ฟักเขียว

ฟักเขียว

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 7,179

[16.4258401, 99.2157273, ฟักเขียว]

ฟักเขียว หรือ ฟักแฟง (พันธุ์เล็ก) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ฟัก" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Winter melon, White gourd, Winter gourd, Ash gourd

ฟักเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Benincasa hispida (Thunb.) Cogn. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ฟักเขียว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะฟักหอม (แม่ฮ่องสอน), ฟักขี้หมู ฟักจิง มะฟักขม มะฟักหม่น มะฟักหม่นขม (ภาคเหนือ), บักฟัก (ภาคอีสาน), ฟัก ฟักขาว ฟักเขียว ฟักเหลือง ฟักจีน แฟง ฟักแฟง ฟักหอม ฟักขม (ภาคกลาง), ขี้พร้า (ภาคใต้), ตังกวย (จีน), ดีหมือ ลุ่เค้ส่า (ชาวกะเหรี่ยง), หลู่ซะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หลู่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หลึกเส่ (กะเกรี่ยงแดง), สบแมง (เมี่ยน), ฟักหม่น ผักข้าว (คนเมืองล้านนา) เป็นต้น

ฟัก จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาเช่นเดียวกับบวบ มะระ หรือแตงชนิดอื่น ๆ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่นอนระหว่างทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา เพาะปลูกกันมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ ลักษณะของผลจะเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน มีสีเขียวแก่จะเรียกว่า "ฟัก" ถ้าเป็นพันธุ์เล็กผิวมีสีเขียวอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า "แฟง" หรือ "ฟักแฟง" (ภาพซ้าย) แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ลักษณะของผลค่อนข้างกลมสีเขียวแก่ ๆ จะเรียกว่า "ฟักหอม" (ภาพขวา) หรือถ้าเป็นพันธุ์ที่รสขมเราจะเรียกว่า "ฟักขม" เป็นต้น (เดชา ศิริภัทร)

สำหรับในบ้านเรานั้นผลฟักเขียวจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทคาวและหวาน เช่น ต้ม ผัด แกง หรือทำเป็นขนมหวานในช่วงเทศกาล ใช้บริโภคทั้งแบบดิบและแบบสุก และสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนจะมีรสชาติที่เข้มกว่าผลแก่ และมีน้ำมากกว่า

ลักษณะของฟักเขียว

  • ต้นฟักเขียว เป็นพืชอายุสั้น ลำต้นยาวหลายเมตร ลำต้นมีสีเขียว มีขนหยาบขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งต้น เป็นพืชที่แตกกิ่งก้านสาขามาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ปลูกเพียง 3 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้
  • ใบฟักเขียว ลักษณะของขอบใบหยักเป็นเหลี่ยม แยกออกเป็น 5-11 แฉกคล้ายฝ่ามือ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจกว้าง ๆ ใบออกเรียงสลับกันตามข้อต้น ผิวใบหยาบ มีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร
  • ดอกฟักเขียว ออกดอกตามง่าม ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลือง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต้นเดียวกัน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 6-12 เซนติเมตร โดยดอกเพศผู้จะมีก้านดอกยาว 5-15 เซนติเมตร มีกลีบรองดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ กลีบเป็นรูปไข่หัวกลับ ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร มีเส้นมองเห็นได้ชัดเจน มีเกสรตัวผู้ 3 อันติดอยู่ใกล้กับปากท่อดอก และอับเรณูจะหันออกไปด้านนอก ส่วนดอกเพศเมีย ก้านดอกจะสั้น มีกลีบรองดอกและกลีบดอกลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ เป็นรูปไข่หัวกลับหรือเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีขนยาวปกคลุมอยู่หนาแน่น มีท่อรังไข่สั้น ปลายท่อแยกออกเป็น 3 แฉก
  • ผลฟักเขียว ลักษณะของผลเป็นรูปกลมยาว หรือเป็นรูปไข่แกมขอบขนานหรือขอบขนานค่อนข้างยาว ผลมีความกว้างประมาณ 10-20 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร ผลอ่อนมีขน ส่วนผลแก่ผิวนอกมีนวลเป็นแป้งสีขาวเคลือบอยู่ เปลือกแข็งมีสีเขียว เนื้อด้านในมีสีขาวปนเขียวอ่อน ฉ่ำน้ำ เนื้อแน่นหนา เนื้อตรงกลางฟูหรือพรุน และมีเมล็ดสีขาวอยู่ภายในจำนวนมาก
  • เมล็ดฟักเขียว ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ เมล็ดแบน มีความกว้างประมาณ 5-7 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร ผิวเรียบมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน

