ต้อยติ่ง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 18,862
[16.4258401, 99.2157273, ต้อยติ่ง]
ต้อยติ่ง ชื่อสามัญ Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Cracker plant, Trai-no, Toi ting จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
ต้อยติ่งฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ruellia tuberosa L. มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ต้อยติ่งเทศ, ต้อยติ่งน้ำ, ต้นอังกาบ, อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ เป็นต้น
ต้อยติ่งไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrophila erecta (Burm.f.) Hochr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila phlomoides var. roxburghii C.B. Clarke) ส่วนอีกข้อมูลระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hygrophila ringens var. ringens (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila quadrivalvis (Buch.-Ham.) Nees) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ต้อยติ่งนา (กรุงเทพ), น้ำดับไฟ (ประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น
ต้อยติ่ง มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ต้อยติ่งไทย เป็นต้อยติ่งดั้งเดิมของบ้านเรา ซึ่งในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยลงทุกที และอีกชนิดคือ ต้อยติ่งฝรั่ง เป็นชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝน ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ทั้งสองชนิดจะมีลักษณะของดอกที่คล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันตรงส่วนของใบ ซึ่งใบของต้นต้อยติ่งฝรั่งจะมีขนาดเล็กกว่าต้อยติ่งไทย แต่ต้อยติ่งฝรั่งจะโตเร็วกว่าต้อยติ่งไทย
ต้อยติ่งชนิดที่ออกดอกเป็นสีม่วงคราม สีชมพู หรือดอกสีขาว จะพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งชนิดนี้เราจะเรียกว่าต้อยติ่งฝรั่ง ลักษณะของใบจะเรียวยาวแคบ สรรพคุณทางยาของต้อยติ่งฝรั่งโดยรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับต้อยติ่งไทย
ลักษณะของต้อยติ่งฝรั่ง
ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน
ใบต้อยติ่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว
ดอกต้อยติ่งฝรั่ง ออกดอกเป็นช่อหรือบางทีออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบบริเวณส่วนยอดของต้น ดอกเป็นสีม่วง ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ กลางดอกมีเกสร 4 ก้าน แบ่งเป็นก้านสั้น 2 ก้านและก้านยาว 2 ก้าน
ผลต้อยติ่ง หรือ ฝักต้อยติ่ง (เม็ดเป๊าะแป๊ะ, เมล็ดต้อยติ่ง) ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว มีความยาวได้ประมาณ 1 นิ้วกว่า ถ้าฝักได้รับความชื้นหรือถูกน้ำมาก ๆ ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ 8 เมล็ด
สมุนไพรต้อยติ่ง จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีดอกสวยงามที่คนส่วนใหญ่จะคุ้นตากันอยู่บ้าง ยิ่งในหน้าฝนต้อยติ่งจะออกดอกสีม่วงบานสะพรั่งไปทั่วริมทางหรือบริเวณริมสระน้ำ ยิ่งใบสีเขียวเข้มของมันยิ่งช่วยขับให้ดอกดูมีความโดดเด่นยิ่งนัก หลาย ๆ คนอาจชมความงามของมันในฐานะที่มันเป็นวัชพืช ตอนเด็ก ๆ เรามักใช้ใบไม้ ดอกไม้ นำมาทำเป็นของเล่นเพื่อความสนุกสนาน ต้อยติ่งก็เช่นกัน โดยจะเก็บเมล็ดแก่ ๆ ใช้น้ำหยดแล้วขว้างใส่กันสนุกสนานเหมือนกับการเล่นปาระเบิด เสียงดังเปรี๊ยะ...ปร๊ะ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวัชพืชที่ว่านี้ไม่ใช่วัชพืชที่ไร้ประโยชน์ เพราะต้อยติ่งสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ไปดูกันเลย...
