สะแกนา

สะแกนา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 5,113

[16.4258401, 99.2157273, สะแกนา]

สะแกนา ชื่อสามัญ Bushwillows, Combretums

สะแกนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Combretum quadrangulare Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Combretum attenuatum Wall.) จัดอยู่ในวงศ์สมอ (COMBRETACEAE)

สมุนไพรสะแกนา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขอนแข้ ขอนแด่ จองแข้ (แพร่), แก (อุบลราชธานี), แพ่ง (ภาคเหนือ), แก (ภาคอีสาน), สะแก (ภาคกลาง), ซังแก (เขมร-ปราจีนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของสะแกนา

  • ต้นสะแกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร (บ้างว่าสูงได้ประมาณ 15-20 เมตร) เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลม ๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียจนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ตามป่าละเมาะทั่วไป ป่าเต็งรัง หรือริมธารน้ำชายป่า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำกว่า 250 เมตร
  • ใบสะแกนา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือเว้าเป็นแอ่งตื้น ๆ โคนใบสอบแคบไปยังก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร
  • ดอกสะแกนา ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอก ในช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยงที่โคนที่เชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ กลีบเลี้ยงเป็นสีขาวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ สีขาวอมเหลือง ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายมน หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 อัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่เหนือวงกลีบ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม
  • ผลสะแกนา ผลเป็นผลแห้ง ขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ มีครีบ 4 ครีบ สีน้ำตาลอมขาว ผลเมื่อแก่หรือสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลแดง 2เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปกระสวย มีสัน 4 สัน ตามยาว

สรรพคุณของสะแกนา

  1. ต้นและใบใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งภายในต่าง ๆ (ต้น,ใบอ่อน) เมล็ดมีสรรพคุณแก้มะเร็ง (เมล็ดแก่) ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้มะเร็งที่ตับ ปอด ลำไส้ กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ (ราก)
  2. เมล็ดมีสรรพคุณแก้ซาง ตานขโมย (เมล็ดแก่)[1],[2],[5]ทั้ง 5 ส่วน มีรสเมาใช้เป็นยาแก้ซางตานขโมย พุงโรก้นปอด (ทั้งต้น)
  3. ช่วยแก้ผอมแห้ง (เมล็ด, ราก)
  4. ใบอ่อนมีรสฝาดเมา สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ใบอ่อน)
  5. ใช้เป็นยาแก้พิษไข้เซื่องซึม (เมล็ด, ราก)
  6. ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
  7. ช่วยแก้เสมหะ (ราก)
  8. ต้นและรากมีรสเมา มีสรรพคุณเป็นยาแก้อาเจียนเป็นโลหิต (ต้น,ราก)
  9. เมล็ดมีรสเบื่อเมานำเมล็ดมาตำ (ให้ใช้เมล็ดแก่ในขนาด 1 ช้อนคาว หรือประมาณ 3 กรัม หรือใช้เมล็ดประมาณ 15-20 เมล็ด นำมาสับให้ละเอียด) ผสมกับไข่ทอดให้เด็กกินเพียงครั้งเดียวขณะท้องว่าง เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน พยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็กได้ดีมาก โดยจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายออกมาก็ให้รับประทานยาถ่ายเอาตัวออกมา (เมล็ดแก่) กระพี้มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย (กระพี้) ส่วนรากมีรสเมาใช้เป็นยาเบื่อพยาธิเด็ก ฆ่าพยาธิ ขับพยาธิ (ราก) ทั้ง 5 ส่วนมีรสเมา สรรพคุณเป็นยาขับพยาธิในท้อง (ทั้งต้น)
  10. ช่วยแก้บิดมูกเลือด (ใบอ่อน)
  11. รากมีรสเมาใช้ปรุงเป็นยาแก้ไส้ด้วนไส้ลาม (ราก)
  12. ช่วยแก้มูกเลือด ตกมกลูก (ราก)
  13. ช่วยแก้อุจจาระหยาบ เหม็นคาว (ทั้งต้น)
  14. กระพี้มีรสเบื่อร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้คันทวารเด็ก (กระพี้)
  15. ช่วยแก้ริดสีดวง (ราก, ราก)
  16. ตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านของขังหวัดอุบลราชธานี จะใช้ลำต้นเข้ายากับเบนโคก และเบนน้ำ เป็นยาแก้ปวดมดลูกและมดลูกอักเสบ (ลำต้น)[5]
  17. เนื้อไม้นำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยขับน้ำคาวปลาสำหรับหญิงหลังคลอดบุตร (เนื้อไม้)
  18. ช่วยแก้กามโรคหนองใน แก้แผลในที่ลับ เข้าข้อออกดอก (ต้น)[1],[2],[5]ส่วนรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้กามโรคที่เข้าข้อออกดอก หนองใน (ราก)
  19. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก)
  20. ใบอ่อนใช้เป็นยารักษาแผลสด แก้บาดแผล (ใบอ่อน)
  21. ช่วยแก้คุดทะราด (เมล็ดแก่)
  22. ต้นใช้ปรุงเป็นยารักษาฝี (ต้น)
  23. ช่วยรักษาฝีมะม่วง ฝีต่าง ๆ (ราก)
  24. ช่วยแก้ฝีตานซาง (ทั้งต้น)
  25. ใบอ่อนใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ใบอ่อน)

