หนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 11,957

[16.4258401, 99.2157273, หนุมานประสานกาย]

หนุมานประสานกาย ชื่อสามัญ Edible-stemed Vine

หนุมานประสานกาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Schefflera leucantha R.Vig. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Schefflera kwangsiensis Merr. ex H.L.Li, Schefflera tamdaoensis Grushv. & Skvortsova, Schefflera tenuis H.L.Li) จัดอยู่ในวงศ์เล็บครุฑ (ARALIACEAE)

สมุนไพรหนุมานประสานกาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง (จีน) เป็นต้น

ลักษณะของหนุมานประสานกาย

  • ต้นหนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
  • ใบหนุมานประสานกาย ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร
  • ดอกหนุมานประสานกาย ออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยเป็นดอกสีเขียวหรือสีนวลและมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร
  • ผลหนุมานประสานกาย ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลมีความกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด

สรรพคุณของหนุมานประสานกาย

  1. ทั้งต้นมีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวก (ทั้งต้น)
  2. ใบมีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคหอบหืด แพ้อากาศ เป็นภูมิแพ้ ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นเวลา 7 สัปดาห์ โรคหืดจะหาย (ใบ)
  3. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นเวลา 7 สัปดาห์ (ใบ)
  4. ช่วยรักษาวัณโรคปอด ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย และให้รับประทานต่อไปอีกระยะหนึ่ง (ใบ)
  5. ช่วยรักษาวัณโรค ด้วยการใช้ใบ 10 ช่อ และรากสดของพุดตาน 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)
  6. ใบใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 9 ใบ นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ นำมาผสมกับเหล้ากินเป็นยา (ใบ)
  7. ใบนอกจากจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาหวัด ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้เจ็บคอและคออักเสบได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ใบสดนำมาเคี้ยวแล้วค่อย ๆ กลืนช้า ๆ (ใบ)
  8. ช่วยรักษาแผลในปากที่เกิดจากร้อนใน ด้วยการรับประทานใบสด 1-2 ใบ แล้วนำมาเคี้ยวให้ละเอียด แล้วกลืนเช้าเย็น (ใบ)
  9. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 9 ใบ นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ใบ)
  10. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสด 12 ใบย่อย นำมาคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล ใช้รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน (ใบ)
  11. ใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาแต่น้ำหรือนำมาคั้นเอาน้ำผสมกับเหล้ากิน (ใบ)
  12. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ (ทั้งต้น)
  13. ช่วยแก้อาการตกเลือดเนื่องจากการคลอดบุตรของสตรีในระหว่างการคลอดหรือภายหลังการคลอดบุตรหรือเนื่องจากตกเลือดเพราะใกล้หมดประจำเดือน ให้ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ช่อ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง 4-6 ช้อน แล้วคั้นเอาน้ำกิน (ใบ)
  14. ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอากากมาทาหรือพอกเป็นยาสมานแผล และช่วยห้ามเลือด (ใบ)
  15. ยางใช้ใส่แผลสด จะช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว (ยาง)
  16. ช่วยแก้อาการอักเสบบวม (ใบ)
  17. ช่วยแก้ช้ำใน ด้วยการใช้ใบหนุมานประสานกายประมาณ 1-3 ช่อ นำมาตำให้ละเอียด ต้มกับน้ำครึ่งแก้ว แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้น้ำยานี้กินทุกเช้าและเย็น (ใบ)
  18. ใช้แก้เส้นเลือดฝอยในสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต และช่วยกระจายเลือดลมที่จับกันเป็นก้อนหรือคั่งภายใน (ใบ)
  19. ส่วนในคู่มือยาสมุนไพร และโรคประเทศเขตร้อนและวิธีบำบัดรักษา ได้ระบุว่าใบหนุมานประสานกายสามารถใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบในระยะเรื้อรัง โรคหืด โรคแพ้อากาศ และอาการแพ้อื่น ๆ ได้ นอกจากจะใช้รักษาโรคเกี่ยวกับหลอดลมและหืดแล้ว นักวิทยาศาสตร์ขาวญี่ปุ่นยังได้ทำการวิจัยแล้วพบว่ายังมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเกี่ยวปอดต่าง ๆ ได้อีกดังต่อไปนี้ เช่น ปอดชื้น วัณโรค ต่อมน้ำเหลืองในปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบชนิดมีหนอง เนื้อร้ายในปอด เป็นแผลในปอด ไอกรน โรคไข้ปอดบวม โรคไข้หวัดใหญ่ (ใบ)

ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรหนุมานประสานกาย

  • ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ คนที่มีไข้สูง และหญิงตั้งครรภ์
  • ห้ามกินยานี้ในขณะที่กำลังเหนื่อยหรือในขณะที่หัวใจเต้นเร็ว เช่น หลังการออกกำลังกาย เพราะจะยิ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนุมานประสานกาย

  • สารเคมีที่พบ ได้แก่ Butulinic acid,D-glucose, D-Xylose, Oleic acid, L-rhamnose
  • สารสกัดจากใบหนุมานประสานกายมีสารซาโปนินซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลมแต่ไปกดหัวใจ โดยสารในกลุ่มซาโปนิน (Saponins) สามารถขยายหลอดลม ซึ่งจะลดการหลั่งของสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ คือ ฮีสตามีน (Histamine) และสารเมซโคลิน (Methcholine)
  • จากการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพรชนิดนี้ที่มีต่อหัวใจ พบว่าเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและเป็นพิษต่อหัวใจ ในขนาดสูงอาจทำให้มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้
  • สารสกัดด้วยเอทานอลจากใบหนุมานประสานกาย มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวให้เร็วขึ้น และเพิ่มการหดตัวของบาดแผลได้มากกว่าแผลที่ไม่ได้ใช้สมุนไพร

