พญาดง
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 2,020
[16.4258401, 99.2157273, พญาดง]
พญาดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Persicaria chinensis (L.) H. Gross (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Polygonum chinense L.) จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)
สมุนไพรพญาดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักบังใบ ผักไผ่น้ำ (ภาคเหนือ), เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง), หน่อกล่ะอึ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), มีส้อย ลำถ้อย (ลั้วะ), ปร้างเจงบั้ว (ปะหล่อง), โพ้งลิ่น (เมี่ยน) เป็นต้น
ลักษณะของพญาดง
- ต้นพญาดง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นมีความสูงได้ถึง 4 เมตร
- ใบพญาดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร ผิวใบเรียบหรือมีขน มีหูใบเป็นปลอกหุ้มลำต้น
- ดอกพญาดง ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีชมพู
- ผลพญาดง ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปเกือบกลม สีน้ำเงินเข้ม
สรรพคุณของพญาดง
- ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้รากพญาดง ผสมกับรากสากเหล็ก รากหนามแน่ และรากปัวชุนเย นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้องน้อย สำหรับกามโรค (ราก)
- ชาวเขาเผ่าอีก้อ มูเซอ จะใช้ ใบหรือทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ, ทั้งต้น)
- ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปัสสาวะขัด (สำหรับสตรีที่ยังไม่หมดประจำเดือน ห้ามใช้ในขณะที่มีรอบเดือน) (ใบ)
- ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นิ่ว (ทั้งต้น)
- ทั้งต้นนำมาทุบห่อผ้าหมดไฟ ใช้เป็นยาประคบแก้อาการปวดท้องไส้ติ่งที่มีอาการไม่มาก (ทั้งต้น)
- ใช้เป็นยาแก้โรคหนองใน โดยตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหรือเหง้าพญาดง ผสมกับรากขี้ครอก โดยใช้อย่างละเท่ากัน นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มเคี่ยวให้ข้น ใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคหนองใน ส่วนอีกตำรับจะใช้ใบหรือยอดพญาดงผสมกับรากส้มกุ้ง นำมาต้มกับน้ำดื่ม ส่วนชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้เหง้าพญาดง ผสมกับเหง้าเอื้องหมายนา และว่านกีบแรด นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้หนองใน (รากหรือเหง้า, ใบหรือยอด)
- สำหรับสตรีที่มีอายุมากแล้วและต้องการให้ประจำเดือนหมด ให้ใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาทำให้หยุดมีประจำเดือน แต่ห้ามใช้กับสตรีที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสตรีมีครรภ์เด็ดขาด (ใบ)
- ใบหรือทั้งต้นใช้ตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลสด แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ, ทั้งต้น)
- ใบหรือทั้งต้นนำมาตำหรือคั้นเอาน้ำทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด ฝี หนอง ฆ่าเชื้อโรค (ใบ, ทั้งต้น)
ประโยชน์ของพญาดง
- ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้
- ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนนำมารับประทานโดยจิ้มกับเกลือ ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ยอดอ่อนนำไปย่างกับไฟรับประทานกับน้ำพริก ส่วนชาวปะหล่องจะนำใบมาสับให้ละเอียดใช้เป็นส่วนผสมในการทำลาบ
- ชาวเมี่ยนจะใช้ใบนำมาต้มกับน้ำแล้วนำน้ำที่ได้มาใช้เป็นส่วนผสมในการทำแป้งเหล้า
คำสำคัญ : พญาดง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พญาดง. สืบค้น 14 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1734&code_db=610010&code_type=01
Google search
คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 14,215
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,097
หญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร และมีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 30 เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม มีอายุหลายปี ในประเทศไทยยังไม่มีการเพาะปลูกหญ้าฝรั่น หัวหญ้าฝรั่น ลักษณะคล้ายกับหัวหอม เป็นที่สะสมกักตุนแป้ง หัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5 เซนติเมตร และห่อหุ้มด้วยเส้นใยขนานกันหนา ใบหญ้าฝรั่น ลักษณะยาวเรียวแหลมแคบ มีสีเขียว แต่ละใบมีความยาวถึง 40 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,424
หากเอ่ยถึงเจ้าแห่งสมุนไพรที่เป็นยาอายุวัฒนะของชาวจีน แน่นอนว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเห็ดหลินจือ (Lingzhi) ซึ่งเห็ดหลินจือนี้ถือเป็นสมุนไพรของจีนที่มีใช้เป็นสรรพคุณทางยามานานถึงกว่าสองพันปีเลยทีเดียว ซึ่งถือเป็นสมุนไพรหายากอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณและคุณค่าในการรักษาโรคต่างๆ ได้สูง โดยเห็ดชนิดนี้มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งมีการแบ่งออกไปตามสีและคุณค่าของเห็ด แถมยังถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคลของชาวจีนอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,751
ต้นกระสังเป็นไม้ล้มลุก สูง 15-30 ซม. ลำต้น และใบอวบน้ำ ใบกระสังเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ มีต่อมโปร่งแสง ช่อดอกออกที่ข้อตรงข้ามกับใบ เรียงโค้งขึ้น ประกอบด้วยดอกเล็กๆ ที่ไม่มีก้านดอกจำนวนมากเวียนรอบแกน ดอกกระสังเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ไม่มีทั้งกลีบเลี้ยง และกลีบดอก มีใบประดับดอกละ 1 ใบ มีเกสรเพศผู้ 2 อัน อยู่ข้างๆ รังไข่ อับเรณูสีขาว ก้านชูอับเรณูสั้น เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่รูปกลม อยู่เหนือฐานดอก ผลกระสังลักษณะกลม มี 1 เมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 10,092
กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทกินหัว ลำต้นสูง 1-2 ฟุต มีหัวลักษณะกลมแป้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภายนอกของหัวกระเทียมมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่หลายชั้น ภายในหัวประกอบแกนแข็งตรงกลาง ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-20 กลีบ เนื้อกระเทียมในกลีบมีสีเหลืองอ่อนและใส มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง มีกลิ่นฉุนจัด
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,643
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,682
ต้นนนทรี เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 7,256
ต้นผักกูด จัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ โดยเฟิร์นชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์หรือไหล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย ส่วนในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาคในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 12,994
มะคังแดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน พม่า และไทย มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และตามป่าเบญจพรรณ
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,946