เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 2,023

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย]

           ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์เป็นมหัศจรรย์บันดาลให้ร้อนถึงสมเด็จอัมรินทราธิราชเนรมิต พระกายเป็นดาบส เสด็จลงมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง แล้วตรัสบอกว่าให้ตั้งพระนครในที่นี้ เป็นที่ชัยมงคลพ้นภัยปัจจามิตร แล้วก็อันตรธานหายไปเฉพาะพระเนตร พระเจ้าเชียงรายก็ทรงพระโสมนัสตรัสว่า พระดาบสองค์นี้ ชะรอยจะเป็นสมเด็จอำมรินทราธิราชแสร้งจำแลงพระกายมาบอกให้เป็นแน่แท้ จึงให้ตั้งชมรมสำนักไพร่พลอยู่ในที่นั้น แล้วให้สร้างพระนครพร้อมด้วยเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ แล้วสร้างพระราชนิเวศน์สถาน แลบ้านเรือนแสนท้าวพระยาลาวเหล่าอำมาตย์ราษฎรทั้งปวงอาศัยอยู่ในเมืองนั้นสำเร็จแล้ว ให้นามเมืองว่าไตรตรึงษ์ เหตุสมเด็จท้าวสหัสไนยน์มาชี้ที่ให้เสด็จครองราชย์สมบัติอยู่ในพระนครนั้น ตราบเท่าทิวงคต และพระราชโอรสนัดดาได้ครองสมบัติสืบต่อพระราชวงศ์ติดต่อกันมาถึง 4 ชั่วแผ่นดิน
           ครั้งนั้นยังมีชายเข็ญใจคนหนึ่ง เป็นปมเปาทั่วทั้งกาย คนทั้งหลายร้องเรียกชื่อว่านายแสนปม นายแสนปมนั้นท้าไร่ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำใต้เมืองไตรตรึงษ์ลงทางวันหนึ่ง ได้เก็บผลพริกมะเขือขายเลี้ยงชีวิต แลมะเขือต้นหนึ่งนั้นอยู่ใกล้ห้างที่อาศัย นายแสนปมไปถ่ายปัสสาวะลงที่ริมต้นนั้นเป็นนิจ มะเขือก็ออกผลผลหนึ่งใหญ่กว่ามะเขือทั้งปวง เหตุด้วยรดแห่งมูตร์อันเจือไปด้วยสัมภวะราด พอพระราชธิดาพระยาไตรตรึงษ์อยากเสวยผลมะเขือ จึงให้สาวใช้ไปเที่ยวซื้อก็ได้ผลมะเขือใหญ่นั้นมาเสวย นางก็ทรงพระครรภ์ ทราบถึงพระราชบิดาตรัสไต่ถามก็ไม่ได้ความว่าคบหาสมัครสังวาศกับด้วยบุรุษผู้ใด จนพระครรภ์แก่กำหนดทศมาศก็ประสูตร์พระราชกุมารบริบูรณ์ด้วยบุญธัญลักษณะ พระญาติวงษ์ทั้งหลายบำรุงเลี้ยงพระราชกุมารจนทรงจำเริญขึ้นพระชนม์ได้ 3 ขวบ           สมเด็จพระไอยกาทรงพระราชดำริห์ จะทดลองเสี่ยงทายแสวงหาบิดาพระราชกุมาร จึงให้ตีกลองป่าวร้องแต่บรรดาชายชาวเมืองให้เข้ามาประชุมในหน้าพระลานให้สิ้น ให้ถือขนมและผลไม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาจงถ้วนทุกคน แล้วจึงทรงพระสัตยาธิฐานว่า ถ้าบุรุษผู้ใดเป็นบิดาของกุมารนี้ ขอให้กุมารจงรับเอาสิ่งของในมือแห่งบุรุษผู้นั้นมาบริโภคให้เห็นประจักษ์เถิด แล้วให้นางนมอุ้มพระราชกุมารออกไปที่ประชุมชนในพระลาน 
           ฝ่ายนายแสนปมนั้น...ถือข้าวเย็นก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็วิ่งกอดคอ... เอาข้าวเย็นมาเสวย   ชนทั้งปวงเห็นก็พิศวงชวนกันกล่าวติเตียน พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยในความอัปยศ จึงประทาน พระราชธิดากับทั้งพระนัดดานั้นให้แก่นายแสนปม แล้วให้ลงแพลอยไปจากเมือง ครั้นแพลอยลงไปถึงที่ไร่มะเขือนายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นอยู่บนห้างอันเป็นที่อาศัย ด้วยบุญญานุภาพของชนทั้งสามก็บันดาลให้ร้อนถึงองค์สมเด็จอัมรินทราธิราช จึงเนรมิตพระกายเป็นวานร ถือเอากลองทิพย์มาส่งให้แก่นายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า ถ้าท่านจะปรารถนาสิ่งใดจงตีเภรีนี้อาจขอให้สำเร็จตามความปรารถนา ทุกประการ ว่าแล้ววานรก็หายไปในที่เฉพาะหน้า นายแสนปมก็แจ้งว่าเทพยดานำเอากลองทิพย์มาให้มีความยินดีมากนัก จึงตีกลองเข้าปรารถนาจะให้รูปงาม แลปมเปาทั้งปวงนั้นก็หายสิ้น รูปกายงามบริสุทธิ์ แล้วจึงเอากลองทิพย์กลับไปสู่ที่พักบอกแก่ภรรยา นางนั้นมีความโสมนัส จึงตีกลองนิรมิต ทองธรรมชาติให้ช่างทอง ทำอู่ทองให้โอรสไสยาศน์        
           เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงได้นามปรากฏว่า พระเจ้าอู่ทอง จำเดิมแต่นั้นมาจุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาพระเจ้าอู่ทองราชกุมารก็ตีทิพย์เภรีนฤมิตร์เป็นพระนครขึ้น ในที่นั้นมีทั้งปราการเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทุกสิ่งพร้อมทั้งพระราชวังบวรนิเวศน์สถาน จึงตั้งนามว่า เมืองเทพนคร เหตุสำเร็จด้วยเทวานุภาพ ครั้งนั้นประชาชนทั้งหลายชักชวนกันมาอาศัย ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครนั้นเป็นอันมาก เมืองนั้นก็มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยอาณาประชาราษฎร แลบิดาเจ้าอู่ทองก็ได้ครองราชย์สมบัติ ในเมืองเทพนครนั้น ทรงนามสมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เลืองลือพระเกียรติยศปรากฎในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ผู้ประกอบด้วยพระราชกฤษฎา บุญญานุภาพอันเป็นที่มหัศจรรย์ ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครอบครองไพร่ฟ้าประชาชนได้ 25 พรรษา ก็เสด็จสวรรคตในปีวอกฉอศกนั้น ครั้นสวรรคตแล้วกลองทิพย์อันพระอินทร์พระราชทานมาก็อันตรธานหายไปด้วย พระเจ้าอู่ทองราชโอรสจึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชมไหสวรรย์ แทนสมเด็จพระบรมราชบิดาแล้วจึงให้กระทำการฌาปนกิจถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้วพระองค์ดำรงราชอาณาจักรอยู่ในเมืองเทพนครนั้น ได้ 6 พรรษา มีพระราชหฤทัยประสงค์จะสร้างพระนครใหม่ ตรัสให้ขุนตำรวจไปเที่ยวตรวจหาภูมิประเทศแห่งใหม่ที่อันมีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ทุกสิ่ง ขุนตำรวจได้เที่ยวตรวจหาสถานที่ซึ่งจะตั้งเป็นพระนครลงมาทางด้านทิศใต้ จนถึงท้องที่ตำบลหนองโสน อันประกอบด้วยพรรณมัจฉาชาติครบบริบูรณ์ จึงกลับขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ เมื่อความทราบดังนั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้เสด็จกรีฑาพลากรโยธาประชาราษฎรทั้งปวงลงมายังพื้นที่แห่งนั้นให้ตั้งพระต้าหนักที่ประทับพลับพลาไชย ณ ตำบลเวียงเหล็ก ให้จัดการทุบปราบที่อันจะตั้งเมือง ทำอิฐเผาปูนซึ่งจะก่อกำแพงพระนครให้ขนานนามพระนคร อันที่สร้างใหม่เป็นนามต้นว่า กรุงเทพมหานคร นามหนึ่งชื่อ บวรทวาราวดี เหตุมีน้ำล้อมรอบดุจเมืองทวาราวดี แต่ก่อนนามหนึ่งชื่อ ศรีอยุธยา เหตุเอานามเมืองสมเด็จพระนารายน์อวตารมาประกอบเข้าทั้ง 3 นามประมวลเข้าด้วยกัน จึงเรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราช นิเวศน์มหาสถาน” 

