ว่านลูกไก่ทอง

ว่านลูกไก่ทอง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 33,735

[16.4258401, 99.2157273, ว่านลูกไก่ทอง]

ว่านลูกไก่ทอง ชื่อสามัญ Golden Moss, Chain Fern.

ว่านลูกไก่ทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cibotium barometz (L.) J.Sm. จัดอยู่ในวงศ์ CIBOTIACEAE

สมุนไพรว่านลูกไก่ทอง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ว่านไก่น้อย (ทั่วไป), แตดลิง (ตราด), ขนไก่น้อย (เลย), หัสแดง (นครราชสีมา), นิลโพสี (สงขลา, ยะลา), กูดเสือ โพลี (ปัตตานี), กูดผีป่า กูดพาน ละอองไฟฟ้า เฟินลูกไก่ทอง เฟิร์นลูกไก่ทอง (ภาคเหนือ), หัสแดง (ภาคใต้), เกาแช กิมซีม้อ กิมม๊อเกาจิก (จีนแต้จิ๋ว), จินเหมาโก่วจี๋ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของว่านลูกไก่ทอง

  • ต้นว่านลูกไก่ทอง จัดเป็นพรรณไม้จำพวกเฟิร์น ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 2.5-3 เมตร เหง้ามีเนื้อแข็งคล้ายไม้ ปกคลุมไปด้วยขนนิ่มยาวสีเหลืองทองวาว เหมือนขนอ่อนของลูกไก่ มีใบจำนวนมากออกมารอบ ๆ เหง้า ลักษณะคล้ายมงกุฎ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ชอบดินเปรี้ยว ความชื้นสูง ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดรำไร มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศจีน อินเดีย และมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมักพบขึ้นเองตามหุบเขา เชิงเขา และตามที่ชื้นแฉะ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,500 เมตร
  • ใบว่านลูกไก่ทอง ก้านใบเป็นสีเทามีความแข็งแรงมาก ส่วนที่โคนจะมีขนสีทองยาวขึ้นปกคลุมอยู่ ลักษณะของตัวใบใหญ่รีแหลมเป็นรูปขนนก 3 ชั้น ยาวได้ถึง 2 เมตร ตัวใบส่วนล่างรีแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 15-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร ใบส่วนบนค่อย ๆ เล็กลง ปลายสุดเรียวแหลม ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีเทาคล้ายกับมีแป้งเคลือบอยู่ ส่วนอับสปอร์จะเกิดที่ริมใบ มีลักษณะกลมโต แต่ละรอยหยักของตัวใบจะมีอับสปอร์อยู่ประมาณ 2-12 กลุ่ม เยื่อคลุมอับสปอร์เป็นสีน้ำตาล และใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร

