หนุมานประสานกาย
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 8,555
[16.4258401, 99.2157273, หนุมานประสานกาย]
หนุมานประสานกาย ชื่อสามัญ Edible-stemed Vine
หนุมานประสานกาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Schefflera leucantha R.Vig. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Schefflera kwangsiensis Merr. ex H.L.Li, Schefflera tamdaoensis Grushv. & Skvortsova, Schefflera tenuis H.L.Li) จัดอยู่ในวงศ์เล็บครุฑ (ARALIACEAE)
สมุนไพรหนุมานประสานกาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง (จีน) เป็นต้น
ลักษณะของหนุมานประสานกาย
- ต้นหนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
- ใบหนุมานประสานกาย ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร
- ดอกหนุมานประสานกาย ออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยเป็นดอกสีเขียวหรือสีนวลและมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร
- ผลหนุมานประสานกาย ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลมีความกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด
สรรพคุณของหนุมานประสานกาย
- ทั้งต้นมีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยทำให้เลือดลมเดินสะดวก (ทั้งต้น)
- ใบมีรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคหอบหืด แพ้อากาศ เป็นภูมิแพ้ ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นเวลา 7 สัปดาห์ โรคหืดจะหาย (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เป็นเวลา 7 สัปดาห์ (ใบ)
- ช่วยรักษาวัณโรคปอด ด้วยการใช้ใบสดเล็ก ๆ 9 ใบ นำมาต้มกับน้ำ 3 ถ้วยแก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกัน 60 วัน แล้ว x-ray ดู ปอดจะหาย และให้รับประทานต่อไปอีกระยะหนึ่ง (ใบ)
- ช่วยรักษาวัณโรค ด้วยการใช้ใบ 10 ช่อ และรากสดของพุดตาน 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)
- ใบใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 9 ใบ นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ นำมาผสมกับเหล้ากินเป็นยา (ใบ)
- ใบนอกจากจะมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาหวัด ลดอาการไอ แก้ร้อนใน แก้เจ็บคอและคออักเสบได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ใบสดนำมาเคี้ยวแล้วค่อย ๆ กลืนช้า ๆ (ใบ)
- ช่วยรักษาแผลในปากที่เกิดจากร้อนใน ด้วยการรับประทานใบสด 1-2 ใบ แล้วนำมาเคี้ยวให้ละเอียด แล้วกลืนเช้าเย็น (ใบ)
- ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 9 ใบ นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ใบ)
- ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสด 12 ใบย่อย นำมาคั้นน้ำ 2 ถ้วยตะไล ใช้รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยตะไล ติดต่อกัน 5-7 วัน (ใบ)
- ใช้เป็นยาแก้พิษต่าง ๆ ด้วยการใช้ใบนำมาต้มเอาแต่น้ำหรือนำมาคั้นเอาน้ำผสมกับเหล้ากิน (ใบ)
- ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ (ทั้งต้น)
- ช่วยแก้อาการตกเลือดเนื่องจากการคลอดบุตรของสตรีในระหว่างการคลอดหรือภายหลังการคลอดบุตรหรือเนื่องจากตกเลือดเพราะใกล้หมดประจำเดือน ให้ใช้ใบสดประมาณ 10-15 ช่อ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าโรง 4-6 ช้อน แล้วคั้นเอาน้ำกิน (ใบ)
- ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วเอากากมาทาหรือพอกเป็นยาสมานแผล และช่วยห้ามเลือด (ใบ)
- ยางใช้ใส่แผลสด จะช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว (ยาง)
- ช่วยแก้อาการอักเสบบวม (ใบ)
- ช่วยแก้ช้ำใน ด้วยการใช้ใบหนุมานประสานกายประมาณ 1-3 ช่อ นำมาตำให้ละเอียด ต้มกับน้ำครึ่งแก้ว แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้น้ำยานี้กินทุกเช้าและเย็น (ใบ)
- ใช้แก้เส้นเลือดฝอยในสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต และช่วยกระจายเลือดลมที่จับกันเป็นก้อนหรือคั่งภายใน (ใบ)
- ส่วนในคู่มือยาสมุนไพร และโรคประเทศเขตร้อนและวิธีบำบัดรักษา ได้ระบุว่าใบหนุมานประสานกายสามารถใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบในระยะเรื้อรัง โรคหืด โรคแพ้อากาศ และอาการแพ้อื่น ๆ ได้ นอกจากจะใช้รักษาโรคเกี่ยวกับหลอดลมและหืดแล้ว นักวิทยาศาสตร์ขาวญี่ปุ่นยังได้ทำการวิจัยแล้วพบว่ายังมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเกี่ยวปอดต่าง ๆ ได้อีกดังต่อไปนี้ เช่น ปอดชื้น วัณโรค ต่อมน้ำเหลืองในปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เยื่อหุ้มปอดอักเสบชนิดมีหนอง เนื้อร้ายในปอด เป็นแผลในปอด ไอกรน โรคไข้ปอดบวม โรคไข้หวัดใหญ่ (ใบ)
ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรหนุมานประสานกาย
- ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ คนที่มีไข้สูง และหญิงตั้งครรภ์
- ห้ามกินยานี้ในขณะที่กำลังเหนื่อยหรือในขณะที่หัวใจเต้นเร็ว เช่น หลังการออกกำลังกาย เพราะจะยิ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหนุมานประสานกาย
- สารเคมีที่พบ ได้แก่ Butulinic acid,D-glucose, D-Xylose, Oleic acid, L-rhamnose
- สารสกัดจากใบหนุมานประสานกายมีสารซาโปนินซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลมแต่ไปกดหัวใจ โดยสารในกลุ่มซาโปนิน (Saponins) สามารถขยายหลอดลม ซึ่งจะลดการหลั่งของสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ คือ ฮีสตามีน (Histamine) และสารเมซโคลิน (Methcholine)
- จากการทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพรชนิดนี้ที่มีต่อหัวใจ พบว่าเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจและเป็นพิษต่อหัวใจ ในขนาดสูงอาจทำให้มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้
