การลอยโคม

การลอยโคม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 6,635

[16.8784698, 98.8779052, การลอยโคม]

       ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ในวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยโคมจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ โคมลมหรือเรียกอีกอย่างว่า ว่าวควัน จะลอยในช่วงกลางวัน และโคมไฟที่ใช้ในตอนกลางคืน ในปัจจุบันเกิดความเชื่อใหม่ขึ้น คือ ลอยโคมเพื่อปล่อยทุกข์ปล่อยโศกหรือเรื่องร้ายไปกับโคม ไม่ใช่เพื่อนมัสการพระเกศแก้วจุฬามณีอีกต่อไป
       นอกจากนี้ การลอยโคมในปัจจุบันยังถูกใช้ในด้านธุรกิจวัฒนธรรมมากขึ้น ไม่ได้ใช้เฉพาะเพียงเทศกาลลอยกระทงเท่านั้น แต่ใช้เกือบทุกเทศกาล ทำให้ยากต่อการควบคุม จึงเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ธุรกิจการบิน ขยะ หรือไฟไหม้บ้านเรือนตามที่เป็นข่าว
       ปัญหานี้มิได้มีเฉพาะปัจจุบันเท่านั้น แต่ในอดีตก็เกิดปัญหาด้วยเช่นกัน ดังในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปีพ.ศ.2443 ที่ประกาศว่า การปล่อยโคมลอยได้สร้างความเสียหายจากเพลิงไหม้แก่บ้านเรือน จึงห้ามปล่อยโคมลอยโดยมิได้รับอนุญาต หากฝ่าฝืนจะถูกปรับเงินไม่เกิน 20 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และถ้าโคมลอยที่ปล่อยถูกบ้านเรือนหรือข้าวของเครื่องใช้ก็ต้องใช้ตามราคานั้น
       ดั้งนั้น ก่อนลอยโคมตามความเชื่อเพื่อสืบสานประเพณีแล้ว เรายังต้องตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมาให้มากขึ้น

 

 

คำสำคัญ : โคม

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/973799436043597

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). การลอยโคม. สืบค้น 16 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2050&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2050&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,562

ผามพิธี

ผามพิธี

หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 671

จิบอกไฟ

จิบอกไฟ

การตั้งธรรมหลวง หรือ การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมชาวพุทธมายาวนานในสังคมภาคเหนือนิยมจัดประเพณีในช่วงเดือนยี่(เหนือ) หรือในช่วงลอยกระทง ชุมชนลาวในเมืองตากในอดีตมีการสืบทอดประเพณีการตั้งธรรมหลวงในช่วงวันยี่เป็ง หนึ่งในกิจกรรมการละเล่นที่นิยมของกลุ่มชายชาวลาวในเมืองตากคือ การจิบอกไฟ หรือการจุดบอกไฟเมื่อใกล้ถึงช่วงเทศการกลุ่มผู้ชายมักช่วงกันตำดินประสิวและวัสดุประกอบบรรจุลงบนกระบอกไม้ไผ่หรือท่อพลาสติกเมื่อถึงวันงานต่างแห่จากบ้านมาที่วัดและจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชาในปัจจุบันแทบจะหาภาพแบบนั้นได้น้อยลงเนื่องจากความยุ่งยากในการทำบอกไฟและอันตรายหากผู้ทำไม่เชี่ยวชาญในระหว่างทำอาจจะระเบิดได้

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 853

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก   

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,130

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 772

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 616

ต๋าแหลว

ต๋าแหลว

ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 3,135

กระทงสายเมืองตากโบราณ

กระทงสายเมืองตากโบราณ

หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"

เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 2,426

กินฮ้าว

กินฮ้าว

กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 589

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

แทงหยวกงานปราณีตศิลป์ ความงามบนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

การแทงหยวก ถือว่าเป็นงานปราณีตศิลป์ชนิดหนึ่งของไทยที่ในปัจจุบันหาช่างผีมือที่ทำงานศิลปะชิ้นนี้ได้น้อยมาก เนื่องจากต้องอาศัยความชำนาญอย่างมาก การตระเตรียมอุปกรณ์ แกะสลัก(แทงหยวก) ร้อยมาลัย แกะสลักผักผลไม้ ในการประดับให้เกิดความสวยงามต่าง ๆ รวมไปถึงงานตอกกระกระดาษที่ต้องทำในช่วงตลอดคืนก่อนการทำฌาปนกิจ หรือเผาผี ในช่วงบ่าย ๆ ของวันรุ่งขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 768