สรรพคุณของฟักเขียว

  1. การรับประทานฟักเขียวเป็นประจำช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการโรคมะเร็ง (ผล)
  2. ช่วยลดน้ำหนักและไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้เนื้อฟักและเปลือกนำมาต้มเป็นชาดื่มแทนน้ำเป็นประจำ (ผล, เปลือก)
  3. ผลใช้รับประทานมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ (ผล)
  4. ช่วยลดขนาดของเซลล์ไขมัน จากการวิจัยกับหนูทดลองในประเทศจีนพบว่า หนูทดลองมีเซลล์ไขมันที่ลดลงและมีค่าดรรชนีความอ้วนต่ำลงด้วย (ผล)
  5. ในประเทศเกาหลีมีการใช้ฟักเขียวเพื่อรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
  6. ช่วยเพิ่มกำลังวังชา (ผล, เมล็ด)
  7. ช่วยบำรุงผิวพรรณ (เมล็ด)
  8. ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)
  9. น้ำคั้นจากผลฟักใช้รักษาโรคเส้นประสาท (ผล)
  10. สารสกัดจากเมล็ดสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและมะเร็งได้ เนื่องจากสารสกัดจากเมล็ดมีสารต้านออกซิเดชันของกรดไลโนเลอิก ช่วยลดอัตราการออกซิเดชันของไขมันเลว (LDL) และยังช่วยยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์สร้างแอนจิโอเทนซิน (angiotensin-converting enzyme ACE) ได้มากกว่าส่วนอื่นของผล เพราะมีสารประกอบฟีนอลและมีฤทธิ์เอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทสมากกว่าส่วนอื่น ๆ มันจึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคมะเร็งได้ (ผล, เมล็ด)
  11. สารสกัดจากเมล็ดสามารถช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและช่วยรักษาอาการอักเสบได้ดีกว่าส่วนอื่น ๆ (ผล, เปลือก, เมล็ด)
  12. สารสกัดจากเมล็ดฟักเขียวสามารถช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์และการสร้างหลอดเลือดชนิดที่ต้องการสร้างสารกระตุ้นการเจริญจากไฟโบรบลาสต์ (Basic Fibroblast growth factor bFGF) โดยแปรผันตามความเข้มข้นของสารสกัด โดยไม่มีพิษต่อเซลล์ปกติ และยังช่วยยับยั้งการสร้างหลอดเลือดชนิดที่ต้องการ bFGF ในสัตว์ทดลองได้อีกด้วย (เมล็ด)
  13. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ผล)
  14. ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ผล)
  15. ช่วยแก้อาการตะครั่นตะครอหรืออาการครั่นเนื้อครั่นตัว สะบัดร้อนสะบัดหนาว เวลาเริ่มจะเป็นไข้หรือคล้ายจะเป็นไข้ (ผล)
  16. เมล็ดช่วยรักษาวัณโรค (เมล็ด)
  17. ผลช่วยรักษาโรคปอด ส่วนเมล็ดช่วยบำรุงปอด (ผล, เมล็ด)
  18. ช่วยรักษาโรคหอบหืด (ผล)
  19. น้ำคั้นจากผลฟักใช้รักษาอาการโรคชัก ด้วยการนำฟักเขียวปอกเปลือกออก เอาแต่เนื้อนำมาคั้นเอาน้ำสด ๆ แล้วใช้ดื่มเป็นประจำ (ผล)
  20. รากช่วยแก้ไข้ ส่วนเมล็ดช่วยลดไข้ หากมีไข้สูงให้ใช้เถาสดในการรักษา (เมล็ด, ราก, เถาสด)
  21. ช่วยแก้อาการไอ (ผล, เมล็ด)
  22. ผลช่วยขับเสมหะ ส่วนเมล็ดช่วยละลายเสมหะ (ผล, เมล็ด)
  23. ฟักเขียวมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เหมาะที่จะรับประทานในช่วงอากาศร้อน และช่วยแก้อาการร้อนในได้เป็นอย่างดี (ผล, ใบ, ไส้ในผล)
  24. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ คอแห้ง ช่วยทำให้ชุ่มคอ (ผล, ใบ, ราก, เมล็ด, ไส้ในผล)
  25. ช่วยแก้ท้องเสีย (ผล, เปลือก)
  26. ช่วยแก้โรคบิด (ผล, ใบ)
  27. ช่วยแก้อาการอืดแน่นท้อง (ผล)
  28. เมล็ดช่วยรักษาลำไส้อักเสบ (เมล็ด)
  29. ผลและเมล็ดใช้เป็นยาระบาย (ผล, เมล็ด)
  30. เมล็ดหรือน้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์ช่วยขับพยาธิได้ (เมล็ด)
  31. เถาสดมีรสขมเย็น ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร หรือจะใช้เมล็ดก็ได้ (เถา, เมล็ด)
  32. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (เมล็ด)
  33. ช่วยขับปัสสาวะ (ผล, เปลือก, เมล็ด)
  34. ช่วยรักษาอาการขัดเบา (อาการเริ่มต้นของทางเดินปัสสาวะอักเสบ) ด้วยการใช้ฟักเขียวนำไปตุ๋นกับปลาใช้รับประทาน (ผล)
  35. ช่วยหล่อลื่นอวัยวะเมือก (เมล็ด)
  36. น้ำต้มกับรากใช้รักษาโรคหนองในได้ หรือจะใช้เมล็ดหรือไส้ในผลสดของฟักก็ได้ (ผล, ราก, ไส้ในผล, เมล็ด)
  37. ช่วยแก้ไตอักเสบ (เมล็ด)
  38. ช่วยแก้พิษจากเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา (ผล)
  39. ผลและเมล็ดช่วยแก้อาการบวมน้ำ ส่วนเปลือกช่วยบำบัดอาการบวมน้ำ (ผล, เปลือก, ไส้ในผล)
  40. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ใบ)
  41. ใบช่วยรักษาบาดแผล (ใบ)
  42. เถ้าเปลือกนำมาใช้ใส่แผล (เถ้าเปลือก)
  43. ช่วยลดอาการอักเสบ (เมล็ด)
  44. ช่วยแก้อาการบวม อักเสบ และมีหนอง (ผล,ใบ, เปลือก, ไส้ในผล)
  45. ช่วยรักษาแผลมีหนองตกสะเก็ด ด้วยการใช้เมล็ดที่ตากแห้งและล้างสะอาดแล้วประมาณ 9-30 กรัม นำมาบดเป็นผงหรือต้มกับน้ำ ใช้ทาหรือชะล้าง (เมล็ด)
  46. รากช่วยในการถอนพิษ (ราก)
  47. ใบช่วยแก้พิษจากการถูกผึ้งต่อย (ใบ)
  48. ไส้ในผลสด 30-60 กรัม นำมาต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำ ใช้ลบเลือนรอยด่างดำบนในหน้า (ไส้ในผล)

