เกล็ดปลาช่อน

เกล็ดปลาช่อน

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 4,980

[16.4258401, 99.2157273, เกล็ดปลาช่อน]

เกล็ดปลาช่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllodium pulchellum (L.) Desv. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedysarum pulchellum L., Desmodium pulchellum (L.) Benth., Meibomia pulchella
(L.) Kuntze) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
สมุนไพรเกล็ดปลาช่อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เกล็ดลิ่นใหญ่ (นครราชสีมา), ลูกหนีบต้น (ปราจีนบุรี), หางลิ่น (สุราษฎร์ธานี), หญ้าเกล็ดลิ่น (ภาคเหนือ, ภาคใต้), เกล็ดลิ่นใหญ่ ลิ่นต้น หญ้าสองปล้อง (ภาคกลาง), กาสามปีกเล็ก, เกล็ดลิ้น เป็นต้น

ลักษณะของเกล็ดปลาช่อน
         ต้นเกล็ดปลาช่อน จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2-3.7 เซนติเมตร กิ่งก้านแตกแขนงตั้งแต่โคนต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งและก้านใบมีขนนุ่มสีเทาถึงสีน้ำตาลอ่อนขึ้นหนาแน่น ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลค่อนข้างเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในกัมพูชา เวียดนาม ลาว ออสเตรเลีย และพบในทุกภาคของประเทศไทย โดยพบขึ้นทั่วไปในทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ตามพื้นที่ป่า ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าผลัดใบ ป่าสน ป่าไผ่ ชายป่าดิบ ที่ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,300 เมตร
         ใบเกล็ดปลาช่อน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปฝ่ามือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยด้านข้าง มีลักษณะเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม มน หรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ บางครั้งเป็นคลื่น มีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนมีขนสั้นนุ่มขึ้นบาง ๆ เมื่อแก่จะเกลี้ยง ส่วนด้านล่างมีขนสั้นนุ่มขึ้นหนาแน่น (หลังใบหยักเป็นลอนตามเส้นใบแบบขนาน ส่วนท้องใบก็เป็นลอนด้วยเช่นกัน) ใบย่อยด้านข้าง 2 ใบนั้นมีลักษณะรูปร่างคล้ายใบย่อยตรงกลาง แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบย่อยสั้น มีขนาดยาวได้ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร มีหูใบเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร มีขน หูใบย่อยเป็นขนแข็ง ยาวคล้ายหาง ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แก่นช่อใบยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนก้านช่อใบยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร
         ดอกเกล็ดปลาช่อน ออกดอกเป็นช่อกระจุกประมาณ 3-5 ดอก เรียงอยู่บนแกนช่อดอก แบบช่อกระจะจะค่อนข้างยาว โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกแต่ละกระจุกจะมีใบประดับคล้ายใบประกบหุ้มไว้ 2 ใบ ใบประดับจะมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา เป็นรูปเกือบกลม ปลายแหลมหรือเว้าตื้น โคนกลมหรือเป็นรูปหัวใจตื้น มีขนาดกว้างประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร มีขนทั้งสองด้าน และมีใบประดับอีกหนึ่งใบอยู่ปลายสุด ลดรูปเป็นเส้นใบประดับย่อย ยาวประมาณ 0.5-1 มิลลิเมตร มีขน ใบประดับหุ้มดอกและติดอยู่จนติดผล ก้านดอกยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ส่วนกลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกออกเป็นแฉก 4 แฉก แฉกบนและแฉกข้างมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม ส่วนแฉกล่างจะมีลักษณะเป็นรูปไข่เช่นกัน แต่จะแคบและยาวกว่าแฉกอื่น ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบกลางจะเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลม มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร มีก้านกลีบสั้น ๆ กลีบด้านข้างจะเป็นรูปรีแคบ ปลายมน โคนมีติ่ง มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ส่วนกลีบคู่ล่างจะยาวเท่ากับกลีบคู่ข้าง แต่จะกว้างกว่า รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง มีออวุล 2-4 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียโค้ง ที่โคนมีขน
         ผลเกล็ดปลาช่อน ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน หยักคอดเป็นข้อประมาณ 2-4 ข้อ มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร ผิวฝักมีขน มีลวดลายแบบร่างแหชัดเจน ส่วนเมล็ดเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ออกดอกและเป็นผลในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของเกล็ดปลาช่อน
1. เปลือกต้นใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคตา (เปลือกต้น)
2. รากมีรสจืดเฝื่อน ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาอาการผู้ป่วยทางจิต อาการเพ้อ กล้ามเนื้อสั่นกระตุก อาการชักในเด็กทารก แก้ปวดฟัน เลือดจับตัวเป็นลิ่ม (ราก)
3. ใบมีรสจืด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไข้จับสั่น (ใบ)
4. ดอกใช้เป็นยาแก้อาเจียน (ดอก)
5. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)
6. รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (ราก)
7. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการตกเลือด แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษ (เปลือกต้น)
8. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้รากเกล็ดปลาช่อน นำมาต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคตับพิการ บรรเทาอาการตับทำงานผิดปกติ ส่วนตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ตับพิการ (ราก, ทั้งต้น)
9. ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้พยาธิใบไม้ในตับ (ทั้งต้น)
10. ใบใช้เป็นยารักษาแผลพุพอง (ใบ)
11. รากหรือเปลือกรากใช้ตำพอกแก้ปวด แก้เคล็ดบวม (ราก, เปลือกราก)
12. รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดเส้น ปวดข้อ ปวดหลัง (ราก)
13. รากใช้ผสมกับรากกาสามปีกใหญ่, รากดูกอึ่ง, รากโมกมัน และรากหางหมาจอก ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้คุณไสย (มีอาการผอมแห้ง ใจสั่น บางเวลาเพ้อคลั่งและร้องไห้)

