มะกอกเกลื้อน
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 6,896
[16.4258401, 99.2157273, มะกอกเกลื้อน]
มะกอกเกลื้อน ชื่อสามัญ Kenari, Upi
มะกอกเกลื้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium subulatum Guillaumin จัดอยู่ในวงศ์มะแฟน (BURSERACEAE)
สมุนไพรมะกอกเกลื้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะเลื่อม (พิษณุโลก, จันทบุรี), มักเหลี่ยม (จันทบุรี), โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี), มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี), มะเหลี่ยมหิน (มหาสารคาม), มะเกิ้ม (ภาคเหนือ), กอกกัน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะกอกเลื่อม (ภาคกลาง), มะกอกเลือด (ภาคใต้), มะกอกกั๋น (คนเมือง), มะเกิ้ม (ไทลื้อ), เกิ้มดง เพะมาง สะบาง ไม้เกิ้ม (ขมุ), ซาลัก (เขมร) เป็นต้น
ลักษณะของมะกอกเกลื้อน
ต้นมะกอกเกลื้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดกลม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ตามกิ่งมีแผลใบเห็นชัดเจน กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมส้มขึ้นหนาแน่น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดหรือแตกเป็นร่องตามยาว ส่วนเปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาว ๆ เมื่อสับจะมีน้ำยางสีขาวขุ่นหรือน้ำยางใส น้ำยางเมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีดำ มีกลิ่นคล้ายน้ำมันสน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ดี ชอบขึ้นในที่แล้ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักพบขึ้นตามบริเวณป่าไม้ผสมผลัดใบ ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะ ป่าดิบแล้ง และตามบริเวณป่าหญ้าหรือทุ่งหญ้าทั่วไป ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,200 เมตร
ใบมะกอกเกลื้อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงเวียน มีใบย่อยประมาณ 2-5 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ใบประกอบยาวประมาณ 12-14 เซนติเมตร แกนกลางยาวประมาณ 8.5-12 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่แกมวงรี รูปรีแกมรูปไข่ รูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปหอก ปลายใบมนเป็นติ่งแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่เลื่อยตื้น ๆ ตามรอยหยักมีขนเป็นกระจุก มีหูใบแต่หลุดร่วงได้ง่าย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร แผ่นใบกึ่งหนา คล้ายแผ่นหนัง หลังใบด้านบนมีขนขึ้นประปรายที่เส้นกลางใบและขอบใบ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนสั้น ๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป ท้องใบมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน เส้นแขนงใบมีข้างละ 8-15 เส้น ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.5-1.2 เซนติเมตร ก้านใบรวมมีหูใบแคบ 1 คู่ ขนาดประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ส่วนใบแก่เป็นสีแดงเข้ม
ดอกมะกอกเกลื้อน ออกดอกเป็นช่อเชิงลดตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้จะยาวกว่าช่อดอกเพศเมีย โดยช่อดอกเพศผู้มักออกเป็นแบบช่อกระจุกแยกแขนงยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนช่อดอกเพศเมียมักออกเป็นช่อกระจะยาวเพียง 8-10 เซนติเมตร ดอกเพศเมียมีขนทั่วไป กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลือง มี 3 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 2-2.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ส่วนกลีบรองกลีบดอกที่โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยหรือรูปถ้วย ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 3 แฉก ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขนนุ่มทั้งสองด้าน ขอบหยัก ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 อัน เชื่อมกันที่ฐานเป็นท่อสั้น ๆ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรีมี 3 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีออวุล 2 เม็ด ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผลมะกอกเกลื้อน ออกผลเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีผลประมาณ 1-4 ผล ช่อยาวประมาณ 2.5-8 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ รูปกลม หรือรูปกระสวย ผลอ่อนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนสีเขียวอมเหลือง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.7-3.5 เซนติเมตร บริเวณขั้วผลมีกลีบรองกลีบดอกเป็นรูปถ้วยเชื่อมติดอยู่กับก้านช่อดอก ขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร ภายในผลมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปกระสวย 3 เมล็ด เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งมาก ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม
สรรพคุณของมะกอกเกลื้อน
- ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้มะกอกเกลื้อนทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบ ช่วยบำรุงร่างกายให้มีกำลังแข็งแรง (ทั้งต้น)
- ตำรายาไทยจะใช้ผลนำมารับประทานเป็นยาแก้ไอ หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้ไอ (ผล)
- ผลใช้รับประทานเป็นยาช่วยขับเสมหะ น้ำลายเหนียว หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกิน (ผล)
- ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นมะกอกเกลื้อนเป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน (เปลือกต้น)
- แก่นมีรสเฝื่อนใช้เป็นยาแก้โลหิตระดูพิการ (แก่น)
- ยางสดใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการคัน ตุ่มคันหรือเม็ดผื่นคัน (ยาง)
- แก่นใช้เป็นยาแก้ประดง (อาการของโรคผิวหนังที่เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมากและมักมีไข้ร่วมด้วย) (แก่น)
ประโยชน์ของมะกอกเกลื้อน
- ผลสดมีรสฝาดเปรี้ยวใช้รับประทานได้ มะกอกเกลื้อนจัดเป็นพืชป่าเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ประชาชนสามารถเก็บผลมาขายได้ โดยการนำผลมาดองและแช่อิ่มแทนลูกหนำเลี้ยบรับประทาน หรือจะใช้ผลแก่รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริกก็ได้
- เนื้อในเมล็ดสีขาวมีรสมัน ใช้รับประทานได้
- ยางสดใช้เป็นเครื่องหอม
คำสำคัญ : มะกอกเกลื้อน
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะกอกเกลื้อน. สืบค้น 23 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1678&code_db=610010&code_type=01
Google search
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์ สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,663
ต้นเพกาจัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียแลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย โดยพบได้ตามป่าเบญจพรรณและป่าชื้นทั่วไป แม้ว่าต้นเพกาจะมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่นำเพกามารับประทานเป็นผัก (จัดอยู่ในหมวดดอกฝัก) ตามตำรายาสมุนไพรนั้นเราจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นเพกาตั้งแต่ราก เปลือกต้น ฝัก ใบ รวมไปถึงเมล็ด ซึ่งจัดเป็นสมุนไพร "เพกาทั้ง 5" และหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานฝักอ่อนของเพกา เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากฝักของเพกามีฤทธิ์ร้อนมาก
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,767
ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,493
ระกำป่า จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีความสูงของต้นประมาณ 4-8 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน กิ่งมีขนประปราย มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน ชวา และนิวกินี ส่วนในประเทศไทยพบได้แทบทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง หรือมีน้ำท่วมในหน้าฝน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร ถ้าขึ้นตามซอกหินของผา ลำต้นจะแคระแกร็น กิ่งจะแผ่รายไปตามหน้าผาด้วยแรงลม โคนและเหง้าใหญ่แข็งแรง ยึดซอกหินได้อย่างมั่นคง
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,087
ต้นกระจับนกเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตร ใบกระจับนกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาว 1.6-4.5 เซนติเมตร รูปรีแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่ชัดเจน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกกระจับนกสีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ แกนช่อยาว 3-10.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 1-2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน ขนาด 3 มิลลิเมตร ก้านเกสรผู้ยาว 2 มิลลิเมตร จำนวน 5 อัน
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,645
กระเจี๊ยบแดงนั้นเป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีสีม่วงอมแดง เป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปฝ่ามือมี 3 แฉก หรือ 5 แฉก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ความกว้างและยาวประมาณ 8 – 15 เซนติเมตร ส่วนดอกนั้นออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกชมพูหรือเหลือง ก้านดอกสั้น มีประมาณ 8-12 กลีบ เมื่อดอกกระเจี๊ยบแดงเจริญเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร และผลนั้นจะมีปลายแหลมเป็นรูปรี ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เมื่อผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล ตลอดจนตัวผลจะมีกลีบเลี้ยงสีแดงหนาชุ่มน้ำหุ้มผลไว้
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 10,141
พญาดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นมีความสูงได้ถึง 4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขน มีหูใบเป็นปลอกหุ้มลำต้น ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม สีน้ำเงินเข้ม
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 1,930
ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,721
ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง
- ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,190
ลักษณะทั่วไป ต้นจันทน์ผาเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 5 – 7 ฟุต ลำต้นแกร่งตั้งตรงเป็นลำเปลือกของลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทานวล ใบจะแตกออกเป็นช่อ ตามส่วนยอดหรือ บางทีก็แตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้อีกลักษณะของใบจะแคบเรียวยาว ปลายในแหลมรูปหอกขอบใบแหลมรูปหอก ขอบใบเรียบเกลี้ยงมีสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 1.5 – 2 นิ้วยาวประมาณ 1.5 – 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวงจะแตกออกตามโคนก้านใบคล้ายจั่นหมากพวงหนึ่ง ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ จำนวนมากมายหลายพันดอกด้วยกัน มีสีขาวดอก ๆ หนึ่งมีอยู่ 6 กลีบตรงกลางดอกจะมีจุดสีแดงสด ดอกบานเต็มที่ ประมาณ .5 นิ้ว จั่นพวงหนึ่งจะยาวห้อยลงมาตั้งแต่ 1.5 – 2 ฟุต
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,863