ประโยชน์ของหนุมานประสานกาย

  • สมุนไพรหนุมานประสานกาบมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงได้หลายชนิด โดยวิธีการเตรียมน้ำมันทากันยุง ให้นำใบสมุนไพรมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำมาหั่นให้มีขนาดเล็กเท่า ๆ กัน จากนั้นให้เทน้ำมันมะพร้าวที่มีน้ำหนักเท่ากับตัวยาใส่ลงในกระทะ แล้วนำไปตั้งไฟให้ร้อนจัด แล้วนำสมุนไพรที่เตรียมไว้ทอดด้วยไฟร้อน ๆ ประมาณ 5 นาที แล้วปิดไฟ หลังจากนั้นให้ช้อนเอาสมุนไพรออก แล้วกรองน้ำมันด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาน้ำมันมาใช้เป็นยาทากันยุง โดยสารสกัดจากใบหนุมานประสานกายสามารถช่วยป้องกันยุงที่กัดกลางวันได้ประมาณ 2 ชั่วโมง และยุงที่กัดกลางคืนได้นานถึง 7 ชั่วโมง (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 6 ธันวาคม 2554 หน้า 22)
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและสมุนไพร หรือใช้ปลูกประดับอาคารต่าง ๆ ได้ดี เพราะหนุมานประสานกายเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลมากนัก ปลูกใส่ไว้ในกระถางได้ สามารถเก็บมาใช้ประโยชน์ได้นานและทันใจ ถ้าวันไหนรู้สึกเจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว ก็ให้เด็ดเอาใบมาสักหนึ่งช่อเคี้ยวให้ละเอียด กลืนเอาแต่น้ำ แล้วคายกากทิ้งก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ดีมาก แต่ถ้าใช้รักษาหอบหืดก็อาจจะต้องใช้เวลาในการรับประทานติดต่อกันนานสักหน่อยถึงจะหายดี
  • ในปัจจุบันหมอชาวบ้านได้คิดค้นยาจากสมุนไพรหนุมานประสานกายนำมาทำเป็นยาสมุนไพรสำเร็จเป็นรายแรก โดยมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาโรคหวัด ไร้ผลข้างเคียง ส่วนผสมมาจากธรรมชาติ 100% ไม่เป็นอันตราย และผ่านการพิสูจน์ตำรับยาจาก อย. แล้ว นอกจากใบหนุมานประสานกายแล้ว ยังประกอบไปด้วยสมุนไพรชนิดอีกหลายชนิด เช่น ชะเอมเทศ ลูกมะแว้ง และหญ้าเกร็ดหอม เป็นต้น ซึ่งจากการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างพบว่าสามารถช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ดี ไม่ว่าจะเป็นหวัด มีอาการไอ เจ็บคอ ฯลฯ ก็จะเห็นผลภายใน 2-3 วัน

คำสำคัญ : หนุมานประสานกาย

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนุมานประสานกาย. สืบค้น 23 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1768&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1768&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเกลือ

มะเกลือ

มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบหรือไม่ผลัดใบ เปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามยาว แก่นสีดำสนิท เนื้อละเอียดมันสวยงาม ทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนสีเงิน ใบแก่หนา ผิวเรียบมัน ด้านใต้ใบสีเขียวซีด บางเกลี้ยง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,010

กระท้อน

กระท้อน

ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,277

มะกอก

มะกอก

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร  ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ  เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,347

คำแสด

คำแสด

คำแสดเป็นไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร บริเวณยอดเป็นพุ่มกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงเวียนรอบๆ ต้น รูปทรงไข่ ตรงโคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ บาง เกลี้ยง และนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ออกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปไข่ สีชมพูอ่อน กลีบดอกมีทั้งหมด 5 กลีบ ส่วนผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เมื่อผลแก่จะแตกออก 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอมแดงจำนวนมากหลายเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,077

กระโดนดิน

กระโดนดิน

ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,294

จมูกปลาหลด

จมูกปลาหลด

ต้นจมูกปลาหลด จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สามารถเลื้อยไปได้ไกลเกินกว่า 5 เมตร เถามีขนาดเล็กกลมเป็นสีเขียวและมียางสีขาวอยู่ในเถา ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและจะค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ลำต้นและใบเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็น พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและวิธีการปักชำ ชอบอยู่ในร่มรำไร ชอบความชื้น มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย โดยมักขึ้นบริเวณน้ำตื้นริมบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,369

กัดลิ้น

กัดลิ้น

ต้นกัดลิ้น หรือ ต้นลำไยป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างถึงค่อนข้างกลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในประเทศไทยสามารถพบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต่างประเทศนั้นจะพบได้มากในประเทศพม่าและกัมพูชา มีใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวน 3 ใบ โดยใบย่อยใบกลางจะมีขนาดใหญ่สุด ใบย่อยคู่ข้างจะอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยจะป่องเป็นข้อ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหม ส่วนโคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ส่วนท้องใบสีอ่อนกว่า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,403

ผักหนอก

ผักหนอก

ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 6,697

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 11,164

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,833