กุ่มน้ำ

กุ่มน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้ชม 2,459

[16.4258401, 99.2157273, กุ่มน้ำ]

        กุ่มน้ำ (Crataeva) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักกุ่ม ชาวละว้าเชียงใหม่เรียกรอถะ สุพรรณบุรีเรียกอำเภอ และชาวกะเหรี่ยงสุพรรณบุรีเรียกเหาะเถาะ เป็นต้น โดยกุ่มน้ำนั้นเป็นไม้ที่สามารถขึ้นได้ทั่วไป พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ตามริมแม่น้ำ หรือลำห้วยในป่า ซึ่งสามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ

ลักษณะทั่วไปของกุ่มน้ำ
        สำหรับกุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5 – 20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9 – 22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม

ประโยชน์และสรรพคุณของกุ่มน้ำ
        ราก – ช่วยในการบำรุงธาตุ แก้อาการปวดท้อง และช่วยขับหนองให้กระจาย ให้รสสุขุม
        ใบ – ช่วยแก้ไข้ ขับเหงื่อ เจริญอาหาร เป็นยาระบาย อีกทั้งช่วยในการผายลม แก้สะอึก แก้ลมขึ้นเบื้องสูง ตลอดจนแก้โรคไขข้ออักเสบ แก้อัมพาต และแก้ปวดเส้นเอ็น ให้รสขมหอม
        ดอก – ช่วยแก้อาการไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว อีกทั้งแก้อาการเจ็บคอและเจ็บตา ให้รสเย็น
        ผล – ช่วยแก้อาการไข้ ให้รสขม
        เปลือกต้น – ช่วยแก้อาการไข้ ขับผายลม แก้ลมทำให้เรอ แก้อาการสะอึก รวมทั้งช่วยขับเหงื่อ แก้ในกองลม แก้ริดสีดวงผอมแห้ง แก้กษัย ตลอดจนช่วยดับพิษบริเวณผิวหนัง และช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ขับนิ่วและน้ำดี แก้อาเจียน ให้รสขมหอม
        กระพี้ – ช่วยแก้โรคริดสีดวงทวาร ให้รสร้อน
        แก่น – ช่วยแก้นิ่ว ให้รสร้อน
        ดังนั้น จะเห็นได้ว่าต้นกุ่มนั้นมีประโยชน์และสรรพคุณมากมายจริงๆ เรียกได้ว่าทั้งต้นตั้งแต่รากยันแก่นกันเลยทีเดียว

คำสำคัญ : กุ่มน้ำ

ที่มา : เกร็ดความรู้.net/กุ่มน้ำ/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กุ่มน้ำ. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1467&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1467&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

พริกไทย

พริกไทย

พริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลมๆ ติดกันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเราพริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,932

ผักแว่น

ผักแว่น

ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 12,103

ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 15,852

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,481

มะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,006

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,834

เกล็ดหอย

เกล็ดหอย

ต้นหญ้าเกล็ดหอย จัดเป็นพรรณไม้หรือวัชพืชล้มลุก ลำต้นทอดเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก บริเวณที่สัมผัสดินหรือข้อต่อจะออกราก มีความสูงได้ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเรียวยาว ผิวลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้บ้างเล็กน้อยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคใต้ของประเทศไทย ชอบสภาพชุ่มชื้นในไร่ชา กาแฟ และสวนผลไม้

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,598

ม่อนไข่

ม่อนไข่

ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมันและบาง ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 11,721

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร

ว่านธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 12,819

จอก

จอก

ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,506