พุดตาน

พุดตาน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 5,413

[16.4258401, 99.2157273, พุดตาน]

พุดตาน ชื่อสามัญ Cotton rose, Cotton rose hibiscus, Confederate rose, Confederate rose mallow, Dixie rosemallow, Changeable Rose, Changeable rose mallow, Rose of Sharon

พุดตาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus mutabilis L. จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)

สมุนไพรพุดตาน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ดอกสามสี สามผิว (ภาคเหนือ) เป็นต้น

ลักษณะของพุดตาน

  • ต้นพุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ 
  • ใบพุดตาน มีใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปไข่โคนรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบเว้าลึกมีแฉก 3-5 แฉก แผ่นใบสีเขียวค่อนข้างหนา ผิวใบมีขนสาก ๆ ใบกว้างประมาณ 9-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-22 เซนติเมตร 
  • ดอกพุดตาน มีดอกซ้อนใหญ่สวยงาม ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง เมื่อดอกบานช่วงแรกจะเป็นสีเขียว แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีแดง มีริ้วประดับอยู่ 7-10 อัน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขน ที่กลีบดอกมีทั้งแบบชั้นเดียวและแบบซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวัน โดยในตอนเช้าจะเป็นสีขาว พอกลางวันจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู และตอนเย็นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้มหรือสีแดงเข้ม (ดูภาพประกอบในด้านล่างบทความ) ดอกมียอดเกสรตัวเมียสีเหลือง เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกพุดตานสามารถออกดอกได้ตลอดปี ในดอกพุดตานจะมีสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) โดยสารชนิดนี้จะมีปริมาณเปลี่ยนไปตามสีของดอกเมื่อดอกบาน โดยสีแดงจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ในช่วงที่ดอกมีสีแดงเข้ม โดยจะมีปริมาณเป็น 3 เท่าของตอนที่ดอกยังเป็นสีชมพู
  • ผลพุดตาน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ด ลักษณะคล้ายรูปไต มีขนยาว 

โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ใบ (ใบสดหรือใบตากแห้ง), ดอก (เก็บดอกได้ตอนเริ่มบานเต็มที่), ราก (ใช้สดหรือตากแห้งก็ได้ โดยสามารถเก็บได้ตลอด)

สรรพคุณของพุดตาน

  1. ดอกพุดตานมีรสฉุนและสุขุม สรรพคุณช่วยแก้อาการไอ อาเจียนเป็นเลือด มีระดูขาว (ดอก)
  2. รากช่วยแก้อาการไอหอบ มีระดูขาว (ราก)
  3. ใบช่วยแก้อาการตาแดงบวม (ใบ)
  4. ใช้เป็นยารักษาคางทูม ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 ใบ นำมาบดให้ละเอียดแล้วเติมไข่ขาวลงไปผสมให้เข้ากัน เพื่อให้ยาจับกันเป็นแผ่น แล้วนำมาพอกปิดบริเวณที่บวมเป็นคางทูม โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหายบวม หรืออีกวิธีจะใช้ดอกพุดตานแห้งก็ได้ โดยใช้ประมาณ 3-12 กรัม และใบสดประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการ หรือจะใช้ทาภายนอกด้วยการนำมาบดเป็นผงผสมหรือใช้แบบสด ๆ นำมาตำแล้วพอกก็ได้ (ใบ, ดอก)
  5. ใช้เป็นยารักษาแก้งูสวัด โดยใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 4-5 ใบ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำซาวข้าวลงไป แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ หรืออีกวิธีก็คือการใช้รากพุดตานสดนำมาตำแล้วพอก หรือจะนำรากแห้งมาบดให้เป็นผงผสมแล้วใช้พอกก็ได้ (ใบ, ราก)
  6. รากนำมาต้มน้ำกินหรือนำมาฝนใช้ทา ใช้เป็นยารักษาโรคผื่นคันตามผิวหนัง อาการปวดแสบปวดร้อนตามร่างกาย และรักษาอาการประดงได้ (ราก)
  7. รากพุดตานช่วยแก้ฝีบวม ฝีฝักบัว ฝีหัวแก่ได้ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดินแก้อาการ (ราก)
  8. ช่วยแก้ผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้น ด้วยการใช้ก้านและใบสดปริมาณพอสมควรนำมาต้มเอาน้ำ ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็น (ใบ)
  9. ใบและดอกพุดตานใช้เป็นยาถอนพิษ แก้พิษบวม รักษาแผลมีหนอง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ใบสดล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 ใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมเข้ากับน้ำมันพืช แล้วนำมาใช้ทาบริเวณแผล หรือจะใช้ใบแห้งผสมกับน้ำผึ้งแล้วใช้ทาแทนก็ได้ (ใบ, ดอก)
  10. ช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อยต่าง ๆ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ราก)
  11. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยเอว ด้วยการใช้รากสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาหั่นเป็นฝอยผสมรวมกับกระดูกหางหมู แล้วใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่า ๆ กันในปริมาณพอสมควร แล้วนำมาตุ๋นกิน (ราก)
  12. ช่วยรักษาแผลฟกช้ำ แผลที่เกิดจากการหกล้มหรือถูกกระทบกระแทก ด้วยการใช้รากสดประมาณ 30 กรัม ใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่า ๆ กันในปริมาณพอควรแล้วนำมาต้มกิน และใช้ก้านใบนำมาตำพอก (ราก, ก้านใบ)
  13. ใบสดมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Micrococcus pyogenes var. aureus, Escherichia coli ได้เช่นเดียวกับต้นหมอน้อย (Murraya koregiyn) (ใบ)
  14. สารสกัดจากก้านและใบสดใช้เป็นยาชาที่ผิวและเป็นยาชาเฉพาะที่ในการผ่าตัดเล็กและใหญ่ได้ โดยไม่มีผลข้างเคียงในระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัด (ใบ) (ข้อมูลจากเว็บไซต์หมอชาวบ้าน)