สรรพคุณของว่านลูกไก่ทอง

  1. ตำรับยาบำรุงกำลังและกระดูก ระบุให้ใช้เหง้าแห้งของว่านลูกไก่ทอง, โกฐเชียง, รากหง่วงจี้เน็ก และโป่งรากสนเอาเปลือกออก อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้ง แล้วทำเป็นยาเม็ด ใช้กินกับเหล้าครั้งละประมาณ 50 เม็ด (เหง้า)
  2. เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาระบายและช่วยย่อย เหมาะสำหรับเป็นยาของผู้สูงอายุ (เหง้า)
  3. เหง้าใช้เป็นยาขับพยาธิ (เหง้า)
  4. ตำรับยาแก้ปัสสาวะมาก ระบุให้ใช้เหง้าแห้งของว่านลูกไก่ทอง, ลูกบักกวย, เปลือกต้นโต่วต๋ง และเปลือกรากโงวเกียพ้วย อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เหง้า)
  5. แก้ปัสสาวะไม่รู้ตัวหรือช้ำรั่ว ปัสสาวะกะปริบกะปรอยเป็นสีเหลือง สำหรับผู้สูงอายุที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ให้ใช้เหง้าแห้ง 15 กรัม, ราพังทึ้งก้วง 15 กรัม, รากเชียวจั้ง 15 กรัม, และใบไต่แม้กวยมึ้ง 15 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูกิน (เหง้า)
  6. ส่วนสตรีที่มีอาการตกขาวมากผิดปกติ ให้ใช้เหง้าที่เอาขนออกแล้ว, เต็งย้ง (เขากวางอ่อนนึ่งด้วยน้ำส้ม แล้วเผา), แปะเกี่ยมสด นำมาบดให้เป็นผง ใช้ต้นหนาดใหญ่ต้มกับน้ำส้มสายชูผสมข้าวเหนียว นำไปต้มแล้วบดให้เหนียว ผสมทำเป็นยาเม็ด ใช้กินตอนท้องว่างครั้งละประมาณ 50 เม็ด (เหง้า)
  7. ใช้รักษาอาการน้ำกามเคลื่อน (เหง้า)
  8. ช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้น (เหง้า)
  9. ใช้เป็นยาบำรุงตับและไต (เหง้า)
  10. ใช้รักษาบาดแผลสด แผลจากปลิงดูด สุนัขกัด ถูกของมีคมบาดทุกชนิด เหยียบตะปู ช่วยห้ามเลือดจากแผลสด ทำให้เลือดแข็ง หรือใช้หลังการถอนฟัน ด้วยการใช้ขนจากเหง้าที่ตากแห้ง นำมาบดให้เป็นผงใช้โรยลงบนบาดแผล (ผงที่บดจากขนจะมีฤทธิ์ห้ามเลือดได้ดีที่สุด) (ขนจากเหง้า)
  11. เหง้ามีรสขม ชุ่ม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและไต ใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก รักษาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย รักษาแขนขาอ่อนไม่มีแรง ทำให้หลังและขาที่อ่อนเพลียแข็งแรง แก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากลมชื้น แก้อัมพฤกษ์ แก้เหน็บชา (เหง้า)
  12. ใช้รักษาขาบวม หลังจากฟื้นไข้ ด้วยการนำเหง้ามาต้มเอาน้ำใช้ชะล้าง แล้วให้กินอาหารอ่อน ๆ ครั้งละน้อย ๆ เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป (เหง้า)
  13. ตำรับยารักษาอาการปวดขา ปวดเอว ระบุให้ใช้เหง้าแห้งประมาณ 60 กรัม และเมล็ดฝอยทอง 30 กรัม นำมาดองกับเหล้าไว้ 3 วัน แล้วนำไปตากให้แห้ง นำมารวมกันบดให้เป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งทำเป็นยาเม็ด (ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว) ใช้กินตอนท้องว่างก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละประมาณ 30 เม็ด ส่วนตำรับยารักษาอาการปวดเอวอีกตำรับ ระบุให้ใช้เหง้าแห้ง, ลูกบักกวย, เปลือกต้นโต่วต๋ง และเปลือกรากโงวเกียพ้วย อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เหง้า)
  14. ตำรับยาแก้ปวดน่อง ปวดเอว อัมพฤกษ์ ระบุให้ใช้เหง้า 15 กรัม, ไหฮวงติ้ง 12 กรัม, มะละกอจีน 12 กรัม, หงู่ฉิก 10 กรัม, กิ่งหม่อน 10 กรัม, สกต๋วง 10 กรัม, โต่วต๋ง 10 กรัม, ฉิ่งเกา 10 กรัม และกิ่งอบเชยอีก 6 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำหรือดองกับเหล้ากินเป็นยา (เหง้า)
  15. ตำรับยารักษาอาการปวดข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ โรครูมาติสซั่ม แขนและขาไม่มีแรง ระบุให้ใช้เหง้าแห้ง, ต้นและรากนังด้งล้าง, รากอบเชยญวน, รากพันงู, รากซกต๋วง, เปลือกต้นโต่วต๋ง, และใบพวงแก้วมณี นำมาแช่กับเหล้าใช้กินเป็นยา (เหง้า)

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ให้ใช้เหง้าครั้งละ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนขนให้นำมาบดเป็นผง ใช้โรยบนบาดแผลภายนอกตามต้องการ

ข้อควรระวัง : ผู้ที่มีอาการปัสสาวะขัด ปากขม ลิ้นแห้ง ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของว่านลูกไก่ทอง

