มหาหงส์

มหาหงส์

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 6,873

[16.4258401, 99.2157273, มหาหงส์]

มหาหงส์ ชื่อสามัญ Butterfly lily, Garland flower, Ginger lily, White ginger
มหาหงส์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Hedychium coronarium J.Koenig จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรมหาหงส์ หรือ ว่านมหาหงส์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เลเป ลันเต (ระยอง จันทบุรี), ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ (ภาคเหนือ), ว่านกระชายเห็น สะเลเต (ภาคอีสาน), กระทายเหิน หางหงส์ (ภาคกลาง), ตาเหิน (คนเมือง,ไทลื้อ), เฮวคำ (ไทใหญ่) เป็นต้น

ลักษณะของมหาหงส์
        ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร
        ใบมหาหงส์ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ มีใบประมาณ 7-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือเป็นรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 16-25 เซนติเมตร เส้นกลางใบเห็นได้ชัดจากด้านหลังใบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มโดยเฉพาะเส้นกลางใบ แผ่นใบมักงอตัวลงไปด้านหลัง ส่วนก้านใบสั้นเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ลักษณะเกลี้ยงและเป็นมัน ลิ้นใบยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร เป็นเนื้อเยื่อบางสีขาว
        ดอกมหาหงส์ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดของลำต้นเทียม ดอกมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อดอกยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ดอกมีใบประดับใหญ่เป็นจำนวนมาก เรียงซ้อนกันและมีขนาดลดหลั่นกันไปตามลำดับ ลักษณะของใบประดับเป็นรูปหอกหรือรูปไข่ ปลายแหลม ผิวเกลี้ยง เป็นสีขาว มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ส่วนใบประดับย่อยเป็นรูปหอก ปลายมน ผิวเกลี้ยง ขอบพับเข้าหากัน ตรงกลางเป็นสัน แต่ละอันจะซ้อนเหลื่อมกัน เมื่อกางออกจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-3.3 เซนติเมตร ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอม โดยจะออกตามซอกใบประดับประมาณ 1-5 ดอก มีกลีบดอกเป็นรูปแถบแคบ ๆ ปลายมน สีขาว กว้างประมาณ 0.2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ส่วนกลีบปากเป็นรูปไข่เกือบกลม มีขนาดกว้างประมาณ 5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ ลึกเป็น 1/3 ของกลีบ สีขาว ตรงกลางกลีบค่อนไปทางโคนเป็นสีเหลือง สีขาว หรือสีนวล โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร สีขาว ปลายกลีบดอกหยักบาง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ส่วนหลอดกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉกตื้น 3 แฉกและแฉกลึก 1 แฉก กว้างประมาณ 6 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายกลีบเป็นสีขาวแกมสีเขียว ส่วนโคนเป็นสีขาว ดอกมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันแผ่เป็นกลีบขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นรูปไข่กลับแกมรูปรี หรือเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายมนสีขาว กว้างประมาณ 2.2-2.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.2-4.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ อับเรณูเป็นรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 0.3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.4-1.5 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1.4-2 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 ก้าน มีรังไข่เป็นรูปขอบขนานกว้างประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตรและยาวประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ผิวเรียบ มี 3 ห้อง ส่วนยอดเกสรเพศเมียมีลักษณะเกือบกลม มีขนาดประมาณ 0.1 เซนติเมตร ออกดอกในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
        ผลมหาหงส์ ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม แตกออกได้เป็นพู 3 พู

สรรพคุณของมหาหงส์
1. ตำรายาไทยจะใช้เหง้ามหาหงส์เป็นยาบำรุงกำลังและยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้เหง้าแห้งบดละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น (เหง้า)
2. เหง้านำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน ใช้รับประทานเป็นยาแก้กษัย (อาการป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
    ซูบซีด ปวดเมื่อย โลหิตจาง) (เหง้า)
3. เหง้านำมาต้มเป็นยาแก้ต่อมทอนซิลอักเสบได้ (เหง้า)
4. ช่วยขับลม (เหง้า)[1]เหง้านำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยแก้อาการท้องอืดได้ (เหง้า)
5. ในต่างประเทศจะใช้เหง้ามหาหงส์ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย และช่วยในการขับลม (เหง้า)
6. ช่วยบำรุงไต ด้วยการใช้เหง้าแห้งบดละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานก่อนอาหารเช้าและเย็น (เหง้า)
7. คนเมืองจะใช้เหง้าใต้ดินนำมาต้มกับน้ำดื่มแก้อาการลมชักหรือใช้ทาตุ่มผื่นลมพิษ (เหง้า)
8. น้ำคั้นจากเหง้าใต้ดินใช้เป็นยารักษาแผลฟกช้ำ แผลบวมได้ (เหง้า)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมหาหงส์
1. น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเหง้ามีลักษณะเป็นของเหลวใส มีสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว โดยประกอบไปด้วย beta-pinene, borneol, d-limonene, linalool
2. น้ำมันหอมระเหยจากเหง้ามหาหงส์ เมื่อนำมาเตรียมเป็นโลชันกันยุงกัด พบว่าสามารถช่วยป้องกันการกัดของยุงรำคาญ 5.8 ชั่วโมง ยุงก้นปล่อง 7.1 ชั่วโมง และยุงลายสวน
    ได้ 7.5 ชั่วโมง

