ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 3,322

[16.4258401, 99.2157273, ไฟเดือนห้า]

ไฟเดือนห้า ชื่อสามัญ Bastard ipecacuanha, Butterfly Weed, Blood Flower, Milkweed, Silkweed
ไฟเดือนห้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Asclepias curassavica L. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE หรือ ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรไฟเดือนห้า มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า คำแค่ (แม่ฮ่องสอน), บัวลาแดง (เชียงใหม่), ค่าน้ำ เด็งจ้อน (ลำปาง), ไม้จีน (ประจวบคีรีขันธ์), ดอกไม้เมืองจีน ไม้เมืองจีน (สุราษฎร์ธานี), เทียนแดง (ภาคกลาง), เทียนใต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เหลียนเซิงกุ้ยจื่อฮวา จิงเฟิ่งฮวา (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของไฟเดือนห้า
       ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร และอาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน ไฟเดือนห้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป
       ใบไฟเดือนห้า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-13 เซนติเมตร
       ดอกไฟเดือนห้า ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 7-20 ดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3.5-6 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง ยาวเกือบ 1 เซนติเมตร กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน
        ผลไฟเดือนห้า ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงยาวคล้ายรูปกระสวย ยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกได้ ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่แบนและมีขนยาวสีขาว เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 6-7 มิลลิเมตร และกระจุกขนยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร

สรรพคุณของไฟเดือนห้า
1. เมล็ดมีรสขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาบำรุงให้ร่างกายอบอุ่น (เมล็ด)
2. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุไฟ (ต้น)
3. ใช้เป็นยาขับพิษเลือดในเดือนอยู่ไฟ (เมล็ด)[1]แก้เลือดทำพิษในเรือไฟ (การติดเชื้อที่มดลูกหลังการคลอดบุตร) (ต้น)
4. ช่วยแก้โรคหัวใจอ่อน (ต้น, เมล็ด)
5. ต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ตัวเย็นหมดสติ ไข้ตรีโทษ (อาการไข้กระหายน้ำ เหงื่อออกมา ซึม เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย บางครั้งมีอาการอาเจียนเป็นสีเหลืองปนเลือด) (ต้น)
6. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมากไม่รู้ตัว (เมล็ด)
7. รากมีรสเผ็ด เป็นยาสุขุม มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาทำให้อาเจียน (ราก, ทั้งต้น)
8. ช่วยแก้เต้านมอักเสบ ด้วยการใช้เมล็ดไฟเดือนห้าประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น (ราก, เมล็ด)
9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้บิด รักษาแผลในลำไส้ กระเพาะอาหาร รวมถึงแผลในมดลูก (ทั้งต้น)
10. ใบสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิ พยาธิไส้เดือน (ใบ)
11. ใช้เป็นยาขับประจำเดือนของสตรี (ต้น, เมล็ด)
12. ตำรับยาแก้อาการปวดประจำเดือน ระบุให้ใช้รากไฟเดือนห้าสด 35 กรัม และเมล็ดพริกไทย 10 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1]ส่วนเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยา
      แก้ปวดประจำเดือนเช่นเดียวกัน (เมล็ด)
13. ช่วยรักษาหนองใน (ใบ)
14. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อักเสบ ห้ามเลือด (เมล็ด, ใบ, ทั้งต้น)
15. ใช้รักษาแผลสด แก้อาการฟกช้ำ เนื่องจากถูกกระแทกหรือหกล้ม ด้วยการใช้ดอกไฟเดือนห้าแห้งและเมล็ด อย่างละเท่ากัน นำมารวมกันบดเป็นผง ใช้โรยลงบนบาดแผล (ดอก, เมล็ด)[1]ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ฟกช้ำจากการหกล้มได้เช่นกัน (ราก)
16. ใช้รักษาฝีหนองภายนอก ด้วยการใช้เมล็ดประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้รากสดตำพอกบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
17. เมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน กลากเกลื้อน (เมล็ด)
18. ใบใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคเรื้อน แก้พิษฝี (ใบ)
19. รากใช้เป็นยารักษากระดูกร้าว หรือกระดูกหัก (ราก)
20. ตำรับยารักษามะเร็งชนิดต่างๆ ของหมอสมหมาย ทองประเสริฐ จะประกอบไปด้วยพืชสมุนไพร 5 ชนิด และชิ้นส่วนของสัตว์อีก 5 ชนิด อันได้แก่ ไฟเดือนห้า, ข้าวเย็น
      เหนือ, ลิ้นงู, หญ้าสาบกา, หลอดเถื่อน สำหรับชิ้นส่วนของสัตว์นั้นไม่ได้บอกไว้ จากการวิจัยพบว่าหากไม่ใช้ชิ้นส่วนสัตว์จะทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลงประมาณ
      10% (ซึ่งจะไม่ใช้ก็ได้) และหากแยกใช้โดด ๆ ประสิทธิภาพในรักษาก็จะไม่ดีเท่าที่ควร แต่หากรวมพืชทั้ง 5 ชนิด ประสิทธิภาพในการรักษาก็จะยิ่งมากขึ้นเป็นทวีคูณ
      ส่วนสูตรของสถาบันมะเร็งแห่งชาติและองค์การเภสัชที่นำมาใช้จะแตกต่างไปจากนี้ครับ แต่ก็ยังมีส่วนประกอบของไฟเดือนห้าเป็นส่วนประกอบหลักเหมือนเดิม แต่อย่างไร
      ก็ดีสมุนไพรตำรับนี้ยังไม่ได้มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งแต่อย่างใด คงมีเพียงแต่ข้อมูลจากประสบการณ์การใช้สมุนไพรตำรับนี้ในคลินิกของนายแพทย์
      สมหมายเท่านั้น

