แตงโม

แตงโม

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 11,543

[16.4258401, 99.2157273, แตงโม]

แตงโม ชื่อสามัญ Watermelon
แตงโม ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrullus lanatus (Thunb.) Matsum. & Nakai (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Citrullus vulgaris Schrad.) จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
แตงโม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า แตงจีน (ตรัง), บะเต้า (ภาคเหนือ), บักโม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
          แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ (สี่พันกว่าปีมาแล้ว) สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู
โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก ๆ นั่นก็คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด (ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วที่เรียกกันว่า "เม็ดกวยจี๋" นั่นแหละ)
          แตงโม จัดเป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับแคนตาลูป ฟักทอง แตงกวา ซึ่งนักพฤกษศาสตร์จัดให้อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่ในปริมาณมากจึงมีคุณสมบัติเย็น รับประทานแล้วหวานชื่นใจ สำหรับประโยชน์ของแตงโมนั้นก็เช่น ช่วยลดอาการไข้ คอแห้ง รักษาแผลในปาก เป็นต้น และยังเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพอีกด้วย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบีรวม แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่มีกระเพาะ ม้ามไม่แข็งแรง กระเพาะลำไส้อักเสบ หญิงหลังคลอด หลังป่วยหนัก หรือผู้ที่มีอาการปัสสาวะมากและบ่อย มีอาการท้องร่วงง่าย ไม่ควรรับประทานแตงโม
           แตงโมมีสารอีกชนิดหนึ่งที่สำคัญอย่างมากนั่นก็คือ Citrulline (ซิทรูไลน์) ซึ่งจะพบสารนี้ในเปลือกมากกว่าส่วนของเนื้อ ดังนั้นการรับประทานแตงโมที่มีส่วนเปลือกขาว ๆ ติดมาด้วยก็จะเป็นประโยชน์ที่ดีมากกว่าที่จะกินแต่เนื้อสด ๆ สำหรับประโยชน์ของสารนี้ก็คือ จะช่วยขยายเส้นเลือด ดีต่อระบบภูมิคุ้มกันและยังเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย เพราะมีแคลอรีต่ำมาก อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะผ่าแตงโมรับประทาน ควรจะล้างเปลือกให้สะอาดเสียก่อนเพื่อป้องกันสารพิษตกค้างซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เพราะแตงโมเป็นพืชที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ชาวสวนจึงนิยมที่จะฉีดยาฆ่าแมลงเป็นปกติ
          นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่าในเนื้อและเปลือกของแตงโมมีสารออกฤทธิ์ที่ทำงานคล้ายกับไวอากรา หากบริโภคเข้าไปมาก ๆ สาร Citrulline ในแตงโมจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ในร่างกายทำให้เกิดกรดอะมิโนอาร์จินีนขึ้นมา ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นทำให้หลอดเลือดคลายตัวและทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้นคล้าย ๆ กับฤทธิ์ของไวอากรา
          แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญแย้งว่าแม้มันจะมีคุณสมบัติดังกล่าว แต่การที่รับประทานแตงโมเข้าไปมาก ๆ ก็คงช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศไม่ได้ เพราะน่าจะมีผลแค่ทำให้ร่างกายปัสสาวะบ่อยขึ้นเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาแตงโมจะนำไปใช้เป็นยาขับปัสสาวะมากกว่ายารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และผลเสียที่จะตามมาก็คือ หากรับประทานแตงโมมากเกินไป น้ำตาลในผลแตงโมอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีผลทำให้เป็นตะคริวได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ของแตงโม
1. เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ต้องการลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก เพราะมีแคลอรีต่ำ
2. ประโยชน์แตงโมช่วยในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกิน ป้องกันการสะสมของไขมันที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ลดปริมาณไขมันที่จับอยู่ภายในเลือด
3. แตงโมมี "ไลโคปีน" (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
4. ช่วยบำรุงผิวพรรณและเส้นผมให้แข็งแรง เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด
5. แตงโมมีกรดอะมิโน Citrulline ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจ
6. แตงโมมีสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่คล้ายกับยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างไวอากรา ซึ่งจะออกฤทธิ์กระตุ้นให้หลอดเลือดคลายตัว ช่วยให้ระบบหมุนเวียนของ
    เลือดดีขึ้น
7. มีส่วนช่วยบำรุงสายตา เพราะมีวิตามินเอในผลแตงโม
8. มีส่วนช่วยล้างพิษจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปได้ด้วย
9. ใช้รับประทานเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มคลายร้อน ลดความร้อนในร่างกาย
10. เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำเป็นอาหาร อย่างแกงส้ม เป็นต้น
11. เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวสามารถนำมารับประทานเป็นผักได้
12. นำไปทำเป็นไวน์ได้
13. นำไปแปรรูปเป็น แยมแตงโม เมล็ดแตงโม หรือทำเป็นสบู่แตงโมก็ได้
14. แตงโมพอกหน้า ใช้ทำเป็นทรีตเมนต์บำรุงผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า และลดอาการแสบแดง วิธีการง่าย ๆ
      เพียงแค่นำเนื้อแตงโมมาฝานบาง ๆ แล้วนำมาวางไว้บนผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

