ผักกวางตุ้ง
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 13,654
[16.4258401, 99.2157273, ผักกวางตุ้ง]
ผักกวางตุ้ง ชื่อสามัญ False pakchoi, Mock pakchoi (USA), Flowering white cabbage (UK), Pakchoi (FR)
ผักกวางตุ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. laxa Tsen & S.H.Lee) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ผักกวางตุ้ง มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง (ทั่วไป), ผักกาดฮ่องเต้, ผักกวางตุ้งฮ่องเต้, กวางตุ้งไต้หวัน, ผักกาดสายซิม (ภาคใต้), ปากโชย (ภาษาไต้หวัน) เป็นต้น
กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน (ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียว ๆ เคี้ยวยากสักหน่อย)
ผักกาดกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย แต่สารชนิดนี้จะสลายไปกับไอน้ำเมื่อเราเปิดฝาทิ้งไว้ แต่ถ้านำมารับประทานสด ๆ ก็ปลอดภัยเช่นกัน แต่จะมีกลิ่นเขียวบ้างเล็กน้อย
จุดเด่นของผักชนิดนี้จะอยู่ที่คุณค่าทางทางโภชนาการ โดยอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งก็มีประโยชน์มาก ๆ เลยทีเดียว โดยการถนอมวิตามินในผักชนิดนี้ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใส่ไว้ในถุงพลาสติก ปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักในตู้เย็น และการนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารก็ไม่ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโรทีน (แต่สำหรับเบตาแคโรทีนนั้นจะทนความร้อนได้ดีกว่าวิตามินซี)
กวางตุ้ง เป็นหนึ่งในผักที่มักตรวจพบสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงอยู่บ่อย ๆ การเลือกซื้อผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผู้บริโภคควรระมัดระวังในเรื่องของการเลือกซื้อให้มาก และทำความสะอาดผักก่อนการนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแช่น้ำส้มสายชู แช่ในน้ำเกลือ หรือจะล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำนานอย่างน้อย 2 นาที ก็จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักชนิดนี้ได้เช่นกัน
ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง
1. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
4. ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
6. ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
7. ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก
8. เชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
9. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
10. การรับประทานผักกวางตุ้งเป็นประจำจะไปทำให้ฟีโรโมน (Pheromone) หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวหอม
11. เป็นผักที่มีเส้นใยมากและมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่ทำให้อ้วน
12. นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มจับฉ่าย แกงจืด ผัดผักกวางตุ้ง ฯลฯ
คำสำคัญ : ผักกวางตุ้ง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกวางตุ้ง. สืบค้น 5 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1664&code_db=610010&code_type=01
Google search
จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 3,036
ผักเสี้ยนผี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นจะมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นเหม็นเขียว มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวาง พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยมักจะพบขึ้นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้าง ตามริมน้ำลำธาร บางครั้งก็อาจพบได้บนเขาหินปูนที่แห้งแล้งหรือตามชายป่าทั่วๆ ไป
เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 16,122
ต้นมหาหงส์ จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มีอายุหลายปี เหง้าเป็นสีนวลและมีกลิ่นเฉพาะ ส่วนที่อยู่เหนือดินมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นเหนือพื้นดินเป็นลำต้นเทียมที่มีกาบใบซ้อนกันแน่น ลักษณะกลมและเป็นสีเขียว ขยายพันธุ์ได้ง่ายด้วยวิธีการแยกเหง้าไปปลูก ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดรำไร เพาะปลูกง่าย แข็งแรง โตเร็ว อายุยืน มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลง มีอายุยืน มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,328
ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น
เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,969
ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,633
เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 24,204
เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,412
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดซึ่งมีลักษณะกลมและโปร่ง เปลือกเรียบสีเทา ตามกิ่งอ่อนจะมีที่ระบายอากาศด้วยเป็นต่อมลำต้นสูงประมาณ 15 – 25 เมตร ใบจะออกเป็นคู่ ๆ รวมกันเป็นช่อใบคู่ ๆ หนึ่งตรงโคนก้านช่อจะมีขนาดเล็กกว่าใบตรงส่วนปลาย ลักษณะของใบโคลนใบจะเบี้ยว ปลายใบจัดคอดเป็นติ่งยาว ๆ เนื้อใบหนาและเกลี้ยงมีสีเขียว ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 3 – 5 นิ้ว ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบหรือเหนือต่อมไปตามปลายกิ่ง และดอกมีสีขาวอยู่ 5 กลีบ เกสรมี 10 อันขึ้นอยู่ตรงกลางสวยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลเป็นรูปไข่ ตามผลจะมีเนื้อเยื่อหุ้มสีเขียวอ่อนหุ้นอยู่ ผลมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่และแข็งแรง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,165
งาดำ (Black Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น งาดำอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงมากๆ อย่าง เซซามิน (Sesamin) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระรวมทั้งวิตามินมากมายหลากหลายชนิดเลยทีเดียว ที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ที่สำคัญในร่างกายของเรา รวมทั้งช่วยบำรุงเซลล์ผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ช่วยให้ผมดกดำ ตลอดจนทำให้ระบบหัวใจแข็งแรง
เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,828
ตะไคร้ (Lemon Grass) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เยี่ยงเฮื้อ และภาคอีสานเรียก สิงไค เป็นต้น ซึ่งตะไคร้นั้นเป็นพืชสมุนไพรที่กำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย อิน พม่า ศรีลังกา อินโดนีเซีย และไทย โดยนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ รับประทาน นับเป็นสมุนไพรไทยที่หลายๆ คนนิยมปลูกในบ้าน เรียกได้ว่าเป็นพืชผักสวนครัวก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นทั้งยารักษาโรคแถมยังมีวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายอีกมากมายเลยทีเดียว โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบในอาหารของไทยอย่างต้มยำที่หลายๆ คนชอบรับประทานกัน
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 6,288