สรรพคุณของต้อยติ่ง
1. รากใช้เป็นยารักษารักษาโรคไอกรน (ราก)
2. รากใช้เป็นยาขับเลือด (ราก)
3. รากต้อยติ่งสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไตได้ (ราก)
4. รากช่วยดับพิษในร่างกาย (ราก)
5. ช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
6. ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
7. รากหากนำมาใช้ในปริมาณที่เจือจางสามารถช่วยจำกัดสารพิษในเลือดได้ (ราก)
8. ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ (ราก)
9. ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ (ราก)
10. ใบใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ (ใบ)
11. เมล็ดใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ (เมล็ด)
12. เมล็ดใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ (เมล็ด)
13. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เมล็ด)
14. เมล็ดช่วยแก้อาการผดผื่นคัน (เมล็ด)
15. ต้อยติ่งทั้งต้นเอาชนิดที่ไม่แก่ ดอกยังไม่ร่วงโรย นำมาถอนเอาทั้งรากไม่ให้รากขาดและอย่าให้เมล็ดแตก ประมาณ 4-5 ต้น แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด โขลกต้นเอาแต่น้ำมาดื่ม จะช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาชา ร้าวลงได้ ซึ่งใช้เวลาในการรักษาเพียง 7 วันก็หาย (ทั้งต้น)
16. รากใช้ผสมเป็นยาแก้พิษ ดับพิษ และทำเป็นยาเบื่อ (ราก)
ประโยชน์ของต้อยติ่ง
ฝักใช้เป็นของเล่นของเด็ก ๆ ด้วยการสะสมฝักแก่จัด (สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ) เก็บไว้ในที่แห้ง เมื่อมีโอกาสก็นำมาจุ่มน้ำ (หรือน้ำลาย) แล้วเอาไปโยนใส่เพื่อน ๆ สักพักหนึ่งฝักก็จะแตกตัวออกดังแป๊ะ พร้อมกับดีดเมล็ดออกโดยรอบ ทำให้เพื่อนตกใจหรือเจ็บ ๆ คัน ๆ หรือบางครั้งก็แอบเอาไปใส่ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง หรือแม้แต่คอเสื้อ ซึ่งแม้จะรู้ตัวแต่ก็มักจะเอาออกไม่ทัน ฝักก็จะแตกออกเสียก่อน (ฝัก)
คำสำคัญ : ต้อยติ่ง
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ต้อยติ่ง. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1623&code_db=610010&code_type=01
Google search
ลักษณะทั่วไป เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ แตกหน่อ ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,682
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,200
กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 8,000
ถั่วลิสง (Peanut, Groundnut, Monkeynut, Arachis) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นล้มลุก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือและอีสานเรียก ถั่วดิน ส่วนประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรีเรียก ถั่วคุด เป็นต้น ซึ่งถั่วลิสงนั้นจัดเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนทางทวีปอเมริกาใต้ มีทั้งสายพันธุ์ป่าซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 19 ชนิดด้วยกัน และสายพันธุ์สำหรับปลูกซึ่งจะมีอยู่เพียงชนิดเดียวเรียกว่า Hypogaea โดยเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยเลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะพบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของไทย
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 8,022
สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,503
ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,238
ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,102
ชบา มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้ม เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกชบามีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่นๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย, ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน, กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การติดตา และการเสียบยอด
เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 15,752
ลักษณะทั่วไป เป็นต้นวัชพืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง รากเป็นระบบรากแก้ว ทรงพุ่ม กิ่งอ่อนมีสีเขียวหรือสีแดง เป็นสี่เหลี่ยมมีขนสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ฐานใบเรียว แหลมมากกว่าปลายใบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบบาง ดอก ออกเป็นช่อชนิดสไปด์ ปลายขอด ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อย มีสีเขียวติดอยู่บนก้านดอก ดอกย่อยไม่มีก้านดอก มีกลีบเลี้ยงแข็ง 2 กลีบ เมื่อแก่จะกลายเป็นหนามแหลมติดบนผลมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูเกสรตัวผู้มีสีม่วงแดง มีเกสรตัวเมีย 1 อันเป็นเส้นกลม มักจะออกดอกในฤดูร้อน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,002
จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,215