มะคังแดง

มะคังแดง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,011

[16.4258401, 99.2157273, มะคังแดง]

มะคังแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioecrescis erythroclada (Kurz) Tirveng. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia erythroclada Kurz) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรมะคังแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะคัง (เชียงใหม่), มุยแดง ลุมปุกแดง ลุมพุกแดง (นครราชสีมา), จงก่าขาว ตะลุมพุกแดง (กาญจนบุรี), จงก่าขาว จิ้งก่าขาว ชันยอด (ราชบุรี), มะคังป่า (ภาคเหนือ), ตุมกาแดง (ภาคกลาง), โรคแดง เป็นต้น

ลักษณะของมะคังแดง

  • ต้นมะคังแดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน พม่า และไทย มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และตามป่าเบญจพรรณ
  • ใบมะคังแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะรีกว้าง รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร หลังใบด้านบนเรียบ ส่วนท้องใบด้านล่างมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม หรือมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนสีขาว มีหูใบรูปสามเหลี่ยมหลุดร่วงได้ง่าย
  • ดอกมะคังแดง ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ขนาดเล็ก โดยจะออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบดอกเป็นรูปกลม ดอกมีเกสรเพศผู้เป็นเส้นติดกับกลีบดอกวางสับหว่างกลีบดอก
  • ผลมะคังแดง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม สีเขียว มีสันนูนประมาณ 5-6 สัน ผิวผลเรียบ ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ออกดอกและติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

สรรพคุณของมะคังแดง

  1. เนื้อไม้มีรสเย็นเฝื่อน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เลือดลมเดินไม่สะดวก แก้พิษโลหิตและน้ำเหลือง (เนื้อไม้)
  2. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  3. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (เนื้อไม้)
  4. แก่นใช้ผสมกับมุ่ยขาว มุ่ยแดง หนามแท่ง เล็บแมว เงี่ยงปลาดุก เป็นยารักษามะเร็ง โรคกระเพาะอาหาร (แก่น)
  5. รากใช้เป็นยาถ่าย (ราก)
  6. เปลือกต้นใช้เข้ายากับมุ่ยขาว ทำเป็นยาลูกกลอน แก้ริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
  7. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการประจำเดือน (แก่น)
  8. เนื้อไม้ใช้ผสมกับหัวยาข้าวเย็น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กระษัยไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น ปัสสาวะเหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง และกินอาหารไม่ได้) (เนื้อไม้)
  9. เปลือกต้นใช้ตำพอกแผลสดเพื่อห้ามเลือด (เปลือกต้น)
  10. แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย (แก่น)
  11. เปลือกต้นใช้เข้ายากับมุ่ยขาว ทำเป็นยาลูกกลอน แก้อาการปวดเส้นเอ็น อัมพฤกษ์ อัมพาต (เปลือกต้น)

ประโยชน์ของมะคังแดง

  • เนื้อไม้ใช้ทำหน้าไม้สำหรับล่าสัตว์ ทำเครื่องมือทางการเกษตร

คำสำคัญ : มะคังแดง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะคังแดง. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1711&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1711&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กะทกรก

กะทกรก

ต้นกะทกรกจัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัว ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 11,390

พุดตาน

พุดตาน

พุดตาน มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน ชาวจีนเชื่อว่าต้นพุดตานเป็นไม้มงคล เพราะดอกพุดตานสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง 3 สีภายในวันเดียว เปรียบเสมือนของชีวิตคนที่เริ่มต้นเหมือนเด็กที่เป็นผ้าขาว แล้วค่อย ๆ เจริญเติบโตพร้อมกับสีสันที่แต่งแต้มขึ้นมา เมื่ออายุมากขึ้นก็พร้อมที่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเข้มจนกระทั่งได้ร่วงโรยลงไป เชื่อว่าต้นพุดตานนี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นช่วงค้าขายกับชาวจีน โดยจัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่มีความสูงประมาณ 5 เมตร ต้นและกิ่งมีขนสีเทา ต้นพุดตานชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ๆ ไม่ชอบที่มีน้ำขังหรือที่แฉะ เจริญเติบโตได้ดีในที่ดอน มีดินร่วนซุย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งและวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 5,478

