ผักคะน้า

ผักคะน้า

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้ชม 10,942

[16.4258401, 99.2157273, ผักคะน้า]

ผักคะน้า ชื่อสามัญ Kai-Lan (Gai-Lan), Chinese broccoli, Chinese kale (ชาวจีนจะเรียกว่าผักชนิดนี้ว่า "ไก่หลันไช่")
ผักคะน้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica alboglabra L.H.Bailey) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
        คะน้า เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย
        ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สำหรับบ้านเราสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน เป็นต้น เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก มัดหรือปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักของตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาวิตามินในผักให้คงอยู่ได้มากที่สุด
        คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือจะล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที หรือจะใช้สารละลายอื่น ๆ ก็จะดีมาก เช่น น้ำยาล้างผัก น้ำส้มสายชู เกลือละลายน้ำ เป็นต้น (เพราะผักคะน้านั้นได้ชื่อว่าเป็นผักที่พบสารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงมากที่สุด)
         ผักคะน้ามีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งการได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก และยังไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายของเรานำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ เป็นต้น ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดซ้ำ ๆ เดิม ๆ และควรเลือกรับประทานผักให้หลากหลาย ร่างกายจะได้ประโยชน์มากที่สุด

สรรพคุณของคะน้า
1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
3. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
4. ผักคะน้ามีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
5. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
6. คะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
8. ช่วยบำรุงโลหิต
9. ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
11. ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
12. ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
13. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
14. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
15. ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)
16. ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง (วิตามินอี)
17. มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง
18. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
20. ช่วยรักษาโรคหอบหืด เพราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม และยังช่วยขยายหลอดลมของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอีกด้วย
21. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมเมื่อถูกโจมตีด้วยละอองเกสรหรือฝุ่นที่ทำให้ร่างกายต่อต้าน
22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก (เส้นใย)
23. การรับประทานผักคะน้าเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดตะคริว
24. ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
25. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน
26. เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ เพราะผักคะน้าถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีน้ำตาลน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ (3-5%)
27. ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ (กรดโฟลิก)
28. ผักคะน้ามีโฟเลตสูง จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
29. ช่วยลดอาการกินของจุบจิบ เพราะแคลเซียมจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้คงที่ ทำให้ความอยากกินของจุบจิบสลายตัวไปได้ (ธาตุแคลเซียม)

ประโยชน์ของคะน้า
        สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูคะน้าก็เช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดผักคะน้า ยำก้านคะน้า ต้มจับฉ่าย คะน้าไก่กรอบ คะน้าปลาเค็ม คะน้าเห็ดหอม คะน้าปลากระป๋อง ข้าวผัดคะน้า เป็นต้น

คำสำคัญ : ผักคะน้า

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักคะน้า. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1605&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1605&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,443

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,878

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,392

ตะขบฝรั่ง

ตะขบฝรั่ง

ตะขบฝรั่งเป็นพืชผลไม้ตระกูลเบอรี่ของไทยที่อยู่ใกล้ตัว หาได้ง่าย และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ถือเป็นต้นไม้โตเร็วและให้ร่มเงา กิ่งก้านแผ่ออกกว้างส่งผลให้บริเวณใต้ต้นตะขบนั้นจะเป็นที่บังแดดให้ความร่มรื่นในยามแดดจัดได้ดี และยังถือได้อีกว่าเป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูงชนิดหนึ่งโดยใน 100 กรัมหรือประมาณ 25 ผล จะมีใยอาหารมากกว่า 6 กรัม เมื่อเทียบกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันอยู่ที่ 25 กรัม ดังนั้นการกินตะขบ 1 ถ้วยจะเท่ากับได้ปริมาณ 1 ใน 4 ของใยอาหารที่แนะนำเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,154

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,385

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,040

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,277

จันทร์ผา

จันทร์ผา

ลักษณะทั่วไป  ต้นจันทน์ผาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5 – 7 ฟุต ลำต้นแกร่งตั้งตรงเป็นลำเปลือกของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทานวล  ใบจะแตกออกเป็นช่อ  ตามส่วนยอดหรือ บางทีก็แตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้อีกลักษณะของใบจะแคบเรียวยาว ปลายในแหลมรูปหอกขอบใบแหลมรูปหอก ขอบใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 1.5 – 2 นิ้วยาวประมาณ 1.5 – 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงจะแตกออกตามโคนก้านใบคล้ายจั่นหมากพวงหนึ่ง ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ จำนวนมากมายหลายพันดอกด้วยกัน มีสีขาวดอก ๆ หนึ่งมีอยู่ 6 กลีบตรงกลางดอกจะมีจุดสีแดงสด ดอกบานเต็มที่ ประมาณ .5 นิ้ว จั่นพวงหนึ่งจะยาวห้อยลงมาตั้งแต่ 1.5 – 2 ฟุต

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,241

ผักขวง

ผักขวง

ผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,828

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ จัดเป็นไม้เลื้อย สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 6 เมตร มีรากพิเศษที่ออกเป็นกระจุกอยู่รอบข้อ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนและระบายน้ำได้ดี จึงควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดจัด เพราะจะช่วยทำให้ดอกดกและออกดอกได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,023