สรรพคุณของแตงโม
1. ช่วยแก้เบาหวานและดีซ่าน
2. ช่วยบำรุงสมอง (เมล็ด)
3. ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด)
4. ช่วยบำรุงปอด (เมล็ด)
5. แตงโมมีสรรพคุณช่วยควบคุมความดันโลหิตและมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตลงได้ (Citrulline)
6. ช่วยรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวได้
7. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
8. ช่วยป้องกันหวัด
9. ช่วยลดอาการไข้ แก้คอแห้ง (น้ำแตงโม)
10. ใช้เป็นยาลดไข้ด้วยการใช้ใบมาชงดื่ม (ใบ)
11. ช่วยบรรเทารักษาแผลในช่องปาก (น้ำแตงโม)
12. ป้องกันการเจ็บคอด้วยการนำเปลือกแตงโมไปต้มเดือดแล้วเติมน้ำตาลทรายแล้วนำน้ำมาดื่ม (เปลือก)
13. แก้อาการเมาเหล้า
14. แก้โรคตับ (เมล็ด)
15. แตงโมมีเบตาแคโรทีน ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ
16. ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบายท้อง
17. สรรพคุณของแตงโมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (เมล็ด)
18. ช่วยขับปัสสาวะ
19. แก้อาการปวดกระเพาะปัสสาวะ (เมล็ด)
20. รากมีน้ำยาง ใช้กินแก้อาการตกเลือดหลังการแท้ง (ราก)
21. ใช้ทารักษาแผล ด้วยการใช้เปลือกแตงโมล้างสะอาด นำมาผิงไฟหรือตากให้แห้ง นำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาบริเวณแผล (เปลือก)
22. สรรพคุณแตงโมช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น
23. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ

คำสำคัญ : แตงโม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). แตงโม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1634&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1634&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะตูม

มะตูม

มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,381

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ มีระบบรากแก้วขึ้นได้ดีในที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง ลำต้นสามารถเจริญแช่น้ำอยู่ได้ ถ้าต้นเรียบตรงหรือทอดขนานไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดให้ตั้งตรง สูง 10-15 ซม. มีทั้งสีขาวอมเขียวและสีแดง ระหว่างข้อของลำต้นจะเป็นร่องทั้งสองข้าง  ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบรียาว สีเขียว ปนแดง ปลายใบและโคนใบจะแหลม ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และขอบใบทั้งสองด้านเส้นกลางใบนูนก้านใบสั้นมาก  ดอกออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุก จะออกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละดอกมีใบประดับเป็นเยื่อ บาง ๆ สีขาว 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,219

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ยา น้ำมนต์ที่อาบให้บทหนึ่ง ชินบัญชรนี้ สัมพุทโธ รวม แล้วอ้ายพวกต่ออายุนะโมเม มะหิติโต เอาแต่หัวข้อก็ได้ แล้วตำราของพ่อแม่ที่เป็นของปู่ สมุนไพรี ตำราน้ำมนต์ไม่รู้เลย ยาเขาได้ น้ำมนต์ไม่ได้เลย เสียดายเมื่อพ่อสังพ่อตำราดี ๆ ทั้งนั้น รักษาคน เมื่อก่อนต้องมีการไหว้ครู ต้องมีข้าวต้มขาว ใบศรี เมื่อก่อนตุ๊กแก้ม (จิ้งจก) ตกใส่ตู้ยังตายเลย เมื่อสังขารแม่ยังอยู่ลูก ๆ ไม่เจ็บป่วย เข้าไว้ทุกปี ปวดหัวปวดตา ไว้บนวันนี้สองวันก็หาย

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 885

มะคังแดง

มะคังแดง

มะคังแดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน พม่า และไทย มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,381

ตาล

ตาล

ต้นตาล หรือ ต้นตาลโตนด เป็นปาล์มต้นเดี่ยวที่มีความสูงชะลูด มีลำต้นใหญ่และเนื้อแข็งแรงมาก และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำและแข็งมาก แต่ไส้กลางของลำต้นจะอ่อน ส่วนบริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ในขณะที่ต้นยังเตี้ยจะมีทางใบแห้งและติดแน่น เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนและระบายน้ำได้ดี มีความชื้นปานกลาง ไม่ชอบอากาศเย็น ชอบแสงแดดจัด ทนต่อดินเค็ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การย้ายไปปลูกต้นจะไม่รอด เพราะรากแรกที่แทงลงดินอยู่ลึกมาก หากรากแรกขาดก็จะตายทันที

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 7,614

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,906

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,905

จิกนม

จิกนม

ต้นจิกนม จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 4-20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น แต่ไม่มากนัก เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของต้น ช่อดอกมีลักษณะห้อยลง ช่อยาวประมาณ 9-18 นิ้ว ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 4,778

เตยหอม

เตยหอม

เตยหอม (Pandanus Palm, Fragrant Pandan, Pandom Wangi) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ชาวจีนเรียก พังลั้ง และชาวมลายูเรียก ปาแนะวองิง หรือหวานข้าวไหม้ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเตยหอมนั้นในใบของต้นจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยอยู่ โดยสีเขียวที่ได้จากใบเตยหอมนั้นจะเป็นสีของคลอโรฟิลล์ นำมาใช้แต่งสีขนมได้ สามารถใช้ได้ทั้งกับใบสดหรือใบแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีการขายในรูปใบแช่แข็งเพื่อให้ประเทศที่ไม่สามารถปลูกได้ได้ใช้ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,259

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,551