หมายเหตุ : เราสามารถใช้เมล็ดสะแกนาเป็นยาได้โดยตรง โดยไม่ต้องนำมาแยกแล้วทำให้บริสุทธิ์ และสามารถเก็บเมล็ดสะแกนาไว้ใช้เป็นยาได้หลายปีโดยไม่เป็นอันตราย แต่ต้องเก็บเมล็ดสะแกนาแล้วปิดให้สนิทและแห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้น และการนำมาใช้ห้ามใช้เกินกว่าขนาดที่กำหนดเด็ดขาด

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสะแกนา

  • ในเมล็ดสะแกนามีสารจำพวก Flavonoid ที่ชื่อว่า Combretol และมี Bsitosterol, Carboxylic acid, Penacyclic, Triterpene เป็นต้น ส่วนในรากกับเมล็ดรวมกันมี Pentacyclic triterpen carboxylic acid ซึ่งได้แก่ 3B,6B,18B-trihydroxyurs-12-en-30-oic และ B-sitosterol, B-sitosterol glucoside เป็นต้น
  • สารสกัดชั้นเอทานอลสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV-1 (IC100 : 12.5 mcg/ml) และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HIV-1 integrase ได้ (IC50 : 2.5 mcg/ml) (เข้าใจว่าคือส่วนของใบ)
  • สารสกัดเมทานอลจากใบสะแกนา แสดงฤทธิ์ป้องกันการทำลายตับในหนูทดลองที่ถูกชักนำให้ตับถูกทำลายด้วย D-galactosamine, Lipopolysaccharide และในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย D-galactosamine และ tumor necrosis factor-Alpha โดยสามารถแยกสารสกัดบริสุทธิ์จากใบสะแกนาได้มากกว่า 30ชนิด และพบว่าสารประเภทฟลาโวนอยด์และไตรเทอร์ปีนชนิดไซโคลอาร์เทน (cycloartane -type triterpenes) ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการทำลายตับ
  • สารสกัดด้วยเมทานอลจากเมล็ดสะแกนา มีฤทธิ์ปกป้องตับ (hepatoprotective activity) เมื่อทำการทดลองในเซลล์ตับเพาะเลี้ยงที่ถูกทำลายด้วย D-galactosamine และ tumor necrosis factor-Alpha เมื่อนำสารสกัดเมทานอลมาแยกให้บริสุทธิ์จะได้สารกลุ่ม triterpene glucosides ชนิดใหม่ ซึ่งแสดงฤทธิ์ปกป้องตับคือสาร quadranosides 1,2 และ 5 ที่ความเข้มข้น 50ไมโครโมลาร์ โดยสารทั้ง 3 แสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำลายเซลล์ตับได้ 37.6, 40.9, และ67.5% ตามลำดับ
  • เมื่อให้วัวกินเมล็ดสะแก พบว่าจำนวนไข่ของพยาธิตัวกลมชนิด Neoascaris vitulorum ลดลงจนไม่พบอีกใน 1-3 สัปดาห์ต่อมา แต่มีผู้พบว่าเด็กนักเรียนที่กินเมล็ดสะแกนาชุบไข่ทอดในขนาด 1.5-3 กรัม ไม่ให้ผลในการขับพยาธิเส้นด้าน และมีอาการข้างเคียง คือ มีอาการมึนงงและคลื่นไส้ และเมื่อให้ไก่ไข่ที่ได้รับอาหารที่มีเมล็ดสะแกนาเป็นส่วนผสมในอัตรส่วน 1 กรัม ต่อ น้ำหนักไก่ 1 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยาถ่ายพยาธิเปอราซิน (piperazine) ในขนาด 15 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนักตัวไก่ 1 กิโลกรัม ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับเมล็ดสะแก่นาเป็นส่วนผสมในอาหาร สามารถกำจัดพยาธิไส้เดือน (Ascaridia galli) ได้ 63% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาถ่ายพยาธิสามารถกำจัดพยาธิไส้เดือนได้ 100%