- สารสกัดด้วยเอทานอลจากใบหนุมานประสานกาย มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อบุผิวให้เร็วขึ้น และเพิ่มการหดตัวของบาดแผลได้มากกว่าแผลที่ไม่ได้ใช้สมุนไพร
ประโยชน์ของหนุมานประสานกาย
- สมุนไพรหนุมานประสานกาบมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงได้หลายชนิด โดยวิธีการเตรียมน้ำมันทากันยุง ให้นำใบสมุนไพรมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำมาหั่นให้มีขนาดเล็กเท่า ๆ กัน จากนั้นให้เทน้ำมันมะพร้าวที่มีน้ำหนักเท่ากับตัวยาใส่ลงในกระทะ แล้วนำไปตั้งไฟให้ร้อนจัด แล้วนำสมุนไพรที่เตรียมไว้ทอดด้วยไฟร้อน ๆ ประมาณ 5 นาที แล้วปิดไฟ หลังจากนั้นให้ช้อนเอาสมุนไพรออก แล้วกรองน้ำมันด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาน้ำมันมาใช้เป็นยาทากันยุง โดยสารสกัดจากใบหนุมานประสานกายสามารถช่วยป้องกันยุงที่กัดกลางวันได้ประมาณ 2 ชั่วโมง และยุงที่กัดกลางคืนได้นานถึง 7 ชั่วโมง (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 6 ธันวาคม 2554 หน้า 22)
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและสมุนไพร หรือใช้ปลูกประดับอาคารต่าง ๆ ได้ดี เพราะหนุมานประสานกายเป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลมากนัก ปลูกใส่ไว้ในกระถางได้ สามารถเก็บมาใช้ประโยชน์ได้นานและทันใจ ถ้าวันไหนรู้สึกเจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว ก็ให้เด็ดเอาใบมาสักหนึ่งช่อเคี้ยวให้ละเอียด กลืนเอาแต่น้ำ แล้วคายกากทิ้งก็จะช่วยบรรเทาอาการได้ดีมาก แต่ถ้าใช้รักษาหอบหืดก็อาจจะต้องใช้เวลาในการรับประทานติดต่อกันนานสักหน่อยถึงจะหายดี
- ในปัจจุบันหมอชาวบ้านได้คิดค้นยาจากสมุนไพรหนุมานประสานกายนำมาทำเป็นยาสมุนไพรสำเร็จเป็นรายแรก โดยมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาโรคหวัด ไร้ผลข้างเคียง ส่วนผสมมาจากธรรมชาติ 100% ไม่เป็นอันตราย และผ่านการพิสูจน์ตำรับยาจาก อย. แล้ว นอกจากใบหนุมานประสานกายแล้ว ยังประกอบไปด้วยสมุนไพรชนิดอีกหลายชนิด เช่น ชะเอมเทศ ลูกมะแว้ง และหญ้าเกร็ดหอม เป็นต้น ซึ่งจากการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างพบว่าสามารถช่วยบรรเทาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ดี ไม่ว่าจะเป็นหวัด มีอาการไอ เจ็บคอ ฯลฯ ก็จะเห็นผลภายใน 2-3 วัน
คำสำคัญ : หนุมานประสานกาย
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หนุมานประสานกาย. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1768&code_db=610010&code_type=01
Google search
เฟื่องฟ้า จัดเป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีอายุยืนหลายสิบปี สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 10 เมตร ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่งและบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ลำต้นมีลักษณะกลมใหญ่ เนื้อแข็ง ผิวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล ลำต้นเปราะและหักได้ง่าย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่เหนือใบ หนามมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เสียบยอด เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายระบายน้ำดี ชอบความชื้นต่ำและแสงแดดแบบเต็มวัน
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 13,684
ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 13,698
ผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,877
ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,638
สำหรับต้นกระเบาน้ำนั้นเป็นพืชจำพวกต้นขนาดกลาง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา เป็นใบเดี่ยวสีชมพูแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ออกเรียงแบบสลับ รูปรียาวแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบเรียบ ส่วนดอกของกระเบาน้ำนั้นจะมีสีขาวนวล ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก กลิ่นหอมฉุน
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,400
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้น ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแผ่ ออกตั้งฉากกับลำต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ รูปไข่หรือรูปรีปลายเรียวแหลมโคนสอบแคบ ดอกสีแดง ตามปลาย ๆ กิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยก 3-4 แฉก ไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขน มันเป๋นเงากลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบม้วนออก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ จำนวนมากโคนก้าน เกสรติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ผลรูปรี หรือรูปขอบขนาน คล้ายผลนุ่น เมล็ดสีดำ หุ้มด้วยปุยสีขาว
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,377
ถั่วลิสง (Peanut, Groundnut, Monkeynut, Arachis) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือและอีสานเรียก ถั่วดิน ส่วนประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเรียก ถั่วคุด เป็นต้น ซึ่งถั่วลิสงนั้นจัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทางทวีปอเมริกาใต้ มีทั้งสายพันธุ์ป่าซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 ชนิดด้วยกัน และสายพันธุ์สำหรับปลูกซึ่งจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวเรียกว่า Hypogaea โดยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,326
กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,820
คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่ ใบดกหนาทึบ ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,595
ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 3,930