มะม่วงหาวมะนาวโห่
เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 8,467
[16.4258401, 99.2157273, มะม่วงหาวมะนาวโห่]
มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลาย โดยที่มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว แต่อร่อย ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก คล้ายกับมะเขือเทศราชินีหรือองุ่นแดง ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ได้มีเพียงแค่การรับประทานผลสุกเท่านั้น แต่เราสามารถทำแทบทุกส่วนของลำต้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นในรูปแบบของสมุนไพรรักษาโรค มะม่วงหาวมะนาวโห่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงราว 5-10 เมตร มีชื่อเรียกหลายชื่อตามแต่ภูมิภาค เช่น ต้นหนามแดง มะนาวไม่รู้โห่ มะนาวโห่ และหนามขี้แฮด เป็นต้น
ข้อมูลทางพฤษศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
หมวด : Angiosperms
ชั้น : Eudicots
อันดับ : Gentianales
วงศ์ : Apocynaceae
สกุล : Carissa
สปีชีส์ : C. carandas
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carissa carandas L.
ชื่อสามัญ : Karanda
ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่ามะม่วงหาวมะนาวโห่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วนของต้น ทั้งการรับประทานผลสด การนำผลไปประกอบอาหาร การใช้ประโยชน์จากใบและยอดอ่อน รวมถึงราก ลำต้นและยาง โดยสามารถแยกแยะได้ดังนี้
1. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ผล
– ผลสุกสามารถนำมารับประทานเป็นผลไม้
– สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
– มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต้านมะเร็งและชะลอความแก่
– มีประโยชน์ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและกระชุ่มกระชวย
– ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีธาตุเหล็กสูง ช่วยบำรุงเลือด
– ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคถุงลมโป่งพอง
– ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคตับ
– ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกาต์และไทรอยด์
– ช่วยบรรเทาอาการมือเท้าชา
– ช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
– ผลของมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยลดอาการไอ
– มีส่วนช่วยลดอาการภูมิแพ้
– ผลสุกมีวิตามินซีสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
– ผลมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ
– สามารถช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล
– ช่วยลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและข้อ
2. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ใบและยอดอ่อน
– แก้อาการเจ็บคอ รักษาแผลในปากเจ็บในปาก
– ช่วยลดอาการไข้
– มีสรรพคุณแก้อาการท้องเสีย
– มะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยรักษาโรคลมชัก
– มีประโยชน์ช่วยรักษาโรคบิด
– สามารถช่วยไข้มาลาเลีย
– แก้อาการปวดในช่องหู
– มีสรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
3. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ราก
– ช่วยบรรเทาอาการไข้ ช่วยถอนพิษไข้
– มีประโยชน์ช่วยดับพิษร้อน
– มีสรรพคุณช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
– ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ช่วยขับพยาธิได้หลายชนิด
– ช่วยรักษาอาการคันตามผิวหนัง
– รากมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยรักษาแผลเบาหวาน
4. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ลำต้นและเนื้อไม้
– มีสรรพคุณช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระปรีกระเปร่า
– มีประโยชน์แก้อาการอ่อนเพลียและเมื่อยล้า
– ช่วยบำรุงกำลังและร่างกาย ทำให้มีกำลังวังชาดี
– ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุล
– สามารถใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ทำให้ผิวพรรณชุ่มชื่นขึ้น
5. ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ – ยาง
– สามารถใช้เป็นยาช่วยรักษาโรคเท้าช้าง
– มีสรรพคุณช่วยสมานแผลและรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
– ยางมะม่วงหาวมะนาวโห่มีประโยชน์ช่วยรักษากลากเกลื้อน
– สามารถช่วยรักษาหูดได้
– มีประโยชน์ช่วยรักษาตาปลา
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่นั้นมีมากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน แต่มะม่วงหาวมะนาวโห่นั้นปัจจุบันหารับประทานยากซักหน่อย เพราะไม่ค่อยมีคนนิยมปลูกกันมากนัก
คำสำคัญ : มะม่วงหาวมะนาวโห่
ที่มา : https://www.samunpri.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะม่วงหาวมะนาวโห่. สืบค้น 14 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1518&code_db=610010&code_type=01
Google search
น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ชนิดนี้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เราจะเรียกว่า "น้ำเต้า
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,387
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม. ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,784
ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 6,645
ต้นกระโดนดินไม้พุ่มเตี้ย สูง 10-20 ซม. รากอวบ ใบกระโดนดินใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายมนหรือเว้าเล็กน้อย โคนสอบแคบจนถึงก้านใบดูคล้ายครีบ ขอบจักเล็กๆ และถี่ แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบยาวประมาณ 2 ซม. ดอกกระโดนดินดอกใหญ่ ออกที่ยอด 1-2 ดอก ก้านดอกยาว 3-3.5 ซม. มีขนละเอียดสีเทา มีใบประดับรูปใบหอก 2 ใบ ยาวประมาณ 2 ซม. และใบประดับย่อย 2 ใบติดอยู่ที่โคนดอก ยาว 1.5-2 ซม.