  • จากการทดสอบความเป็นเฉียบพลันของสารสกัดจากเมล็ดสะแกนาด้วยเมทานอล 80% ด้วยการป้อนเข้าทางปากหนูเม้าส์เพศผู้และเพศเมีย และหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย พบว่ามีพิษปานกลางและทำให้สัตว์ทดลองตาย ส่วนการทดลองพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูเพศผู้และเพศเมีย เมื่อให้สารสกัด 1 กรัมต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ามีความสัมพันธ์เล็กน้อยกับน้ำหนักในการเจริญเติบโต แต่ไม่มีผลต่อตับเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม เมล็ดเมื่อให้ทางปากกับหนูแรทและหนูเม้าส์ในขนาด 0.582 และ 1.985 กรัมต่อกิโลกรัม ต่อครั่ง พบว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน
  • นอกจากนี้ยังได้ทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากเมล็ดด้วยเอทานอล 80% โดยให้ทางปากกับหนูเม้าส์เพศผู้และเมีย และหนูแรทเพศผู้และเพศเมีย พบว่ามีพิษปานกลาง และทำให้สัตว์ทดลองตาย แต่เมื่อฉีดสารสกัดเข้าทางช่องท้องหนูพบว่ามีพิษมาก และทำให้สัตว์ทดลองตาย ส่วนการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน ด้วยการป้อนสารสกัดทางปากทุกวัน ในขนาดวันละ 0.5, 1, และ 2 กรัมต่อกิโลกรัม พบว่าหนูเม้าส์ไม่สามารถทนสารสกัดดังกล่าวในขนาด 1 และ 2 กรัมต่อกิโลกรัมได้ จากการตรวจสอบอวัยวะภายในพบว่ามีเลือดคั่งที่ลำไส้ ตับและไต ลำไส้โป่งบวม พบก้อนเลือดในหลอดเลือดต่าง ๆ พบภาวะเลือดคั่ง และมีเลือดออก ส่วนหนูแรทนั้นสามารถทนสารสกัดในขนาดวันละ 2 กรัมต่อกิโลกรัมได้นานถึง 1 สัปดาห์ โดยไม่แสดงอาการผิดปกติ
  • ส่วนการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของกองวิจัยทาวการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าเมื่อให้เมล็ดสะแกนาในขนาด 1.5 กรัมต่อกิโลกรัมเข้าทางปาก สัตว์ทดลองจะมีอาการขาลาก ตาโปนแดง และตายเมื่อเพิ่มขนาดของยา ดังนั้นการนำมาใช้ในคนจึงต้องระวังเรื่องขนานของยาที่ใช้ให้มาก

ประโยชน์ของสะแกนา

  • ผลดิบนำมาแช่กับน้ำไว้ให้วัวหรือควายกินเป็นยาขับพยาธิได้
  • ชาวบ้านมักจะเอาต้นสะแกนาไปทำฟืนกันมาก เพราะแก่นของต้นสะแกนามีความแข็งมากนั่นเอง

คำสำคัญ : สะแกนา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สะแกนา. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1786&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1786&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กกธูปฤาษี

กกธูปฤาษี

ต้นกกธูปฤาษีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 5-3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ใบกกธูปฤาษีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีกาบใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบเป็นรูปแถบ มีความกว้างประมาณ 2-1.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหมุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่างของใบแบน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,303