ประโยชน์ของเกล็ดปลาช่อน
1. ต้นเกล็ดปลาช่อน จัดเป็นต้นไม้มงคล จะใช้เมื่อเอาข้าวขึ้นยุ้งฉาง
2. ในทางอาหารจะใช้ยอดเกล็ดปลาช่อนนำมากินสด ๆ เป็นผักจิ้ม มีรสฝาดมันและขมเล็กน้อย
3. ใช้เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติของโค กระบือ สำหรับแทะเล็ม ส่วนที่กินได้ (ใบรวมก้านใบย่อย) จะมีโปรตีน 16.7%, เยื่อใยส่วน ADF 34.47%, NDF 41.94%, แคลเซียม 0.84%,
    ฟอสฟอรัส 0.24%, โพแทสเซียม 1.52%, แทนนิน 3.74%

คำสำคัญ : เกล็ดปลาช่อน

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เกล็ดปลาช่อน. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1568&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1568&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,666

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 26,754

บัวบก

บัวบก

บัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,535

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง (Rose Coloured Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ปิดปิวแดง ภาคใต้เรียก ไฟใต้ดิน ส่วนชาวมาเลย์เรียก อุบะกูจ๊ะ เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร บริเวณพื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นๆ แฉะๆ โดยสามารถกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้เกือบทุกภาคเลยทีเดียว ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,138

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,765

ปอผี

ปอผี

ต้นปอผี หรือ ผักกะเดียง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน แตกแขนงมาก ชูยอดตั้งขึ้น สูงได้ประมาณ 10-100 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมและแข็ง มีรากออกตามข้อ ลำต้นเรียบหรือมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในเขตร้อนของทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นบริเวณที่ชื้นแฉะ บนดินชื้นและมีน้ำขัง ตามนาข้าว หนองน้ำ ริมหนองน้ำ หรือขึ้นแผ่คลุมผิวน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 1,602

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 3.5 เมตร กาบเรียงซ้อนกันเป็นลำต้น สีเขียวอ่อน เป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน ปลายมน ขอบและแผ่นใบเรียบ ก้านใบเป็นร่องแคบๆ ส่วนดอกจะออกเป็นช่อตรงปลายห้อยลง หรือที่เรียกกันว่า หัวปลี และผลเป็นรูปทรงรี ยาวประมาณ 11-13 เซนติเมตร ผิวเรียบ เนื้อในขาว ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน อร่อย โดยใน 1 หวี มีผลอยู่ประมาณ 10-16 ผล

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 6,420

มะดูก

มะดูก

มะดูก ชื่อวิทยาศาสตร์: Siphonodon celastrineus เป็นพืชในวงศ์ Celastraceae มีหูใบแต่ร่วงง่าย ใบเดี่ยว มักจักเป็นซี่ฟันตื้นๆ ดอกช่อออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกสีขาวครีม มีจุดสีน้ำตาลแดง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านชูแบน ผลรูปรีหรือกลม สีเขียวหรือเขียวอมเหลืองผลสุกรับประทานได้ รากใช้แก้พิษฝี หรือผสมกับสมุนไพรอื่นเพื่อทำเป็นยาบำรุงกระดูก ดับพิษ

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,990

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,456

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,506