ประโยชน์ของมหาหงส์
1. คนเมืองทางภาคเหนือจะใช้หน่ออ่อนลวกรับประทานกับน้ำพริก
2. ชาวไทใหญ่จะใช้ดอกมหาหงส์บูชาพระ
3. น้ำมันจากเหง้าสดสามารถนำมาใช้ฆ่าแมลงได้ ด้วยการใช้เหง้าสดจำนวนพอสมควรนำมาทุบแล้วสกัดให้ได้น้ำมันหอมระเหย (เรียกว่า "น้ำมันมหาหงส์")
4. น้ำมันหอมระเหยใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำหอม
5. ด้วยความหอมของดอกมหาหงส์ ในวงการสปาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจึงนิยมใช้มหาหงส์เป็นส่วนผสมในครีม โลชัน โคโลญจน์ สบู่ ครีมอาบน้ำ
    หรือโคลนหมักตัว
6. มหาหงส์เป็นว่านที่ได้ชื่อว่าเข้ายาทำเสน่ห์ มีความเชื่อว่าจะช่วยเสริมเสน่ห์ให้กับผู้ปลูก ให้คนรักคนหลง โดยจะนิยมปลูกเพื่อเพิ่มเมตตามหานิยมและความเป็นสิริมงคลให้
    แก่สถานที่ปลูก และยังเชื่อว่า “ว่านมหาหงส์” เป็นว่านให้ลาภแก่ผู้ปลูก และหากนำเหง้าหรือหัวพกพาติดตัวไปด้วยก็จะยิ่งเพิ่มเสน่ห์มหานิยม
7. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ สามารถออกได้ตลอดปี ดอกจะมีกลิ่นหอมมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าและช่วงเย็นถึงมืด ทนทานต่อแมลงต่าง ๆ โดยดอกจะทยอยบานและอยู่ทน
    หลายวัน ถ้านำไปปลูกบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ก็จะเหมาะยิ่งนัก เพราะสามารถปลูกได้ในที่ร่ม แดดไม่จัดมากนัก ชอบที่ชื้นแฉะ แต่ถ้านำไปปลูกลงในกระถางก็ไม่ควรปล่อยทิ้ง
    ไว้ให้แห้ง โดยปกติแล้วดอกมหาหงส์จะเป็นสีขาว สีดอกจะตัดกับสีเขียวเข้มของต้นและใบอย่างสวยงาม ในปัจจุบันพบว่ามีการนำพันธุ์มหาหงส์เข้ามาปลูกกันหลายชนิด
    ไม่ว่าจะเป็นชนิดดอกสีขาว ดอกสีขาวตรงกลางเหลือง ดอกสีขาวตรงกลางแดง ดอกสีแดงอมสีชมพูจนถึงสีแดงเข้ม หรือดอกสีเหลืองทองทั้งดอก โดยจะมีทั้งดอกเล็กและ
    ดอกใหญ่

คำสำคัญ : มหาหงส์

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มหาหงส์. สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1669&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1669&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

สกุณี

สกุณี

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา  ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม  ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,205

สารภี

สารภี

สารภีไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือเทาปนน้ำตาล แตกล่อนเป็นสะเก็ด เปลือกชั้นในสีแดงเข้ม มีน้ำยางสีคล้ายน้ำนม เมื่อทิ้งให้สัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบแคบหรือสอบเรียว ปลายใบมนหรือสอบทู่ๆ อาจมีติ่งสั้นๆ หรือหยักเว้าตื้นๆ ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน สีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ไม่ชัดเจน ก้านใบ ยาว 0.5-1 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 1,583

ขีกาขาว

ขีกาขาว

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดไฟหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ ใบจะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายผักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กกว่าไม่กลวง ดอกโตและมีสีขาว ผลมีลักษณะกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว ผลสุกมีสีแดง  นิเวศวิทยาชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามไร่นา  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด ประโยชน์ด้านสมุนไพร เถาใช้ปรุงยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงงาน้ำดีล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเรือดไรและเหาได้ ใบสดใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้น้อยกว่าขี้กาแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,705

ดาวเรือง

ดาวเรือง

ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,405

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,188

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 9,657

จักรนารายณ์

จักรนารายณ์

ต้นจักรนารายณ์ หรือ ต้นแปะตําปึง มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นและกิ่งก้านเป็นทรงกลมโตประมาณเท่านิ้วก้อยและเป็นสีม่วงแดง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุม รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งปักชำ พืชชนิดนี้ไม่ชอบอยู่ในที่ร่มมากนัก ชอบแสงแดดพอสมควร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบน้ำ แต่อย่าให้มีที่รองน้ำที่ก้นกระถาง เพราะรากจะเน่าได้

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 4,734

ผักคะน้า

ผักคะน้า

คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 9,611

กรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 4,757

เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

สลดพังพอนตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา มักเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นปล้องสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 15,339