่า ล่องไปกลางลำน้ำปิงในบริเวณที่มีร่องน้ำไหลลึกและเป็นสาย หลังจากนั้นจึงพากันลอยกระทที่เตรียมมาตามจำนวนและกำลังความสามารถ กระทงเมื่อลอยไปกลางลำน้ำปิง จะไหลเป็นสายเรียงต่อกันสวยงาม ส่งผลให้เรียกประเพณีีว่า ลอยกระทงสายสืบมา
ในส่วนบ้านต่าง ๆ ก็จะตามประทีป บริเวณหน้าบ้านของตนเองเพื่อบูชาพระจันทร์ นอกจากนั้นในชุมชนที่เป็นชาวไทยเหนือก็จะนำเส้นด้ายสายญิจน์มาวัดความยาวจากขนาดศีรษะและลำตัวนำไปชุบน้ำมันมะพร้าวหลังจากนั้นจึงนำไปทำพิธีส่งเคราะห์ด้วยการนำไปเผาที่วัดในชุมชน เช่น วัดพร้าว วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง
ต่อมาเมื่อประเพณีลอยกระทงสายเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น มีการถูกกำหนดมาตรฐานด้วยเกณฑ์ต่าง ๆ มากมาย มีการผูกเรื่องราวให้กระทงกะลามะพร้าวเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยนำไปโยงกับวัฒนธรรมการแปรรูปมะพร้าวให้เป็นไส้เมียงเมืองตาก พร้อมทั้งกำหนดให้ให้ภายในกระทงสายต้องมีด้ายที่ฟั่นเป็นรูปตีนกาโดยให้ความหมายทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความเชื่ิอในเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์
ในปัจจุบันประเพณีลอยกระทงสายในการรับรู้ คือการลอยกะลามะพร้าวหนึ่งพันดวง เป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่และผู้คนจากทั่วทิศอยากไปชม ข้าพเจ้ายังดีใจที่เคยเห็นบรรยากาศลอยกระสายแบบคลาสสิคที่คนในรุ่นคุณตาคุณยายมาร่วมกันร้องเพลงเชียร์กระทงสาย ยังได้ยินเพลงรำวงแบบพื้นบ้านจากชาวบ้านจริง ๆ ริมตลิ่งยังประดับด้วยตะเกียงน้ำมัน เมื่อใกล้เทศกาลนี้ภาพบรรยากาศสุดคลาสสิคนั้นก็หวนคืนมาอีกครั้ง เพราะเทศกาลลอยกระสายในวันนี้ถูกเกณฑ์เป็นตัวตั้งไปแล้วเสียหมด
(ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ อาจารย์วิไลวรรณ อินทร์อยู่ , อาจารย์เยาวเรศ บัวทอง ,รัชนิดา น้ำใจดี)
คำสำคัญ : กระทงสาย
ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กระทงสายเมืองตากโบราณ. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2010&code_db=610004&code_type=TK001
Google search
วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 572
ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 865
ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาตามหัววัดในชุมชนคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว (ยวน) มอญ ฯลฯ ล้วนสืบสานประเพณีนี้กันทั้งสิ้น ในงานตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) พระท่านเทศน์เป็นคำเมือง(ปากลาว) ในปัจจุบันตามหัววัดต่าง ๆ ที่ตั้งในชุมชนต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่ายังเทศน์ด้วยภาษาชาติพันธ์ุอยู่หรือไม่ หรือกลืนกลายไปแล้วตามกาลเวลา เพราะคนในแต่ละชุมชนสื่อสารภาษากลุ่มน้อยลงไปทุกที
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 409
สมัยโบราณ คนเฒ่าคนแก่ยังนิยมมวยผมจ๊อกน้อย ๆ ที่ท้ายทอยนุ่งซิ่นสมัยนิยมคือผ้าลายเลียนแบบผ้ามัสกาตี นิยมจับผมให้เข้ารูปด้วยน้ำมันมะพร้าว วันแรก ๆ ก็หอมน้ำมันมะพร้าวดี ผ่านไปสองสามวันกลิ่นออกจะเหม็นหืนไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงได้ความรู้ใหม่ว่าคนโบราณช่างคิดสามารถนำไขจากมะพร้าวมาทำเป็นเจลใส่ผมจากธรรมชาติ ช่วยให้ผมเงาดำเสียด้วย ใครทำน้ำมันมะพร้าวใส่ผมเป็นบ้างครับ เดียวนี้คงเลิกนิยมทำกันแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 205
งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 798
ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,406
หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จ.ตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 305
ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 973
"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 295
การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 572