มีการวิเคราะห์และตีความของนักประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับต้านานของทางล้านนาหลายฉบับ เช่น ตำนานโยนกเชียงแสน ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานจุลยุทธกาลวงศ์ ซึ่งประมวลความตามตำนานได้ว่า พระราชวงศ์เชื้อสายจากพระเจ้าสิงหนวัติ พระเจ้าพรหม และพระราชโอรสคือพระเจ้า   ศิริไชยเชียงแสน ซึ่งครองอยู่เมืองเชียงราย ได้หนีภัยสงครามมาตั้งเมืองใหม่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเมืองว่า "เมืองไตรตรึงษ์ " ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นต้นเรื่องของตำนาน ท้าวแสนปม ผู้เป็นราชบุตรเขยของราชาแห่งเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งต่อมาท้าวแสนปมทรงย้ายมาสร้างเมือง "เทพนคร" ขึ้นที่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับเมืองไตรตรึงษ์ และทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาพระเจ้าอู่ทองจึงย้ายเมืองมาสร้างเมืองอยุธยา จากความเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้นักประวัติศาสตร์บางท่านสมมุติชื่อราชวงศ์นี้ว่า "ราชวงศ์เชียงราย" ด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 14,756

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,777

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,589

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 2,973

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,222

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,267

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,394

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,108

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราชกับเมืองกำแพงเพชร

สมเด็จพระไชยราชาธิราช เป็นพระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ต่างพระมารดาของสมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็นพระไชยราชา ตำแหน่งพระมหาอปุราชาครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2077 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจากสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช เหตุการณ์ในรัชสมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานจากพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,390

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,167