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,426
หญ้ายาง เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว (annual) ลำต้นตั้งตรง กลวงและอ่อน สูง 30-80 ซม. มีขนปกคลุมโดยตลอด มียางขาว ต้นสีม่วงแดง แตกกิ่งก้านสาขาไม่มาก
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับกัน แต่คู่ล่างสุด และบนสึดมักออกตรงข้ามกัน เป็นคู่ ก้านใบมีสีม่วงแดง ยาว 0.5-2 ซม. และมีขน ใบมีหลายรูปร่าง ตั้งแต่ยาวรี ไปจนถึงกลม ปลายแหลม ขอบใบเรียบ จักละเอียด หรืออาจหยักเป็นฟันไม่สม่ำเสมอ มีขนปกคลุมประปรายจนถึงไม่มีขนเลย
ดอก ออกที่ยอดเป็นกระจุก มีทั้งดอกผู้และดอกตัวเมียปนกัน ซึ่งถูกรองรับด้วยแผ่นสีเขียวคล้ายใบ (bract) หลายใบ ดอกย่อยตั้งอยู่บนก้านสั้นๆ ดอกสีขาวอมเขียว
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,941
อีเหนียวเป็นพรรณไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล ประโยชน์ของอีเหนียวนั้นใช้เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร โดยคุณค่าทางอาหารของต้นอีเหนียวที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะมีโปรตีน 14.4%, แคลเซียม 1.11%, ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.87%, ADF 41.7%, NDF 60.4%, DMD 56.3%, ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม, ออกซาลิกแอซิด 709.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์, แทนนิน 0.1%, มิโมซีน 0.26% เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,762
มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,366
พลูคาวเป็นพืชล้มลุกที่พบได้ทั่วไปในแถบทวีปเอเชียในแถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม ญี่ปุ่น รวมถึงไทยด้วย เป็นที่รู้จักกันดีในทางภาคเหนือ วิธีใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 15-30 กรัม (ต้นสด 30-60 กรัม) นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วนำมาต้มน้ำให้เดือดประมาณ 5 นาทีแล้วนำมาดื่ม แต่หากใช้ร่วมกับสมุนไพรหรือยาชนิดอื่น ให้ต้มยาอื่นให้เดือดก่อนจึงใส่ยา ต้มให้เดือด การรับประทานถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้หัวใจเต้นสั้นและถี่ อาจเป็นอันตรายได้
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 2,718
ผักกาดหัวตามตำราจีนนั้นถือว่ามีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ซึ่งถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ซึ่งหากรับประทานผักกาดหัวไปสักระยะหนึ่งแล้วอาการต่างๆ เหล่านี้ก็จะได้รับการบรรเทาให้ดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงไม่ควรที่จะรับประทานหัวผักกาดกับยาหรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนอย่างโสมหรือตังกุย เพราะมันอาจจะไปสะเทินฤทธิ์กันเอง ทำให้โสมหรือตังกุยออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แต่อย่าเข้าใจผิดไปว่าหัวผักกาดนี้มันจะไปทำลายฤทธิ์ของยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ทั้งหมด และการรับประทานหัวผักกาดนั้นจะรับประทานสุกหรือดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ นั้นจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,933
ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก
เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,176