ระกำป่า

ระกำป่า

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 2,654

[16.4258401, 99.2157273, ระกำป่า]

ระกำป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Cathormion umbellatum (Vahl) Kosterm. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

สมุนไพรระกำป่า มีชื่อเรียกอื่นว่า มะขามแขก (ราชบุรี) ส่วนทางราชบุรีและนครสวรรค์จะเรียกว่า "ระกำป่า"

ลักษณะของระกำป่า

  • ต้นระกำป่า จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีความสูงของต้นประมาณ 4-8 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน กิ่งมีขนประปราย มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ชวา และนิวกินี ส่วนในประเทศไทยพบได้แทบทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง หรือมีน้ำท่วมในหน้าฝน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร ถ้าขึ้นตามซอกหินของผา ลำต้นจะแคระแกร็น กิ่งจะแผ่รายไปตามหน้าผาด้วยแรงลม โคนและเหง้าใหญ่แข็งแรง ยึดซอกหินได้อย่างมั่นคง
  • ใบระกำป่า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกเรียงสลับ แกนกลางยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร มีต่อมบุ๋มตรงกลาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ตามแกนใบและระหว่างใบประกอบย่อย ใบประกอบย่อยมีประมาณ 2-4 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีประมาณ 5-13 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ไม่สมมาตรกัน ปลายใบกลมและมีติ่ง โคนใบตัดหรือเบี้ยว ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยง มีเส้นใบออกจากโคนประมาณ 3-4 เส้น จรดกันเป็นร่างแห ไม่มีก้าน
  • ดอกระกำป่า ออกดอกเป็นช่อเชิงหลั่นเป็นกระจุกแน่นตามซอกใบบริเวณปลายยอด ดอกมีจำนวนมาก เกลี้ยง ดอกด้านนอกยาวกว่าดอกด้านในเล็กน้อย ดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนครุย กลีบดอกเป็นรูปกรวย ยาวได้ประมาณ 0.7 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ลักษณะเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร ขอบมีขนครุย ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นสีขาวจำนวนมาก หลอดเกสรเพศผู้สั้น ๆ ยาวประมาณหลอดกลีบดอก เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร รังไข่ไร้ก้าน เกลี้ยง
  • ผลระกำป่า ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน คอดเป็นข้อต่อเรียงกัน ฝักมีลักษณะบิดหรือโค้ง เว้าตามจำนวนเมล็ด ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 5-13 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบนเกือบกลมหรือเป็นรูปไข่กลีบ ยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ผิวเป็นร่างแห

สรรพคุณของระกำป่า

  • แก่นระกำป่านำมาฝนกับเหล้า ใช้รับประทานเป็นยาแก้เลือดลม แก้กระษัย (แก่น)

 

คำสำคัญ : ระกำป่า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ระกำป่า. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1739&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1739&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,209

แค

แค

ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 11,773

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,009

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,455

ไทร

ไทร

ลักษณะทั่วไป  เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีลำต้นแข็งแรง บางชนิดมีเรือนยอดพุ่มทรงหนาทึบและบางชนิดเป็นทรงพุ่มโปร่งแต่บางชนิดตามลำต้น จะมีรากอากาศห้อยย้อยตามกิ่งก้าน  ใบต้นไทร มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของมันแต่โดยมากสีของใบจะมีสีเขียวด่างขาว ด่างดำปนเทา หรือสีครีมก็มี  ถิ่นกำเนิดอยู่แถบทวีปเอเชีย อินเดีย ไทย จีน  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนหรือปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,332

กระทงลาย

กระทงลาย

ต้นกระทงลายเป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง ใบกระทงลายเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลม หรือมน ริมขอบใบหยัก ละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผินเรียบใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ 5-1.5 ซม. ดอกกระทงลายออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกมีทั้งดอกเพศผู้และเมียซึ่งมักจะแยกกันคนละต้น 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,036

ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้นๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,686

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 10,660

กระดอม

กระดอม

ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,682

ฝาง

ฝาง

ฝาง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวานจะเรียกว่า "ฝางเสน" แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่นจะเรียกว่า "ฝางส้ม" พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,792