มะหาด

มะหาด

มะหาด ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระ สีน้ำตาล บริเวณเปลือกของลำต้นมักมีรอยแตก ไหลซึมแห้งติดกันใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่รูปยาวรี ปลายแหลม โคนเว้ามน ใบอ่อนมีขอบใบหยักใบแก่ขอบเรียบหูใบเรียวแหลมดอก ช่อกลมเล็ก ๆ สีเขียว อมเหลือง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละช่อ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวเมียกลีบดอกกลมมนโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดดอกตัวผู้กลีบเป็นรูปขอบขนานผล เป็นผลรวม กลมแป้นใหญ่ เปลือกนอกขรุขระ เนื้อผลนุ่ม สีเขียว แก่มีสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดรูปรี

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,166

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 2,987

เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

ต้นเกร็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,668

กระถินเทศ

กระถินเทศ

ต้นกระถินเทศเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นมีหนาม ต้นกิ่งก้านจะมีสีคล้ำน้ำตาล กิ่งย่อยมีหนาม กิ่งออกในลักษณะซิกแซ็ก ใบกระถินเทศมีสีเขียวแก่ เป็นใบประกอบ เรียงตัวลักษณะคล้ายขนนก 2 ชั้น ยาว 5-8 ซม. มีใบย่อย 10-20 คู่ หูของใบจะมีหนามยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ดอกกระถินเทศเป็นช่อมีลักษณะเป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีขนสั้น ๆ คลุมอยู่ มีสีเหลืองเข้ม จะมีกลิ่นหอม กลีบดอกเป็นหลอด ส่วนปลายจะมี 5 กลีบ รังไข่ยาวเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้มาก ปลายก้านเกสรตัวเมียงอ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1-3 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,011

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,517

ต้นแดง

ต้นแดง

ต้นแดง (Iron wood) หรือที่รู้จักกันว่า ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ แดง จะลาน จาลาน ตะกร้อม ผ้าน คว้าย ไคว เพร่ เพ้ย เป็นต้น จัดเป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับกระถิน ชะเอมไทย สะตอ ไมยราบ ฯลฯ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,601

เห็ดเข็มทอง

เห็ดเข็มทอง

หากเอ่ยถึงเห็ดเหมันต์ หลายคนอาจเริ่มขมวดคิ้วเข้าหากันและสงสัยว่ามันคือเห็ดอะไร แต่หากพูดถึงเห็ดเข็มทอง เชื่อว่าแทบทุกคนต้องร้องอ๋อรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะในปัจจุบันเรียกว่าเห็ดชนิดนี้เป็นที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติดีอร่อยกรุบกรอบในปาก และยังสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,668

หญ้าตีนกา

หญ้าตีนกา

หญ้าปากควาย (อังกฤษ: Crowfoot grass, Beach wiregrass; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dactyloctenium aegyptium) เป็นพืชวงศ์หญ้าและเป็นพืชฤดูเดียว แตกหน่อเป็นกลุ่ม ออกรากและยอดจากข้อของไหลที่อยู่ด้านล่าง สูง 30 - 50 ซม.ใบเป็นเส้นตรงยาว 20 ซม. มีขนที่ขอบใบ ดอกเป็นดอกช่อแบบ spike ประกอบด้วยช่อดอกย่อย 2-7 อัน ยาว 2-4 ซม. มีขนตรงกลาง วงชีวิตสั้น ออกดอกได้ตลอดปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล ชอบดินแห้ง พบตามที่สูง และที่ดินรกร้าง กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทยในทวีปแอฟริกา พืชชนิดนี้ใช้เป็นพืชอาหารแบบดั้งเดิม โดยมีการใช้เมล็ดของพืชชนิดเป็นอาหารสัตว์เมื่อความแห้งแล้ง อดอยาก ในขณะที่ในพื้นที่อื่นๆถือว่าเป็นวัชพืช

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 4,922