ต้อยติ่ง

ต้อยติ่ง

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 15,862

[16.4258401, 99.2157273, ต้อยติ่ง]

ต้อยติ่ง ชื่อสามัญ Waterkanon, Watrakanu, Minnieroot, Iron root, Feverroot, Popping pod, Cracker plant, Trai-no, Toi ting จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
ต้อยติ่งฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ruellia tuberosa L. มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ต้อยติ่งเทศ, ต้อยติ่งน้ำ, ต้นอังกาบ, อังกาบฝรั่ง, เป๊าะแป๊ะ เป็นต้น
ต้อยติ่งไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Hygrophila erecta (Burm.f.) Hochr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila phlomoides var. roxburghii C.B. Clarke) ส่วนอีกข้อมูลระบุชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hygrophila ringens var. ringens (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hygrophila quadrivalvis (Buch.-Ham.) Nees) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ต้อยติ่งนา (กรุงเทพ), น้ำดับไฟ (ประจวบคีรีขันธ์) เป็นต้น
        ต้อยติ่ง มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ต้อยติ่งไทย เป็นต้อยติ่งดั้งเดิมของบ้านเรา ซึ่งในปัจจุบันจะพบเห็นได้น้อยลงทุกที และอีกชนิดคือ ต้อยติ่งฝรั่ง เป็นชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปในช่วงฤดูฝน ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ทั้งสองชนิดจะมีลักษณะของดอกที่คล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันตรงส่วนของใบ ซึ่งใบของต้นต้อยติ่งฝรั่งจะมีขนาดเล็กกว่าต้อยติ่งไทย แต่ต้อยติ่งฝรั่งจะโตเร็วกว่าต้อยติ่งไทย
        ต้อยติ่งชนิดที่ออกดอกเป็นสีม่วงคราม สีชมพู หรือดอกสีขาว จะพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งชนิดนี้เราจะเรียกว่าต้อยติ่งฝรั่ง ลักษณะของใบจะเรียวยาวแคบ สรรพคุณทางยาของต้อยติ่งฝรั่งโดยรวมแล้วจะคล้ายคลึงกับต้อยติ่งไทย

ลักษณะของต้อยติ่งฝรั่ง
        ต้นต้อยติ่ง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร (ถ้าเป็นต้อยติ่งไทยจะมีความสูงประมาณ 60-100 เซนติเมตร) ตามลำต้นจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ง่ายตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป สามารถเพาะปลูกได้ง่าย จึงนิยมนำมาปลูกไว้ตามหน้าบ้าน
        ใบต้อยติ่ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อของลำต้น แผ่นใบมีสีเขียว ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบไม่มีจักและอาจมีคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว และยาวประมาณ 2.5-3 นิ้ว
         ดอกต้อยติ่งฝรั่ง ออกดอกเป็นช่อหรือบางทีออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบบริเวณส่วนยอดของต้น ดอกเป็นสีม่วง ดอกมีลักษณะเป็นรูปกรวย ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ กลางดอกมีเกสร 4 ก้าน แบ่งเป็นก้านสั้น 2 ก้านและก้านยาว 2 ก้าน
         ผลต้อยติ่ง หรือ ฝักต้อยติ่ง (เม็ดเป๊าะแป๊ะเมล็ดต้อยติ่ง) ผลมีลักษณะเป็นฝักยาว มีความยาวได้ประมาณ 1 นิ้วกว่า ถ้าฝักได้รับความชื้นหรือถูกน้ำมาก ๆ ก็จะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ 8 เมล็ด
         สมุนไพรต้อยติ่ง จัดเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่มีดอกสวยงามที่คนส่วนใหญ่จะคุ้นตากันอยู่บ้าง ยิ่งในหน้าฝนต้อยติ่งจะออกดอกสีม่วงบานสะพรั่งไปทั่วริมทางหรือบริเวณริมสระน้ำ ยิ่งใบสีเขียวเข้มของมันยิ่งช่วยขับให้ดอกดูมีความโดดเด่นยิ่งนัก หลาย ๆ คนอาจชมความงามของมันในฐานะที่มันเป็นวัชพืช ตอนเด็ก ๆ เรามักใช้ใบไม้ ดอกไม้ นำมาทำเป็นของเล่นเพื่อความสนุกสนาน ต้อยติ่งก็เช่นกัน โดยจะเก็บเมล็ดแก่ ๆ ใช้น้ำหยดแล้วขว้างใส่กันสนุกสนานเหมือนกับการเล่นปาระเบิด เสียงดังเปรี๊ยะ...ปร๊ะ ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวัชพืชที่ว่านี้ไม่ใช่วัชพืชที่ไร้ประโยชน์ เพราะต้อยติ่งสามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ไปดูกันเลย...