ขนาดและวิธีใช้
        การใช้ตาม [1] เมล็ดให้ใช้ครั้งละ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนรากให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือตำคั้นเอาน้ำรับประทานหรือใช้ภายนอกนำไปตำพอกแผลบริเวณที่เป็น

ข้อควรระวัง
        รากและดอกหากใช้มากเกินไปจะเกิดพิษ โดยเฉพาะกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเกิดจากสาร Asclepiadin ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจทำให้เสียชีวิตได้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของไฟเดือนห้า
      - สารสำคัญที่พบ ได้แก่ Ascurogenin, Asclepin, Calotropin, Curassvicin เป็นต้น
      - จากการทดลอง พบว่าสาร Ascurogenin, Asclepin และ Curassicin มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจของกระต่ายทดลอง ทำให้หัวใจของกระต่ายมีการบีบตัวแรงขึ้น
      - ยางจากต้นไฟเดือนห้ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด
      - สาร Calotropin มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งในโพรงจมูกที่อยู่นอกตัวของสัตว์ทดลอง

ประโยชน์ของไฟเดือนห้า
       - นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเป็นกลุ่มหลาย ๆ ต้น ตามบ้าน ตามสำนักงาน และตามสวนสาธารณะทั่วไป เพราะดอกมีสีสันสวยงามเจิดจ้าน่าชม
       - ขนที่หุ้มเมล็ดสามารถนำไปใช้ยัดหมอนแทนการใช้นุ่น ทำให้หมอนนุ่มหนุนนอนได้สบายไม่แพ้การยัดนุ่นแม้แต่น้อย

คำสำคัญ : ไฟเดือนห้า

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ไฟเดือนห้า. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1667&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1667&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระเบาน้ำ

กระเบาน้ำ

สำหรับต้นกระเบาน้ำนั้นเป็นพืชจำพวกต้นขนาดกลาง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา เป็นใบเดี่ยวสีชมพูแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ออกเรียงแบบสลับ รูปรียาวแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบเรียบ ส่วนดอกของกระเบาน้ำนั้นจะมีสีขาวนวล ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก กลิ่นหอมฉุน

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,920

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,842

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 20,882

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,534

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนโคนของลำต้นจะทอดราบกับพื้นก่อน แล้วจึงชูตั้งขึ้น ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีม่วงอ่อน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชุ่มชื้น ดินที่ปลูกจึงควรมีความชื้นให้มาก ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นหรือลุ่มน้ำขังบริเวณชายป่าดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,937

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,155

ต้นแดง

ต้นแดง

ต้นแดง (Iron wood) หรือที่รู้จักกันว่า ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ แดง จะลาน จาลาน ตะกร้อม ผ้าน คว้าย ไคว เพร่ เพ้ย เป็นต้น จัดเป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับกระถิน ชะเอมไทย สะตอ ไมยราบ ฯลฯ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,795

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,095

คาง

คาง

คางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งตามกิ่งก้านจะมีขนขึ้นปกคลุม ต้นสูงใหญ่  ใบดกหนาทึบ  ใบเล็กเป็นฝอยคล้ายใบมะขามไทย  คล้ายใบทิ้งถ่อนหรือ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีจำนวน 3-4 ใบ ใบย่อยของแต่ละเป็นใบประกอบจะมีจำนวน 15-25 คู่ เรียงอยู่ตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือใบแหลม

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,172

พุดซ้อน

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,416