หมายเหตุ : สำหรับวิธีการใช้เปลือกเพื่อใช้เป็นยาแก้ร้อนใน มีอาการคอแห้ง ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้บวม และบำบัดอาการบวมน้ำ ในตำราจีนระบุว่าให้ใช้เปลือกชั้นนอกของผลฟัก นำไปตากแดดให้แห้งแล้วนำมาผสมรวมกับเยื่อหุ้มถั่วแระ, ดอกต้นกก (เต็งซัมฮวย), น้ำตาลกรวด นำมาล้างรอให้สะเด็ดน้ำจนแห้ง แล้วใส่ในหม้อดิน เติมน้ำพอประมาณ ต้มด้วยไฟแรงประมาณ 1 ชั่วโมง เสร็จแล้วกรองเอาแต่น้ำมาแช่ในตู้เย็นเก็บไว้ดื่มเป็นยาแก้อาการ

ประโยชน์ของฟัก

  1. ผลฟักนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารได้ทั้งอาหารคาวและหวาน เมนูฟัก เช่น ฟักต้มราดกะทิจิ้มน้ำพริก แกงฟักเขียว แกงไก่ใส่ฟัก ต้มจืดฟัก ใส่กระดูกหมู แกงเขียวหวานไก่ฟักเขียว แกงเผ็ด แกงคั่วฟักกระดูกอ่อน แกงเลียงรวมผักใส่ฟัก ฟักเขียวผัดไข่ ฟักผัดไข่ใส่หมูหรือกุ้งแห้ง ฟักเขียวดอง ฟักเชื่อม กวนแยม ฟักเขียวแช่อิ่มแห้ง ขนมฟักเขียว ขนมจันอับสำหรับไหว้ตรุษจีน ฯลฯ
  2. ยอดอ่อนสามารถนำมาลวกหรือต้มกับกะทิ ใช้รับประทานคู่กับน้ำพริกได้
  3. ใบอ่อนและตาดอกฟักเขียว สามารถนำไปนึ่งหรือใส่แกงจืดเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติได้
  4. เมล็ดสามารถใช้รับประทานได้ และยังอุดมไปด้วยน้ำมันและโปรตีน แต่ต้องทำให้สุกก่อนนำมารับประทาน และสำหรับผู้ที่มีปัญหาในเรื่องระบบขับถ่ายและมีอาการแน่นหน้าอก ไม่ควรรับประทานเมล็ดฟักเขียว
  5. ขี้ผึ้งที่หุ้มผลสามารถนำมาใช้ทำเทียนได้