ประโยชน์ของพุดตาน

  • ดอกพุดตานมีสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) ซึ่งเป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้เป็นอย่างดี
  • ต้นพุดตานสามารถใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เนื่องจากมีดอกที่สวยงาม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน หรือใช้ปลูกบังกำแพง หรือในที่ที่มีทิวทัศน์ไม่สวยงาม หรือเหมาะสำหรับปลูกในสวนไทย
  • ผงบดละเอียดของเปลือกและรากใช้เป็นแป้งผัดหน้าของคนตั้งแต่เหนือจรดใต้แหลมมลายู
  • รากและลำต้นมีเนื้อไม้สีเหลืองแข็ง ลายละเอียด สามารถใช้ตกแต่งทำเป็นด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ได้อย่างสวยงาม ส่วนก้านสามารถนำมาใช้ทำความสะอาดฟันได้

คำสำคัญ : พุดตาน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุดตาน. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1756&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1756&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,984

กระเบาน้ำ

กระเบาน้ำ

สำหรับต้นกระเบาน้ำนั้นเป็นพืชจำพวกต้นขนาดกลาง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเทา เป็นใบเดี่ยวสีชมพูแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ออกเรียงแบบสลับ รูปรียาวแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนมน ขอบเรียบ ส่วนดอกของกระเบาน้ำนั้นจะมีสีขาวนวล ช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก กลิ่นหอมฉุน

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,521

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณ

พญาสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ดสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทยถือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานทั้งยังเป็นไม้มงคลและเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครคนโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกไว้จะทำให้คนในบ้านมีเกียรติเป็นที่เคารพนับถือและได้รับการยกย่องจากคนทั่วไปสรรพคุณทางยาของสมุนไพรชนิดนี้ช่วยรักษาโรคบิดลำไส้ติดเชื้อและมาลาเรีย ใบใช้ในการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,255

พุดจีบ

พุดจีบ

พุดจีบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าดิบทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มเตี้ย แต่มีการทิ้งใบในส่วนของต้นด้านล่าง จึงทำให้พุ่มดูโปร่ง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องเล็กๆ และทุกส่วนของต้นจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ การตอน และวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบความชื้นปานกลาง และแสงแดดแบบเต็มวันถึงปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 7,315

ผักชี

ผักชี

ผักชี เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในการนำมาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทำให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แถมยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายประการอีกด้วย และด้วยสีเขียวสดของผักชีและรูปร่างของใบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ผักชีไทยจึงเป็นที่นิยมในการนำมาทำเป็นผักแต่งจานอาหารให้น่ารับประทานอีกด้วย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ผักชีโรยหน้า" ซึ่งมีความหมายว่า ทำอะไรให้ดูดีแค่ภายนอกหรือการทำความดีอย่างผิวเผิน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,267

อัญชัน

อัญชัน

อัญชัน เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์ มีสรรพคุณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า "แอนโทไซยานิน" (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,795

ก้นปิด

ก้นปิด

ต้นก้นปิดเป็นไม้เถาเลื้อยไม่มีมือจับ มีหัวใต้ดิน ลำต้นแก่มักมีรอยแตกเป็นขีดตามยาว ใบก้นปิดเป็นใบเดี่ยว ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมฐานใบกลมและบังก้านใบ ขนาดกว้าง 8-15 ซม. ยาว 8-17 ซม. ขอบใบเรียบ ใบนิ่มแต่ไม่ฉ่ำน้ำ เป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกก้นปิดสีเหลืองส้ม ออกเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 5-17 ซม. ดอกสีเหลืองส้ม ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือลำต้น ช่อดอกทรงก้านร่ม ยาว 5-12 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันคนละต้น

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,089

จำปา

จำปา

ต้นจำปานั้นจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 15 – 30 เมตร เป็นทรงพุ่มโปร่งรูปกรวยคว่ำ มีการแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่บริเวณเปลือกมีสีเทาแกมขาว กลิ่นฉุน โดยต้นจำปานั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และตอนกิ่ง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวใหญ่สีเขียวเป็นมัน คล้ายรูปทรงรีแกมขอบขนาน โคนสอบ ปลายแหลม เนื้อใบบาง สำหรับใบอ่อนนั้นจะมีขน ส่วนในใบแก่จะเกลี้ยงปราศจากขน โดยดอกนั้นเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองแกมแสด กลิ่นหอมแรง จะออกดอกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ซึ่งดอกนี้จะเริ่มบานพร้อมส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ 

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 1,777

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทย

ชุมเห็ดไทยเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยมักพบขึ้นเองตามริมคลอง ตามที่รกร้าง หรือตามริมทางทั่วไป เมล็ดมักนำมาใช้เป็นยาโดยเฉพาะช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีกรดครัยโซเฟนิค ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง โดยต้องนำเมล็ดไปตากให้แห้งอีกครั้ง ก่อนนำมาใช้ให้นำมาคั่วจนเริ่มพองตัวและมีกลิ่นหอม โดยเมล็ดที่ได้จะมีรสขมเล็กน้อย ลื่นเป็นเมือก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,441

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,339