  • ในเหง้าว่านลูกไก่ทอง จะประกอบไปด้วยแป้งประมาณ 30% มีสารจำพวกแทนนิน และยังพบสารที่สกัดจากแมทธิวแอลกอฮอล์ คือ Kaempferol
  • จากการทดลองกับสุนัขและกระต่ายทดลอง พบว่า ขนจากเหง้าที่นำมาบดให้เป็นผง มีฤทธิ์ห้ามเลือดในแผลสด บาดแผลของเนื้อเยื่อ แผลเป็น และบาดแผลของตับและม้าม เพราะมีผลทางกายภาพ ทำให้เกิดเม็ดเลือดเร็วขึ้น ส่วนผงที่บดจากขนจะมีฤทธิ์ห้ามเลือดได้ดีที่สุด มีฤทธิ์คล้ายกับปฏิกิริยาที่เกิดกับ Gelatin และฟองน้ำ จึงนิยมใช้ผงล้วน ๆ มาโรยลงบนบาดแผล และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ เนื้อเยื่อก็จะค่อย ๆ ดูดซึมผงจนหมดในที่สุด

ประโยชน์ของว่านลูกไก่ทอง

  1. ในบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงที่เกิดโรคติดต่อ เช่น สุนัข หมู วัว ควาย ฯลฯ ให้นำขนของว่านชนิดนี้ไปแช่กับน้ำให้สัตว์ที่ป่วยกิน จะทำให้สัตว์หายป่วย
  2. ใบแก่สามารถนำมาใช้ฟอกย้อมสีได้
  3. นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป มีขนสีทองมองเห็นเด่นชัด ดูสวยงามแปลกตา

ในด้านของความเชื่อนั้นถือว่าว่านลูกไก่ทองเป็นว่านมหามงคล จัดเป็นว่านกายสิทธิ์ชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ติดบ้าน เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์ในด้านการช่วยป้องกันภัยต่าง ๆ อีกทั้งยังถือเป็นว่านเสี่ยงทายอีกด้วย ถ้าหากต้นว่านลูกไก่ทองเจริญเติบโตขึ้นและได้ยินเสียงไก่ร้องในตอนกลางคืนดึกสงัด (เสียงร้อง “จิ๊บ ๆ” บางตำราว่าร้อง “กุ๊ก ๆ”) ก็สามารถทำนายทายทักโชคชะตาของผู้ปลูกและครอบครัวได้ว่าจะมีโชคลาภมหาศาล จะนำพาโชคลาภเงินทองมาให้ในไม่ช้า แต่ก็มีข้อควรระวังว่าหากปลูกไว้ในบ้านหรือหน้าบ้าน ห้ามเดินข้าม ห้ามปัสสาวะรด และห้ามล้างมือใส่ เพราะจะทำให้ว่านเสื่อมไม่เป็นมงคลอีกต่อไป

คำสำคัญ : ว่านลูกไก่ทอง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ว่านลูกไก่ทอง. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1749&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1749&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กรดน้ำ

กรดน้ำ

ต้นกรดน้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร เป็นพุ่ม แตกกิ่งแผ่สาขามาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่มีขน กิ่งเล็กเรียว ใบกรดน้ำใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบมีขนาดเล็กเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรูปรีเรียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-35 มิลลิเมตร ท้องใบมีต่อม ก้านใบสั้นมากหรือแทบไม่มี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 1,893

ก้ามปู

ก้ามปู

ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,569

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 23,481

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 8,764

รางจืด

รางจืด

ลักษณะทั่วไป ต้นรางจืด เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับเหมือนกับตำลึง และมะระ แต่อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย จึงสามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ ใบรางจืด เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,597

เก๋ากี้

เก๋ากี้

เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,106

บวบหอม

บวบหอม

บวบหอม หรือ ต้นบวบกลม จัดเป็นพรรณไม้เถาล้มลุกมีอายุได้เพียง 1 ปี มักเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ชนิดอื่น ๆ หรือตามร้านที่ปลูกทำไว้ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถาสี่เหลี่ยมหรือเป็นเถากลมและมีร่องเป็นเส้นตามยาว เถามีความยาวได้ประมาณ 7-10 เมตร และจะมีมือสำหรับยึดเกาะเป็นเส้นยาวประมาณ 3 เส้น ตามลำต้นอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนที่อ่อนนุ่ม เมื่อลำต้นแก่ขนเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,709

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,017

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,611

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,716