สรรพคุณของต้อยติ่ง
1. รากใช้เป็นยารักษารักษาโรคไอกรน (ราก)
2. รากใช้เป็นยาขับเลือด (ราก)
3. รากต้อยติ่งสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคไตได้ (ราก)
4. รากช่วยดับพิษในร่างกาย (ราก)
5. ช่วยทำให้อาเจียน (ราก)
6. ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
7. รากหากนำมาใช้ในปริมาณที่เจือจางสามารถช่วยจำกัดสารพิษในเลือดได้ (ราก)
8. ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ (ราก)
9. ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ (ราก)
10. ใบใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ (ใบ)
11. เมล็ดใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ (เมล็ด)
12. เมล็ดใช้พอกแผลเรื้อรัง ช่วยสมานบาดแผล แผลมีฝ้ามีหนอง และช่วยเรียกเนื้อ (เมล็ด)
13. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น (เมล็ด)
14. เมล็ดช่วยแก้อาการผดผื่นคัน (เมล็ด)
15. ต้อยติ่งทั้งต้นเอาชนิดที่ไม่แก่ ดอกยังไม่ร่วงโรย นำมาถอนเอาทั้งรากไม่ให้รากขาดและอย่าให้เมล็ดแตก ประมาณ 4-5 ต้น แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด โขลกต้นเอาแต่น้ำมาดื่ม จะช่วยแก้อาการปวดเข่า ขาชา ร้าวลงได้ ซึ่งใช้เวลาในการรักษาเพียง 7 วันก็หาย (ทั้งต้น)
16. รากใช้ผสมเป็นยาแก้พิษ ดับพิษ และทำเป็นยาเบื่อ (ราก)

ประโยชน์ของต้อยติ่ง
        ฝักใช้เป็นของเล่นของเด็ก ๆ ด้วยการสะสมฝักแก่จัด (สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ) เก็บไว้ในที่แห้ง เมื่อมีโอกาสก็นำมาจุ่มน้ำ (หรือน้ำลาย) แล้วเอาไปโยนใส่เพื่อน ๆ สักพักหนึ่งฝักก็จะแตกตัวออกดังแป๊ะ พร้อมกับดีดเมล็ดออกโดยรอบ ทำให้เพื่อนตกใจหรือเจ็บ ๆ คัน ๆ หรือบางครั้งก็แอบเอาไปใส่ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง หรือแม้แต่คอเสื้อ ซึ่งแม้จะรู้ตัวแต่ก็มักจะเอาออกไม่ทัน ฝักก็จะแตกออกเสียก่อน (ฝัก)

คำสำคัญ : ต้อยติ่ง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ต้อยติ่ง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1623&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1623&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

การะเกด

การะเกด

สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,802

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,199

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,000

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,701

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,471

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นต้นขนาดย่อม กิ่งเล็กเรียวงอไปมาเล็กน้อยตามข้อ  ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายแหลม ขอบเรียบ ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามกิ่งดูคล้ายใบประกอบ เหมือนใบมะยมดอกเล็ก  กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองแดง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ  ผลกลมฉ่ำน้ำ ผิวเป็นพูเล็กน้อย สีเขียวถึงขาว ขั้วสีแดงห้อยลงใต้ใบ  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด หรือกิ่งปักชำ   ประโยชน์ด้านสมุนไพรใบและต้น รสหวานเย็น ใช้น้ำยาหยอดตาแก้อักเสบ รักษาแผลในจมูก ราก รสเย็นระงับความร้อน ถอนพิษไข้กลับไข้ซ้ำ แก้โรคคางทูม

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,816

กะเพรา

กะเพรา

กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 4,043

ผักกาดน้ำ

ผักกาดน้ำ

ต้นผักกาดน้ำ หรือ หญ้าเอ็นยืด จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูงประมาณ 30-120 เซนติเมตร โคนต้นติดอยู่กับดิน รากสั้น แตกแขนงเป็นฝอยมาก พืชชนิดนี้เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีส่วนผสมพิเศษ ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักขึ้นตามทุ่งหญ้า พื้นที่โล่งแจ้งที่มีความชุ่มชื้น ใบจะแทงขึ้นมาจากใต้ดินคล้ายกับใบผักกาด แต่จะมีก้านใบที่ยาวกว่า 

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 6,222

กระทุ่ม

กระทุ่ม

ต้นกระทุ่มเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น เปลือกรากมีสีดำอ่อนๆ ใบกระทุ่มเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบรูปรี กว้าง 7-17 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนหรือบางครั้งเกลี้ยง ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร มีหูใบรูปสามเหลี่ยม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 10,574

ชะอม

ชะอม

ชะอม (Cha-om, Acacia, Climbing Wattle) เป็นพืชที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ผักละหรือผักหละ ส่วนภาคอีสานเรียก ผักขะ เป็นต้น ซึ่งชะอมนี้เป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทั่วทุกภาครู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมักนำมาประกอบอาหารต่างๆ โดยเฉพาะไข่ทอดชะอม ที่เป็นเมนูโปรดของใครหลายๆคนเลยทีเดียว แถมในชะอมนี้ยังมีประโยชน์ต่างๆมากมายอีกด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักนิยมนำชะอมมาปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน เพราะมีหนามแหลมและยังสามารถรับประทานได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,227