หญ้างวงช้าง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 4,216
[16.4534229, 99.4908215, หญ้างวงช้าง]
ลักษณะของหญ้างวงช้าง
ต้น หญ้างวงช้างเป็นวัชพืชขึ้นตามทุ่ง สวน ป่า ที่รกร้างทั่วไป อายุสั้น ลำต้นขนาดเล็ก สูง 10-60 ซม. ลำต้นอวบน้ำสีเขียว มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่นทั้งลำต้นและใบ เป็นพืชที่เกิดตอนฤดูฝน ถึงหน้าแล้งจะตาย มักพบตามที่ชื้นแฉะ เช่น ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หรือทางนํ้า แหล่งน้ำต่างๆ ท้องนาหรือตามที่รกร้างต่างๆ และมีปลูกเก็บมาขายเป็นยาสดตามสวนยาจีนต่างๆ
ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปไข่ปลายแหลม ผิวใบนิ่มแต่สากขรุขระ กว้าง 1 – 2 นิ้ว ยาว 2-3.5 นิ้ว ออกเรียงสลับตรงข้ามกิน ขอบใบมีรอยหยักเป็นคลื่น
ดอก ออกดอกที่ยอดลำต้น เป็นช่อม้วนงอลง ยาว 5-10 ซม. คล้ายงวงช้าง ดอกมีสีฟ้าหรือสีขาวเรียงเป็นแถวด้านเดียว ดอกบานจากโคนไปปลายช่อดอก กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 5 กลีบ กลีบดอกสีฟ้าใกล้ขาวติดกันเป็นหลอด ที่ขอบมีรอยแยกตื้นๆ แบ่งเป็น 5 กลีบ
ผล รูปไข่ขนาดเล็กมาก ยาว 4-5 มม. เมื่อแก่จะแตกออกเป็นสองซีก
ประโยชน์ทางยาของหญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง
แก้ปวดท้อง ใช้ต้นสดหนัก 30-60 กรัม ต้มน้ำกิน หรือคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
แก้ปอดอักเสบ ปอดมีฝีเป็นหนอง มีหนองในช่องหุ้มปอด ใช้ทั้งต้นสด 60 กรัม ต้มผสมน้ำผึ้งกิน หรือใช้ทั้งต้นสด 60-120 กรัม ตำคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
แก้ปากเปื่อยเน่า ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำอมบ้วนปากวันละ 4-6 ครั้ง หรือใช้ทั้งต้นต้มเอาน้ำชะล้าง หรือคั้นเอาน้ำมาอมบ้วนปากได้
แก้แผลฝีเม็ดเล็กๆ มีหนอง ใช้เป็นยารักษาสิว ทาแก้โรคผิวหนัง ใช้รากสด 60 กรัม ผสมเกลือเล็กน้อย ต้มน้ำกิน แล้วใช้ใบสดตำกับข้าวเย็นพอกแผลอีกด้วย
ภาพโดย : http://www.google.com
คำสำคัญ : สมุนไพร
ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). หญ้างวงช้าง. สืบค้น 5 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=56&code_db=610010&code_type=01
Google search
สมุนไพรรากสามสิบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สามร้อยราก (กาญจนบุรี), ผักหนาม (นครราชสีมา), ผักชีช้าง (หนองคาย), จ๋วงเครือ (ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พอควายเมะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน, สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว, สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 2,662
ข่า (Galanga, Creater Galanga, False Galanga) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกข่าตาแดง ภาคเหนือเรียกข่าหยวก, ข่าหลวง, ข่าใหญ่ หรือกฎุกกโรหินี ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกสะเออเคย เป็นต้น ซึ่งข่าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ข่าหยวก, ข่าป่า และข่าตาแดง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มักนิยมนำข่าตาแดงมาทำเป็นยา
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,711
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดต้นและแข็งแรงมาก ลำต้นสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ ใบเป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีอยู่ ประมาณ 10-18 คู่ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายกิ่งและโคนใบมนสีเขียวแก่ ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆอยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบสีเหลืองและมีจุดสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว ผลเมื่อดอกล่วงแล้วจะติดผลซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาวซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมวและอีกชนิดหนึ่งเปลือกนอกเปราะ เป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆเป็นสีเหลืองอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัดซึ่งจะหุ้มเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลมผิวเปลือกเป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,906
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นต้นขนาดย่อม กิ่งเล็กเรียวงอไปมาเล็กน้อยตามข้อ ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามกิ่งดูคล้ายใบประกอบ เหมือนใบมะยมดอกเล็ก กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองแดง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ผลกลมฉ่ำน้ำ ผิวเป็นพูเล็กน้อย สีเขียวถึงขาว ขั้วสีแดงห้อยลงใต้ใบ การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด หรือกิ่งปักชำ ประโยชน์ด้านสมุนไพรใบและต้น รสหวานเย็น ใช้น้ำยาหยอดตาแก้อักเสบ รักษาแผลในจมูก ราก รสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ แก้โรคคางทูม
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,242
เต่าร้าง (Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm) หรือเต่ารั้ง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น อยู่ในตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เกี๋ยง, เขืองหลวง, เต่ารั้ง หรือเต่าร้าง ส่วนน่านเรียก หมากมือ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างเต่าร้างนั้นเป็นพืชที่พบการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย, ตอนใต้ของจีน, ศรีลังกา, เวียดนาม และไทยเราด้วย ชอบอยู่ในป่าดิบทุกแห่ง มักขึ้นตรงที่มีความชุ่มชื้นสูง โดยลำต้นจะเป็นปล้องสูงชะลูดขึ้นไปไม่เท่ากัน โดยบางต้นอาจเตี้ย ในขณะที่บางต้นอาจสูง
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 10,251
สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,478
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดโปร่ง ประกอบรูปขนนกเรียงสลับกัน ใบมีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างออกตรงกันข้าม ใบปลายมีขนาดใหญ่กว่า กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 4-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนสอบ ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ผลรูปไข่แข็งมาก เนื้อในสีเหลืองมียางเหนียว เมล็ดรูปรี พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ออกดอกมีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่ ธันวาคม-กุมภาพันธ์
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,690
ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,188
ต้นกระไดลิงเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็ง เหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได จึงเรียกกันว่า “กระไดลิง” กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบกระไดลิงใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด กว้าง 5-12 ซม. ยาว 6-11 ซม. ปลายแหลมหรือเว้ามากหรือน้อย ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก โคนใบกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบเป็นรูปคล้ายหัวใจ เส้นใบออกจากโคนใบ 5-7 เส้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ก้านใบยาว 5-5 ซม. หูใบเล็กมาก เป็นติ่งยาว ร่วงง่าย
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 8,702
ต้นผักแขยง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน เป็นพืชฤดูเดียวหรือหลายฤดู และจัดเป็นวัชพืชในนาข้าว ลำต้นกลมกลวงและเป็นข้อๆ และมีความสูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร อาจแตกกิ่งมากหรือไม่แตกกิ่ง ลำต้นทอดเลื้อย ผิวเกลี้ยงหรือมีต่อม แตกรากจากข้อ ทั้งต้นและใบเมื่อนำมาหักจะมีกลิ่นหอมฉุนและเผ็ดร้อน ออกดอกและติดในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินชื้นแฉะ มักขึ้นตามริมคูหรือคันนา อ่างเก็บน้ำ บริเวณที่มีน้ำขังเล็กน้อย และพื้นที่ชุ่มชื้นอื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,915