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,092

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา

ต้นกระเช้าสีดาไม้เถา รากมีเนื้อแข็ง กิ่งยาวเรียวเป็นร่อง ใบกระเช้าสีดาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปสามเหลี่ยมแคบ กว้าง 5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนตัดตรง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น ใบมีกลิ่น ดอกกระเช้าสีดาช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ กลิ่นเหม็น ช่อหนึ่งมีเพียง 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 5-1 ซม. กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว ยาว 2-3.5 ซม. เชื่อมติดกันเป็นหลอด โคนหลอดพองออกเป็นกระเปาะกลม กระเปาะและหลอดดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ภายในกระเปาะเป็นที่ดักย่อยแมลงเพื่อเป็นอาหารเสริม 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,952

พุทรา

พุทรา

ลักษณะทั่วไป   ต้นไม้ยืนต้นสูง 5-10 เมตร  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม  ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน  ผลสด รูปทรงกลม สุกสีเหลืองกินได้  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ประโยชน์ใช้ผลแห้งหรือใบปิ้งไฟก่อน ชงน้ำดื่ม แก้ไอ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,273

แตงไทย

แตงไทย

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียแถวเชิงเขาหิมาลัย มีทั้งพันธุ์ผิวเรียบและผิวไม่เรียบ เช่น แคนตาลูป แตงเปอร์เซีย แตงกวาอาร์เมเนีย โดยเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทยเรา เพราะปลูกง่าย ทนทาน แข็งแรง และให้ผลผลิตในช่วงหน้าร้อน ลักษณะของผลอ่อนจะมีสีเขียวและมีลายสีขาวพาดยาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผิวจะเรียบเป็นมัน เนื้อด้านในของผลจะมีสีเหลืองอ่อนอมเขียว ให้กลิ่นหอม มีเมล็ดรูปแบนรีสีครีมจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,027

ผักกูด

ผักกูด

ต้นผักกูด จัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ โดยเฟิร์นชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์หรือไหล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย ส่วนในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาคในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,984

ข้าว

ข้าว

สำหรับประเทศไทยข้าวที่ปลูกจะเป็นชนิด indica โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้พันธุ์ข้าวยังได้ถูกปรับปรุงและคัดสรรสายพันธุ์มาโดยตลอด จึงทำให้มีหลากหลายสายพันธุ์ทั่วโลกที่มีรสชาติและคุณประโยชน์ของข้าวที่แตกต่างกันออกไป โดยพันธุ์ข้าวไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็คือ ข้าวหอมมะลิ โดยข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงก็คือ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี และข้าวเสริมวิตามิน

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 9,706

กระถิน

กระถิน

สำหรับต้นกระถินนั้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 3-10 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทา ส่วนใบนั้นคล้ายขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาวประมาณ 12.5-25.0 เซนติเมตร โดยแยกแขนงออกประมาณ 3-19 คู่ แกนกลางใบมีขน โคนใบเบี้ยว ปลายแหลม และดอกกระถินนั้นจะมีสีขาว โดยออกดอกเป็นช่อประมาณ 1-3 ช่อ แบบกระจุกแน่นตามง่ามใบรวมทั้งปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนคล้ายรูประฆังติดกัน มีกลีบดอกอยู่ 5 กลีบ ปลายเป็นรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก เมื่อดอกกระถินบานเจริญเต็มที่แล้วกว้างประมาณ 2.0-2.5 เซนติเมตร และเมล็ดเป็นมันมีสีน้ำตาลรูปไข่แบนกว้าง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,742

หูเสือ

หูเสือ

หูเสือเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรีวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ ถือเป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 899

แตงกวา

แตงกวา

แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก แตงร้าน, แตงช้าง, แตงขี้ควาย หรือแตงขี้ไก่ ส่วนชาวเขมรเรียก ตาเสาะ, แตงฮัม, แตงเห็น, แตงยาง หรือแตงปี เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างแตงกวานั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยเราก็นิยมปลูกแตงกวาเช่นกัน เรียกได้ว่าปลูกกันเป็นอาชีพเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมนำมารับประทานกันไม่ว่าจะเป็นเครื่องเคียงแก้เลี่ยนอยู่ในเมนูต่างๆ หรือนำมารับประทานคู่กับน้ำพริกก็อร่อย หรือนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงผิวพรรณก็เยี่ยม แถมยังเป็นพืชผักที่สามารถปลูกได้ง่าย รวมทั้งให้ผลผลิตเร็ว และเก็บรักษาก็ง่ายกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,966