คำสำคัญ : ฟักเขียว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ฟักเขียว. สืบค้น 9 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1765&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1765&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บวบหอม

บวบหอม

บวบหอม หรือ ต้นบวบกลม จัดเป็นพรรณไม้เถาล้มลุกมีอายุได้เพียง 1 ปี มักเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้ชนิดอื่น ๆ หรือตามร้านที่ปลูกทำไว้ ลำต้นมีลักษณะเป็นเถาสี่เหลี่ยมหรือเป็นเถากลมและมีร่องเป็นเส้นตามยาว เถามีความยาวได้ประมาณ 7-10 เมตร และจะมีมือสำหรับยึดเกาะเป็นเส้นยาวประมาณ 3 เส้น ตามลำต้นอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนที่อ่อนนุ่ม เมื่อลำต้นแก่ขนเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้ดมดูจะมีกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,075

พลูช้าง

พลูช้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ที่มีลำต้นอวบ และชอบอาศัยเกาะตามไม้ยืนต้น ลำต้นโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 1 ซม.  ใบจะเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน เป็นสีเขียวเข้ม ลักษณะใบจะเป็นแผ่นรูปไข่เบี้ยวรูปรี  ขอบใบเรียบ ตรงปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะกลม หรือจะเว้าเป็นรูปหัวใจ มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบจะมีความกว้างประมาณ 6.5-15 ซม.  ดอกจะออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ตรงยอด มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาวและมีก้านช่อ ดอกสั้นกว่าก้านใบมาก กาบหุ้มช่อดอกด้านนอกจะเป็นสีเขียว ส่วนด้านในจะเป็นสีเหลือง กาบหุ้มบนแห่งช่อดอกจะประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศเป็นจำนวนมากแต่ละดอกจะมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 4-6 อัน และจะมีอยู่ 1 ช่อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,139

สะแกนา

สะแกนา

สะแกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลม ๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,862

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง

เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้คล้ายกับเถาต้นแดง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือวิธีการแยกไหลใต้ดิน ชอบอากาศเย็นแต่แสงแดดจัด ทนความแห้งแล้งได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 4,851

ซ้อ

ซ้อ

ซ้อเป็นพรรณไม้ที่มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณช่วยในการรักษาแผล แก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ปวดศีรษะ และอีกหนึ่งสรรพคุณนิยมนำมาบำรุงผม ทั้งยังรักษารังแค และป้องกันผมร่วงได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,517

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก

อั้วข้าวตอก จัดเป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ รากหนา ยาว และมีขน มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคกลาง) โดยมักขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,619

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,315

ผักปลาบใบแคบ

ผักปลาบใบแคบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นพืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตโดยอยู่ข้ามปีได้ มีลำต้นทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นกลม เรียบหรือมีขนเล็กน้อย อวบน้ำ จะชูส่วนปลายยอด แตกแขนงบริเวณโคนต้น รากฝอยแตกออกตามข้อของลำต้น  ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบรูปร่างยาวรีรูปหยก ปลายใบแหลมไม่มีก้านใบ ฐานใบเรียวและแผ่ออกเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น ใบกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-7 ซม.  ดอกออกเป็นช่อชนิดไซม์ บนก้านช่อดอกจะมีใบประดับดอก สีเขียวคล้ายใบเป็นแผ่นกลม หรือรูปหัวใจห่อหุ้มดอกเอาไว้ ช่อดอกแตกออกเป็น 2 กิ่ง กิ่งบนมีดอกย่อย 1-3 ดอก ก้านดอกยาว กิ่งล่างมีดอกย่อย 2-5ดอก ก้านดอกสั้น ดอกย่อยแต่ละดอกจะมีกลีบดอกด้านล่าง มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เป็นหมัน 4 อัน เกสรตัวเมียมีท่อรังไข่ยาวสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,650

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,008

กระทงลาย

กระทงลาย

ต้นกระทงลายเป็นพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 2-10 เมตร ลักษณะเนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลแดง ใบกระทงลายเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือรูปรี โคนใบสอบเข้าหากันมน ส่วนปลายใบแหลม หรือมน ริมขอบใบหยัก ละเอียดเป็นฟันเลื่อย หลังใบมีพื้นผินเรียบใต้ท้องใบจะมีเส้นใบมี 5-8 คู่ เห็นได้ชัด ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาวประมาณ 2-6 นิ้ว มีก้านใบยาวประมาณ 5-1.5 ซม. ดอกกระทงลายออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 4-8 นิ้ว ซึ่งออกอยู่บริเวณปลายยอด ลักษณะของดอกมีทั้งดอกเพศผู้และเมียซึ่งมักจะแยกกันคนละต้น 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,396